วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทบทวนแผนพัฒนาชุมชนบ้านปง....โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้านและชุมชนแบบมีส่วนร่วม


ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาชุมชนบ้านปง (แผนชุมชน) จันทร์ที่ 27 มี.ค. 54  ที่สำนักงานฝ่ายป่าไม้ห้วยลาน..ศูนย์ฯลำปางได้รับเชิญให้ไปช่วยจัดกระบวนการ เพื่อทบทวนแผนชุมชนของบ้านปง หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยลาน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  เน้นในประเด็นการวางแผนพัฒนาเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์  โดยมีคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชมงคลฯ เป็นเจ้าของเรื่อง..ตามโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วมกระบวนการที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนดึงเอาความรู้ความคิดความเห็นออกมาจากกลุ่มแกนนำหมู่บ้าน..
1. สร้างความคุ้นเคย และหาข้อมูลชุมชน ด้วยการให้ช่วยกันวาดแผนผังหมู่บ้านคร่าวๆ และช่วยกันเติมว่า ใครทำอะไร อยู่ตรงไหนบ้าง มีกลุ่ม/กิจกรรมต่างๆ ทรัพยากร แหล่งท่องเที่ยวตรงไหน...ให้มองเห็นภาพรวมของชุมชน
2. แนะนำตัว ชวนคุยให้เห็นความสำคัญว่าวันนี้จะมาทำอะไรกัน ..ควรมีการทบทวนแผนชุมชนให้เหมาะสมหรือไม่  แผนเป็นความคิดความต้องการที่เกิดจากพวกเรา จากชาวบ้านมีส่วนร่วมอย่างไรมากน้อยขนาดไหน..วันนี้ เพื่อให้ไปสู่หมู่บ้านท่องเที่ยว การพูดคุยกันในเวลาสั้นๆ อาจทำได้ไม่ครอบคลุม แต่ก็ชี้ให้เห็นว่า แผนงาน/กิจกรรม ที่เราวางไว้ เกิดจาก/เป็นความต้องการของชุมชนจริงๆ
3. ขอตัวแทน หรือผู้อาวุโส ช่วยเล่าพัฒนาการของหมู่บ้าน ..ตั้งแต่อดีต...มาถึงปัจจุบัน ในรูปของ Time Line ให้เห็นสถานการณ์ที่มากระทบและผลที่เกิดขึ้น   เพื่อให้เห็นภาพรวมของชุมชน ..ตั้งคำถามเพิ่มเติม..ช่วยกันเติมในเรื่องอื่นๆ เช่นปฏิทินประเพณีวัฒนธรรม กิจกรรม งานอาชีพ ทรัพยากรพืชพันธุ์สมุนไพรในแต่ละเดือน เป็นต้น 
4. จากที่ช่วยกันเล่า.. เห็นพัฒนาการร่วมกัน ตั้งคำถามในประเด็นต่อไปว่า..อะไรเป็นจุดแข็งของเรา(บ้านปงมีของดีอะไรบ้าง..เป็นสิ่งดีๆภาคภูมิใจฯลฯ) อะไรเป็นจุดอ่อน..เป็นปัญหาหรือยังไม่ถูกใจ อยากแก้ไข..แล้วมีใครหรือเรื่องอะไรที่มาสนับสนุน มาเอื้อประโยชน์ให้ชุมชนบ้าง(โอกาส)..ประเด็นสุดท้ายคือข้อจำกัด อุปสรรค สิ่งคุกคามจากภายนอกชุมชนมีอะไรบ้าง...(ชวนวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน ..)
5. ร่วมกันวางเป้าหมาย.. ด้วยคำถามอยากเห็นบ้านปงเป็นอย่างไรใน 5-10 ปีข้างหน้า(อนาคต) ...ให้คิดภาพและถามเอาคำตอบทีละคน เก็บประเด็นขึ้นฟลิปชาร์ท..เชื่อมโยงเป็นภาพใหญ่สู่เป้าหมายคือ "เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิง..."
6. แล้วจะต้องทำอย่างไรบ้าง? ...เพื่อไปสู่เป้าหมายคือ หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์นั้น..ชวนกันคิดแนวทาง วิธีการ บางคนเสนอเป็นกิจกรรมเป็นโครงการ..(พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว/ฟื้นฟูวัฒนธรรม/ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม/ภูมิทัศน์/รวบรวม/สืบทอดภูมิปัญญา /ถอดองค์ความรู้/มีไกด์ชุมชน/ทำ Home Stay....)
7. ช่วยกำหนดว่าเรื่องใดจะทำได้ตั้งแต่เมื่อไร..ต้องอะไรบ้าง = กิจกรรม/โครงการ  
ออกมาเป็น..แผนระยะสั้น (แผนปี)   ระยะปลานกลาง( แผน2ปี)  แผนระยะยาว..  ช่วยกันเพิ่มเติมกิจกรรม/โครงการให้ครอบคลุม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้...
    สรุปเชื่อมโยงให้ข้อคิด..
        - แผนชุมชน เป็นแผนชีวิตของชุมชนเอง ไม่ใช่แผนที่เป็นเพียงเอกสารที่ทำขึ้นเพื่อของงบประมาณเพียงอย่างเดียว แต่ให้การวางแผนของชุมชนเป็นเงื่อนไขให้ได้คิดได้แลกเปลี่ยนวางแผนร่วมกัน..จึงต้องมีการทบทวนและปรับให้เหมาะสมได้ตลอด
        - ชุมชนต้องมี เจ้าภาพ รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม ซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้ ในแต่ละเรื่องแต่ละด้าน  จึงจะเคลื่อนงานไปได้
         -ควรมานั่งคุยกันในแต่ละเรื่อง/ด้าน เพื่อวางแผนการทำงานกันต่อไป(ควรจะต้องมีการพูดคุยกันแบบนี้อีกหลายๆเวทีในหมู่บ้าน..ตรงนี้ถูกเสนอออกมาจากเวที)..แผนชุมชนของบ้านปง ..จะไปสู่เป้าหมาย/ความฝันได้อย่างแน่นอน ถ้าเป้าหมายนั้นเป็นฝันร่วมของคนบ้างปง...
                                                                                              บันทึก/จัดกระบวนการ...24 มีนาคม 2554
                               อัญชลี ป่งแก้ว/ธาดา ธีระวาทิน

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

ฤางานของโบรกเกอร์การพัฒนา จะมีความหมายแค่คนเป็นนักการเมืองและนักธุรกิจ ?

                  ในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน การสร้างและพัฒนาเครือข่ายหรือการพัฒนาภาคีการพัฒนา นับเป็นเทคนิค หรือวิธีการอย่างหนึงของการทำงานพัฒนาชุมชนยุคใหม่ที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากว่า ในการพัฒนาสังคมและชุมชน เราไม่สามารถทำงานต่างๆ ให้สำเร็จด้วยดีได้โดยลำพังหน่วยงานเดียว แต่อาจต้องทำงานร่วมมือกันอย่างบูรณาการ เพื่อให้งานการพัฒนาถึงเป้าหมายร่วมกัน การพัฒนาสมัยใหม่ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ในบางครั้งจึงต้องทำหน้าที่เป็น “Broker” หรือเป็น “Lobbyist”.ด้วย ซึ่งคำนี้ มีนัยความหมายที่กว้างลึกกว่าบทบาทการเป็น “นักเชื่อมประสาน” ดังที่เราเคยปฏิบัติกันสืบมา



                   ที่นำเสนอต่อไปนี้ เป็นวงจรของการทำงาน ลักษณะนักเชื่อมประสานแบบหนึ่ง ที่เรียกง่ายๆ ติดปากเป็นภาษาไทยแล้วว่า “โบรกเกอร์” หรือ “ล็อบบี้ยิสต์” การพัฒนา ซึ่งได้แปล/เรียบเรียงจากบางส่วนของหนังสือชื่อ “The Brokering Guidebook Navigating Effective SustainableDevelopment Partnerships”ที่มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ โดยองค์กรระหว่างประเทศ

                    ลองดูกระบวนการ ขั้นตอน หรือวงจรของการสร้างและพัฒนาเครือข่ายหรือสร้างภาคีการพัฒนาเหล่านี้ดูสิ ว่าแตกต่างจากสิ่งที่เราเคยทำหรือไม่

ขั้นตอนที่ ๑ กำหนดขอบเขตงาน ทบทวนปัญหา หรือสิ่งที่ต้องการทำ เก็บรวบรวมข้อมูล ปรึกษาผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกับหน่วยงานสำคัญภายนอกท่าดว่าจะร่วมภาคี พร้อมกำหนดแนวคิดกว้างๆ ที่จะทำหรือขับเคลื่อน

ขั้นตอนที่ ๒ ค้นหาและกำหนดผู้ที่จะเข้าเป็นภาคี ด้วยการเชิญชวน จูงใจให้เข้าร่วมทำงานขั้นตอนที่ ๓ สร้างหลักการร่วม ให้สมาชิกจากแหล่งต่างๆ ช่วยกันเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หลักการสำคัญ ที่จะทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน

ขั้นตอนที่ ๔ วางแผนงาน ให้ภาคีร่วมวางแผนกิจกรรม และกำหนดแนวทางความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ

ขั้นตอนที่ ๕ บริหารจัดการ ในขั้นตอนนี้ ให้สมาชิกภาคีพัฒนาจัดโครงสร้างคณะทำงาน และแนวทางความร่วมมือต่อกัน จากระยะสั้น สู่ระยะยาว

ขั้นตอนที่ ๖ จัดหาทรัพยากรทำงาน สมาชิกภาคีและผู้สนับสนุนอื่นๆ ร่วมระดมเงิน และสิ่งที่มิใช่ตัวเงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ ๗ ปฏิบัติการการอยู่ร่วมภาคี เมื่อมีทรัพยากร และทุกคนได้ทราบถึงรายละเอียดของกิจกรรมที่ได้ตกลงทำร่วมกันแล้ว ให้ดำเนินการตามห้วงเวลาที่กำหนดร่วมกัน และควรทำกิจกรรมเริ่มแรก ที่มีความเป็นไปได้สูง

ขั้นตอนที่ ๘ ตรวจสอบความสำเร็จ วัดและประเมินความสำเร็จการทำงาน ดูผลกระทบ และประสิทธิภาพของการทำงาน พร้อมตรวจสอบว่า แต่ละภาคีได้บรรลุเป้าหมาย ที่ต้องการ หรือไม่

ขั้นตอนที่ ๙ ตรวจสอบผลการทำงาน ขั้นตอนนี้เพื่อดูว่าการทำงานร่วมภาคี มีผลกระทบต่อองค์กรของสมาชิกที่เข้าร่วมภาคี หรือไม่ เพียงใด เพื่อดูว่ามีหน่วยงานภาคีใดที่จำเป็นต้องถอนตัวออกไป หรือหน่วยงานภาคีใด ที่จะเข้าร่วม

ขั้นตอนที่ ๑๐ ทบทวนบทบาทภาคีพัฒนา พิจารณาแผนงาน โครงการต่างๆ โดยใช้พื้นฐานประสบการณ์ของแต่ละฝ่าย หรือแต่ละภาคี

ขั้นตอนที่ ๑๑ สร้างความเข้มแข็งสู่ความเป็นสถาบัน สร้างและพัฒนาโครงสร้าง หรือกลไกทำงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้มั่นใจมีความร่วมมือที่ดี แข็งขันต่อเนื่อง

ขั้นตอนที่ ๑๒ สร้างความยั่งยืนหรือต่อเนื่อง ทั้งนี้จะยุติกิจกรรม หรือทำต่อก็ได้ บนพื้นฐานข้อตกลงที่ทุกฝ่ายพอใจ และ/หรือทบทวนบทบาท กำหนดบทบาทใหม่อีก เพื่อเข้าสู่วงจรการทำงานใหม่

           ถึงเพื่อนๆ... ผมส่งบทเขียน...แปลและเรียบเรียงมาพร้อมนี้ เป็นเรื่องของเทคนิคการสร้างเครือข่ายและภาคึการพัฒนาของฝรั่ง ซึ่งแสดงให้เห็นวงจรของการดำเนินงานว่าเขามีเทคนิค วิธีการทำอย่างไร เป็น หนังสือของเจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติ ที่ไปอบรมที่เจนีวา เพื่อนส่งมาให้อ่านศึกษา เลยถอดความบางส่วนมา เห็นเขตกำลังจะอบรม พูดถึงเรื่องนี้อยู่บ้าง จึงส่งเรื่องนี้มาให้พิจารณาครับ เขียนไว้ เพื่อลงเคเอ็ม...
                                                                                           บุญส่ง เวศยาสิรินทร์
                                                                                                 28 ก.พ.2554