วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการตีกลองเพื่อการนันทนาการ





ชื่อความรู้      เทคนิคการตีกลองเพื่อการนันทนาการ
เจ้าของความรู้   ว่าที่ ร.ต.ชัยณรงค์  บัวคำ  นักทรัพยากรบุคคล
แก้ปัญหาหรือพัฒนาเกี่ยวกับ   การตีกลองไม่ถูกจังหวะในการนันทนาการ
ความเป็นมา
เนื่องจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง เป็นหน่วยงานฝึกอบรมให้กับข้าราชการ กรมการพัฒนาชุมชน เยาวชนและผู้นำจากชุมชนต่างๆ ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งการอบรมในแต่ละครั้งจะมีวิชาปรับฐานการเรียนรู้ เพื่อสร้างบรรยากาศ มนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการเหมาะสมพร้อมรับการเรียนรู้ในการอบรม ฉะนั้นกลองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ในการให้จังหวะ สร้างความสนุกสนานในการนันทนาการ ดังนั้นเจ้าของความรู้จะได้แนะนำเทคนิคการตีกลองเพื่อนันทนาการ ดังนี้

“ใครอยากตีกลองให้มีเสียงที่ไพเราะและจังหวะสนุกสนาน ให้ลองทำตามขั้นตอน ดังนี้”

การฟัง เวลาท่านฟังเพลง ให้ฟังทำนองเพลง เนื้อร้องของเพลง จังหวะดนตรี ถ้าจะดีให้ท่านร้องเพลงนั้นให้ได้ด้วย             ถ้าจำเนื้อเพลงไม่ได้ ให้เขียนเนื้อเพลงไว้ จากนั้นก็ให้ท่องจนจำได้ หรือไม่ก็จำเฉพาะจังหวะทำน้องเพลงก็ได้ โดยใช้วิธีการฟัง เป็นประจำ ในขณะเดียวกัน ให้ท่านฟังเสียงกลองในเพลงนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสียงกลองชุด กลองทอม การโซโลรวมถึงเครื่องดนตรีชนิดอื่น เช่น ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น
และเมื่อท่านแยกจังหวะเพลงได้แล้ว ท่านจะรู้ว่าเสียงกลองชุดเป็นอย่างไร กลองทอมลักษณะการตีเป็นอย่างไร           และมีเสียงแตกต่างกันอย่างไร ให้ท่านสมมติเสียงของกลองแต่ละชนิด แล้วคิดพร้อมเปล่งเสียงตาม เช่น ผู้ที่จะตีกลองทอม  ปกติกลองทอม จะมีกลองอยู่ 2 ลูก  ซึ่งจะให้เสียงที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปมี ๓ เสียง คือ เสียงต่ำกับเสียงสูงและเสียงตัด             (หน้าใหญ่จะให้เสียงต่ำ หน้าเล็กจะให้เสียงสูง)
เสียงต่ำ           ให้สมมติการออกเสียงว่า            ชึ่ง       (1)
เสียงสูง           ให้สมมติการออกเสียงว่า            โปง      (2)
เสียงตัด              ให้สมมติการออกเสียงว่า   โจ๊ะ       (3)

จังหวะกลองที่มักใช้ในกิจกรรมนันทนาการ มีหลายจังหวะ เช่น จังหวะรำวง และจังหวะ 
ชะชะช่า (3ช่า) 

การสมมติเสียงตามจังหวัดรำวง ให้ลองฝึกทำตามวิธีนี้
ชึ่ง  ชึ่ง  โปงโปงโปง / ชึ่ง  ชึ่ง  โปงโปงโปง / ชึ่ง  ชึ่ง  โปงโปงโปง  หรือนับเป็นตัวเลข
1 1 222/1 1 222/1 1 222  ทำลักษณะนี้ไปจนจบเพลงในจังหวะรำวง
การสมมติเสียงตามจังหวะชะชะช่า (3 ช่า) ให้ลองฝึกทำตามวิธีนี้
ชึ่ง  ชึ่ง  โปงโปง  ชึ่ง /  โจ๊ะ  /ชึ่ง  ชึ่ง  โปงโปง  ชึ่ง /  โจ๊ะ  หรือนับเป็นตัวเลข
1 1 22 1 / 3 /1 1 22 1 / 3  ทำลักษณะนี้ไปจนจบเพลงในจังหวะชะชะช่า (3ช่า)
ข้อควรระวัง      ฟังและคิดตาม ออกเสียงตามจังหวะเพลง หมั่นฝึกทำบ่อยๆ จนจำจังหวะเพลงได้
         การฝึก หลังจาก ฟัง คิดตาม ฝึกออกเสียงตามจังหวะเพลงแล้ว ให้ท่านฝึกเคาะฝึกตีกลอง โดยพยายามการใช้มือหรือไม้กลองทั้งสองข้าง ให้มีความสัมพันธ์กันกับเสียงกลองที่เรากำหนด โดยกำหนดความถนัดของตัวท่านเอง เช่น บางท่านถนัดที่จะเริ่มต้นด้วยมือซ้าย บางท่านถนัดที่จะเริ่มด้วยมือขวา
          สำหรับหลายท่าน ถามว่า หากเราไม่มีกลอง จะให้ฝึกกับอะไร ไม่ยาก เพราะ อุปกรณ์ที่อยู่ตรงหน้าท่านสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ฝึกได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นพื้นโต๊ะ พื้นเตียง เก้าอี้ กะละมัง ถังสี สามารถนำมาฝึกได้ทุกอย่าง ที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวท่านเอง ความคิดกำหนดเสียงตามจังหวะ และมือทั้งสองข้างที่เคาะหรือตีลงไปตามจังหวะที่เราคิด
          หากท่านที่ถนัดในการใช้มือตีกลอง (กลองทอม) การวางมือตีกลอง ให้ท่านใช้ส่วนของนิ้วมือ ๔ นิ้ว เรียงชิดติดกัน ตีลงหน้ากลอง แล้วปล่อยให้นิ้วกระเด้งขึ้นตามการสะท้อนของหน้ากลองโดยไม่กดไว้ จะได้เสียงที่กังวานและมีความไพเราะ
          ***หากท่านกดนิ้วมือไว้จะใช้เฉพาะกรณีที่ใช้ เสียงโจ๊ะ (3) เท่านั้น***
          ลองฟังและหมั่นฝึก เพียง 2 วิธีนี้ ท่านจะสามารถตีกลองได้ดี และจะเป็นอีกคนหนึ่งที่มีฝีมือในการตีกลองประกอบกิจกรรมนันทนาการได้ไพเราะและสนุก ไม่แพ้ใครในโลก
การตีกลองให้ได้เสียงที่ไพเราะ มีจังหวะเร้าใจสนุกสนาน มันอยู่ที่ พรแสวงมากกว่า พรสวรรค์