วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์สมุนไพร

ชื่อความรู้/ความเชี่ยวชาญในอาชีพ  การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์สมุนไพร
เจ้าขององค์ความรู้   นายณัฐพล  ขุ่ยคำ
ที่อยู่    35 หมู่ 8  ตำบลบ้านเหล่า  อำเภอแม่ใจ  จังหวัดพะเยา
เบอร์โทรศัพท์    082-6936521

ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
                   จากเดิมทำงานอยู่บริษัทเอกชน จังหวัดพิษณุโลก สถานการณ์ทางบ้านมีการเปลี่ยนแปลงคือ พ่อเป็นนักการภารโรง ที่โรงเรียนมีภารกิจต้องอยู่เวรรักษาความปลอดภัยช่วงกลางคืนทุกวัน ส่วนคุณแม่ดูแลยายและยายเสียชีวิตแล้ว คุณแม่ต้องอยู่คนเดียวในเวลากลางวัน มีความเป็นห่วงความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของคนในครอบครัว ทำให้ลาออกจากงานกลับมาทำงานที่บ้าน โดยมีความสนใจด้านการเกษตรผสมผสานเป็นทุนเดิม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ ที่คิดว่าจะทำได้
เนื่องจากชอบกินไข่ด้วย อาชีพน่าสนใจ คือ การเลี้ยงไก่ไข่
วัตถุประสงค์
1.      เพื่อศึกษาทดลองปฏิบัติจริง และขยายผลการเลี้ยงไก่ไข่แบบคุณภาพ
2.      เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน
3.      เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน
วัตถุดิบ/วัสดุ
1.      หยวกกล้วย           20      กิโลกรัม
2.      น้ำตาลทรายแดง      1/2     กิโลกรัม
3.      เกลือเม็ด              1        กำมือ
4.      รำข้าว (แกลบอ่อน)   2        กิโลกรัม
5.      ข้าวโพดบด            2        กิโลกรัม
6.      น้ำหมักชีวภาพ(หมักเอง)       1 ช้อนโต๊ะ
7.      สมุนไพรผักพื้นบ้านที่หาง่าย (กระเทียม พริก ตะไคร้ ข่า ขมิ้น บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร รางจืด กระเพรา  ฯลฯ     1 กำมือ
อุปกรณ์                    
1.      ถังหมักหยวกกล้วย
2.      ตาข่ายกันไก่หนีออกจากเล้า
3.      รางไข่ (หาอุปกรณ์ง่ายๆ จากรีไซเคิล เช่น ตะกร้าเก่า/ยางรถยนต์เก่า และหาวัสดุรองกันไข่แตก เช่น ฟางข้าว เป็นต้น
กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
วิธีทำ
1.      หมักหยวกกล้วยเพื่อสร้างโปรตีน โดยการสับหยวกกล้วยให้มีขนาดเท่ากับเม็ดโฟม แล้วนำมาคลุกเคล้ากับน้ำตาลทรายแดง ½ กิโลกรัม ลงในถังหมักที่มีฝาปิด จากนั้นโรยด้านบนด้วยเกลือ เพื่อป้องกันมดเข้าไปกินน้ำตาล จากนั้นปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 สัปดาห์ ก็ใช้ได้ โดยเริ่มเอาส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดมาใช้ก่อน
2.      นำหยวกกล้วยหมักมาผสมกับรำและข้าวโพด ตามเหมาะสม บริหารให้พอดีกับหยวกกล้วยหมัก 20 กิโลกรัม
3.      นำสมุนไพรสวนครัวที่หาได้ มาประมาณ 1 กำมือ สับให้ละเอียด คลุกกับน้ำปลาเล็กน้อย เพื่อสกัดเอาน้ำสมุนไพรออกมา จากนั้นนำไปคลุกกับอาหารไก่อีกรอบ
4.      ให้อาหารไก่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น (1 ตัว ต้องการอาหารประมาณ 150 กรัม)
ข้อพึงระวัง
ระวังไก่หนีออกจากเล้า และสังเกตการออกไข่นอกบริเวณรางไข่
ข้อเสนอแนะ
1.      ควรเลี้ยงแบบอิสระปล่อยให้ไก่ได้คุ้ยเขี่ยเพื่อผ่อนคลาย สุขภาพแข็งแรง
2.      นานๆ ครั้งอาจจะให้หัวอาหารมาใส่เสริม
3.      เสริมแคลเซียม (ตำปลา/เศษปลา) คลุกกับอาหาร
4.      ควรมีไก่ตัวผู้เพื่อเป็นจ่าฝูง และสร้างสีสันให้มีชีวิตชีวา
ชื่อผู้สัมภาษณ์   นางวิภาดา  วิบูลย์พันธ์
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ

วันที่สัมภาษณ์   16 กุมภาพันธ์ 2560

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..