วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนางาน

การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนางาน   

         ผมสรุปสาระสำคัญจากที่ได้ไปประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประมวล กลั่นกรองและสังเคราะห์องค์ความรู้นำไปสู่นวัตกรรมในงานพัฒนาชุมชน ระหว่างวันที่  ๕ - ๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ วิทยาลัยการพัฒนาชุมชน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เฉพาะในส่วนของ "การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนานวัตกรรมในการพัฒนางาน" ที่คุณศิวาพร ภมรประริต ผอ.ส่วนการฝึกอบรม กรมชลประทาน มาเป็นวิทยากร สรุปความได้ว่า
     กรมชลประทานได้รับรางวัลด้านบริการประชาชน โดยองค์การสหประชาชาติ(UN)
เป็นรางวัล 1 ใน 10 ของโลก  วิทยากรยืนยันผลงานโดยการเปิด วีดีทัศน์เรื่อง ลุ่มน้ำกระเสียว
ให้ชม

     วีดีทัศน์เล่าถึงวิถีชีวิตของคนแถบลุ่มน้ำแม่ยม ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และแห้งแล้งในฤดูแล้ง น้ำไม่พอสำหรับการเพาะปลูกพื้นที่ ๙๒,๐๐๐ ไร่ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาแย่งการใช้น้ำถึงขั้นฆ่ากันตาย ด้านอำเภอหนองม่วงไข่ กั้นน้ำทำให้พื้นที่อำเภอเมืองแพร่ไม่พอใจ เกษตรอำเภอรวบรวมปัญหาเสนอกรมชลประทานสูบน้ำแม่ล่ายข้ามมาใส่ลำน้ำแม่ยม ทำทำนบกั้นแม่ยม ชาวบ้านรวมตัวกันกั้นน้ำแม่ยม
      วิทยากรวิเคราะห์ว่า เป็นการก่อเกิด
กลไก ๓ ประสาน คือ
          ๑)การสนับสนุนการเพาะปลูก(หน่วยสนับสนุน)          
          ๒)การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม          
          ๓)การควบคุมดูแล และปฏิบัติตามข้อตกลง(ดูแลการสูบน้ำ)

      ต่อมา เกษตรกรฝั่งซ้ายแม่น้ำยมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ปลายน้ำได้น้ำก่อน กระบวนการเสริมสร้างความเข้าใจกันถึงระบบชลประทาน กรมชลประทานลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลรวมทั้งภาพถ่ายทางอากาศ ติดตามการเพาะปลูก จัดเวทีแลกเปลี่ยน..จนค้นพบนวัตกรรม ดังนี้
วิทยากรสรุปว่า 10 ปี
  •   นวัตกรรมเกี่ยวกับงานโดยตรง เป็น กระบวนการทำงานใหม่
  •   มีอะไรดีที่ไหนแวะไปดู Site visit
  •   ที่นั่นเตรียมพร้อมที่เราจะเรียนรู้

     กพร.บังคับให้ส่งนวัตกรรม : วิทยากรย้ำว่า..
Ø ปรับปรุง พัฒนางานจากแนวคิดใหม่
Ø นวัตกรรมเกิดจากพวกเราเอง

     พัฒนาชุมชนมี Story Telling : การเล่าเรื่อง เรื่องไหนเป็น Best Practice
วิทยากรกล่าวว่า กรมชลประทาน มีข้าราชการเกษียณอายุปีละราว 100 กว่าคน จำเป็นต้องวางแผนยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ เพื่อการจัดการความรู้ และมีการให้รางวัลโดยส่งประกวดและ ทบทวน ระบบ
KM Process


ตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้น..
1.ยุทธการตักน้ำใส่ตุ่ม
2.กลั่นกรอง
3.จัดเก็บเป็นระบบ
4.ทำคู่มือ : ทำให้เขาเข้าถึง สั้นๆ : จัดเวที
เทรนX เทรนY : จัดเป็นศูนย์ความรู้กลาง
Search……(อยากรู้อะไร กองไหนเก็บเรื่องอะไร ) ศูนย์สารสนเทศเป็นแม่ข่าย

                  :เข้าถึงได้ : เอกสาร
                  : ตัวคน : อายุงาน 30-40 ปี ต้องถอดองค์ความรู้ 
                  : การติดตามนายไปทำงาน การแก้ไขปัญหาแบบนี้แบบนั้น
                  :ต้องเจอหน้ากัน(Face to Face)
                  :พี่สอนน้อง : ช่องทาง : การนำไปใช้/ไม่นำไปใช้
                  การนำไปใช้ : เกลียวความรู้

                                        ยกระดับความรู้ได้ 7 ขั้นตอน คือ..
                                             1.บ่งชี้ : ระบุ/เลือก
                                             2.สร้าง/แสวงหา 
                                             3.จัดระบบ
                                            4.ประมวล/กลั่นกรอง
                                            5.เข้าถึงความรู้
                                            6.แลกเปลี่ยนความรู้
                                            7.เรียนรู้
เกิดประโยชน์คือ...น้องใหม่ : องค์ความรู้ที่จำเป็น
1.ศึกษาอะไรบ้าง คู่มือ ตัวอย่าง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เช่น คู่มือการบริหารโครงการ คู่มือการหา TN
2.มอบให้น้องทำ เพื่อตรวจสอบดูว่าน้องอ่านคู่มือหรือยัง
    -การสื่อสาร : สร้างความเข้าใจ
    -กระบวนการและเครื่องมือ
    -กระบวนการและเครื่องมือ
    -กระบวนการและเครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้จัดการความรู้
    -การฝึกอบรมและเรียนรู้
    -การฝึกอบรมและเรียนรู้
    -การฝึกอบรมและเรียนรู้ : ให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
    -การยกย่อง ชมเชย ให้รางวัล
    -การยกย่อง ชมเชย ให้รางวัล
    -การยกย่อง ชมเชย ให้รางวัล : สร้างแรงจูงใจ
         สำเร็จเพราะอะไร ล้มเหลวเพราะอะไร

3.การถอดความรู้
-การเตรียมการและปรับพฤติกรรม : กำหนดผู้รับผิดชอบ
-การประเมินติดตามผล : ประเมินผลการจัดการความรู้เพื่อ
พัฒนากระบวนการ/วิธีการ เช่น AAR
สรุป ต้องได้สาระ แก้ไขสิ่งผิดๆที่ผ่านมา
การประกวด CKO ดีเด่น ต้องรักษาไว้อย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
ตัวชี้วัดกระบวนการ
-ติดตามทุก 3 เดือน
-รายงานทุก 3 เดือนด้วยระบบ Online


ปัญหาการจัดการความรู้(KM)ขององค์กรส่วนใหญ่ที่ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้และนวัตกรรม
1.กิจกรรม KM ไม่ได้ทำกับ Key Knowledge หรือ องค์ความรู้หลักของหน่วยงาน
2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ได้แลกเปลี่ยนใน Critical

วัฒนธรรมการเรียนรู้ กรมชลประทาน
1.พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง : องค์ความรู้เปลี่ยน เช่น เมื่อก่อนเราใช้ POSCOP
ปัจจุบันใช้ OLC
2.ทำงานเป็นทีม : ไม่ทำงานสายเดียว ต้องมีหลายสายงาน ข้ามสายงาน
3.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : ทำแผนเสร็จแล้ว มีการคุยกันเพื่อแก้ไข.....
4.คิดริเริ่มสร้างสรรค์ เช่น มีเกณฑ์การประกวด ปีที่ 1 ปีที่2 ปีที่3 อัพเกรด เป็นต้น


             Key word.. พี่ล้าหลังเทคโนโลยี..น้องขาดประสบการณ์
                                                                                    ---------------------


                                                                                                   ผู้บันทึก ไกรฤกษ์ มูลเมือง
                                                                                                  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ