วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อะไรคือการเสวนา What is Dialogue?


             การ  Dialogue หรือ ที่ภาษาไทยอาจเรียกว่า “การสานเสวนา”หรือเรียกอย่างอื่นที่คล้ายกัน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการสนทนา ที่ช่วยให้คนหลายๆคน ที่มีมุมมอง หรือโลกทัศน์ที่แตกต่างกัน   ได้หันหน้ามาทำงานร่วมกัน เพื่อเหตุผล ดังนี้:
·       ขจัดความไม่ไว้วางใจต่อกัน หันมาสร้างบรรยากาศความไว้วางใจหรือศรัทธาให้เกิดขึ้น
·       ทำให้ความรู้สึกอคติ หรือลำเอียงต่ออีกฝ่ายหมดไป
·       เปลี่ยนความคาดหวังที่ต้องการเป็นผู้ได้ฝ่ายเดียว  เป็นความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความเป็นหมู่คณะเดียวกัน
·       เกิดความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน แม้จะไม่เห็นด้วยกับอีกฝ่ายก็ตาม
·       ปูพื้นฐานไปสู่การเจรจา หรือตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ

·       ช่วยให้เกิดผู้สนใจร่วมคิดหรือตัดสินใจในเรื่องสำคัญมากขึ้น

เพื่อให้เข้าใจการคำว่าการเสวนา (dialogue)  มากขึ้น ลองเปรียบเทียบกับคำว่า การโต้วาที
(debate)  ซึ่งทั้ง 2 คำ ต่างช่วยให้เกิดการตัดสินใจ  แต่คำสองคำนี้  มีเป้าหมายต่างกัน  ในขณะที่คำว่าโต้วาทีเป็นการทำเพื่อการชนะอีกฝ่าย แต่การเสวนา กลับเป็นเรื่องของการเรียนรู้ (Learning)

การเสวนาเป็นการเรียนรู้     เหตุผล

การ DEBATE เป็นการทำเพื่อให้ได้
ชัยชนะ  เหตุผล
เป็นการเชื่อว่าทุกคนมีคำตอบของตัวเอง

เป็นการเชื่อว่าคำตอบที่ถูกต้องมีอันเดียว และฉันมีคำตอบอยู่แล้ว
เป็นการร่วมแรงร่วมใจ โดยพยายามมองหาความเข้าใจร่วมกัน
เป็นการต่อสู้หักล้างเหตุผลกัน  โดยพยายามคิดว่าอีกฝ่ายผิด แต่ตัวเองถูก

เป็นการหาข้อมูลที่เป็นพื้นฐานการคิด หรือทางออกร่วมกัน
เป็นการทำเพื่อมุ่งเป็นฝ่ายชนะโดยเด็ดขาดฝ่ายเดียว
เป็นการฟัง(ลึกๆ) เพื่อให้เข้าใจ และพยายามหาวิธีบรรลุข้อตกลงร่วมกัน
เป็นการฟังเพื่อเพื่อหาข้อบกพร่อง(จับผิด) และตอบโต้อีกฝ่าย
เป็นการหา หรือพิสูจน์สมมุติฐานให้เกิดการตรวจสอบ และอภิปรายหาคำตอบร่วมกัน
เป็นการหักล้างข้อสมมุติฐานของอีกฝ่าย
เป็นการหาสิ่งที่เป็นไปได้ และหาสิ่งเป็นโอกาส
เป็นการหาผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการตัวเองให้ได้มากที่สุด

บทสรุป    การเสวนาเป็นรูปแบบการสื่อสาร ระหว่างคนสองคนขึ้นไป หรือกลุ่มที่มุ่งให้เกิดการตัดสินใจ มีเป้าหมายสร้างความปรองดอง ความร่วมมือมากกว่าอย่างอื่นๆ มีลักษณะสำคัญ คือ แต่ละฝ่ายต้องฟังอย่างตั้งใจหรือลึกๆ  (Deep Listening) ของอีกฝ่าย   ขณะเดียวก็รู้จักการ ตั้งคำถามที่ดี  (Ask a good question)  เนื่องจากปัญหา ความขัดแย้งที่เกิด มักเกิดจากการสื่อสาร และการตีความสิ่งที่สื่อสารไม่ตรงกันและเกิดจากต้องการชนะอีกฝ่าย ด้วยส่วนหนึ่ง

( ที่มา***  Insight through Dialogue, http://www.viewpointlearning.com/about-us/what-is-dialogue/  บุญส่ง เวศยาสิรินทร์ แปล/เรียบเรียง) 








วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

เครือข่าย : เครื่องมือการทำงานในบริบทที่เปลี่ยนแปลง



                    นายนพพร นิลณรงค์ นักวิชาการอิสระ อดีตนักวิชาการศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5  พูดคุยสร้างบรรยากาศแบบพี่แบบน้อง แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของพัฒนากรตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา เพื่อสรุปเชื่อมโยงให้เห็นว่า เครือข่ายของพัฒนากรก็คือ คนที่พัฒนากรรู้จัก เครือข่ายเป็นกระบวนการทางสังคม เป็นกระบวนการสร้างเพื่อน สร้างพันธมิตรในการทำงานของพัฒนากร..
                   พัฒนากรมีอาวุธสำคัญคือ คำพูด เนื่องจากไม่มีงบประมาณอะไรสนับสนุน กว่าที่จะทำงานสำเร็จแต่ละเรื่อง จึงไม่ได้ทำสำเร็จด้วยตัวคนเดียว ต้องไปหมู่บ้านนั้น ตำบลนี้ ประสานคนมาทำงาน กว่าจะสำเร็จ เรียกว่าเป็นการระดมคนให้ลุกขึ้นมาจัดการตนเอง...เรียกว่า “ผู้ทำกับมือ” ต้องขอคารวะ..



                                           “พัฒนากร”
ทำกับมือ ถือหลัก ปักฐานลึก
                                                         จึงก่อเป็น สำนึก ผนึกฝัน
           สองมือกำ  หลายมือก่อ ต่อสัมพันธ์
       ชุมชนนั้น จึงเป็นหนึ่ง พึ่งตนเอง..


                   วิทยากรสร้างพลังคนทำงานโดยชวนร้องเพลงมาร์ชพัฒนาชุมชน และชี้ให้เห็นจากเนื้อเพลงว่าการทำงานของพัฒนากรนั้น 1.สร้างหลักฐานและมีงานทำประกอบกิจกรรมร่ำรวยเพราะช่วยตนเอง 2.ช่วยปกครองท้องถิ่นเราหนักแรงแบ่งเบาเพราะเราสามัคคี ก็คือวิสัยทัศน์ของกรมการพัฒนาชุมชน“1.ชุมชนเข้มแข็ง 2.เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ”




บทสรุป คนถูกทำให้รู้สึกว่าไร้ศักยภาพ และไร้ศักดิ์ศรี ด้วยโครงสร้างอำนาจและ โครงสร้างเงิน ที่กดทับคนทั้งหมด โครงสร้างอำนาจก่อให้เกิด การบีบคั้น ความไร้ศักยภาพ ความหงุดหงิด รำคาญใจ และความรู้สึกสิ้นหวัง ทำลายสุขภาพจิต ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และศักยภาพแห่งความ สร้างสรรค์   และ...เครือข่ายเป็นโครงสร้างที่ทำให้หลุดจากความบีบคั้นดังกล่าว ไปสู่ความสุข และความสร้างสรรค์

บันทึกย่อจาก..  การฝึกอบรมพัฒนากรระหว่าง ประจำการ หลักสูตรการบริหารการเปลี่ยนแปลง
                              รุ่น 1 - 3  มิถุนายน 2557    
                  




วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

พัฒนากรกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง(2)


ในวันที่ 4 มิถุนายน 2557 นายพิสันต์ ชวโน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง และให้เกียรติพบปะฝากข้อคิดการทำงานแก่พัฒนากรระหว่างประจำการ สรุปได้ดังนี้

พัฒนาการการทำงานของพัฒนากรตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน แยกเป็นพัฒนากร 3 ยุค ที่ทำให้เห็นถึงการทำงานของพัฒนากรที่เปลี่ยนไปนั้น เปลี่ยนไปอย่างไร และปัจจุบันหลงเหลืออะไรอย่างไรบ้าง

พัฒนากรยุคแรก ยังไม่มีเรื่องยุทธศาสตร์มาเกี่ยวข้อง พัฒนากรต้องเกาะติดหมู่บ้าน ต้องมีหมู่บ้านในดวงใจ เป็นหมู่บ้านเน้นหนักที่ต้องเข้าไปนอนในหมู่บ้าน   เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ในการทำงานของพัฒนากรในสมัยนั้น  อีก
กลยุทธ์ คือ ใช้แผนงานโครงการในการทำงาน ดังนั้น พัฒนากรยุคแรก จะเก่งในการทำโครงการ การเขียนโครงการ การประเมินผล และการจัดตั้งกลุ่ม  การของบประมานต่างๆผ่านแบบ พช.3  ในการทำกิจกรรมโครงการ ทั้งแบบใช้เงิน(อดหนุน) และไม่ใช้เงิน ซึ่งพัฒนากรยุคแรกนั้น จะพยายามทำโครงการที่ชาวบ้านพึ่งตนเองเป็นหลักและเป็นเอกลักษณ์ของงานพัฒนาชุมชน

พัฒนากรยุคที่ 2 เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชัดเจนขึ้น การพัฒนาชนบทได้รับความสนใจจากรัฐบาล มีการประกาศพื้นที่ยากจน และการพัฒนาจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ยากจนก่อน เป็นยุคที่ใช้ระบบ กชช. (กชช.1,กชช2,กชช3) โดยคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ
กชช.2ก เป็นแบบจัดเก็บข้อมูลหมู่บ้านในเขตพื้นที่ยากจนทั่วประเทศ เพื่อเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ จัดลำดับหมู่บ้าน โดยมีสภาพัฒน์ฯ เป็นคนจัดทำ
กชช.2ข  เหมือนแบบกชช2ก. แต่จะจัดเก็บเฉพาะหมู่บ้านล้าหลังทั่วประเทศ นำมาวิเคราะห์ ออกเป็นมติ
เป็น     กชช.2ค เก็บเต็มพื้นที่ทั่วประเทศ โดยจัดเก็บทุก ๆ 2ปี เพื่อบ่งบอก /ชี้วัดว่า เป็นหมู่บ้านระดับล้าหลัง ปานกลาง หรือก้าวหน้า
ในยุคนี้มีองค์กรมหัศจรรย์เกิดขึ้นในตำบล เรียกว่า  คณะทำงานปฎิบัติการระดับตำบล (คปต.)  เน้นการ
บูรณาการทำงานของ 4 ทหารเสือจาก 4 กระทรวง (พัฒนาชุมชน /เกษตร/ สาธารณะสุข/ ปกครอง) จับมือกันทำงานร่วมกับผู้นำในพื้นที่ของตำบล ถ้ายุคแรกๆ เป็นยุคของเงินผัน ในยุคที่สองนี้งบประมาณทุกอย่างจะผ่าน คปต. กลั่นกรองก่อนเข้าสภาตำบล กชช.2ค/จปฐ. ทุกกระทรวงจะรู้จัก เพราะช่วยกันจัดเก็บ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เข้าสู่สภาตำบล

พัฒนากรยุคที่ 3  พบว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลต่องานพัฒนาชุมชนอย่างมาก เข้าสู่ระบบแท่ง และการทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องของ ยุทธศาสตร์  ระบบKPT คำรับรองการปฎิบัติราชการ ฯลฯ มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการทำงานของพัฒนากร  อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องมือสื่อสารยุคใหม่อย่างเดียว โดยไม่เข้าหมู่บ้าน ไม่ไปพูดคุยกับผู้นำกับชาวบ้าน จะทำให้กระบวนการพัฒนาชุมชน และวิธีคิดหายไปหมด  อย่าลืมว่าเทคนิคการทำงานกับประชาชนนั้น เคล็บลับอยู่ที่เรา กรมฯเดียว...กรมพัฒนาชุมชน เราต้องภูมิใจในคำว่า “พัฒนากร” เพราะเป็นคำที่มีศักดิ์ศรี มีเกียรติในสังคม ต้องทำให้เด็ก ๆ ในชุมชนมีแรงบันบาลใจอยากเป็น “พัฒนากร”

ฝากข้อคิด การทำงานของพัฒนากรให้สำเร็จ  1. ทำงานกับผู้นำและเครือข่าย 2. ทำตัวให้เป็นช่างเสริมสวย เนื่องจากมีเทรนเปลี่ยนตลอด  ต้องตามเทรนให้ทัน พัฒนากรยุคนี้จึงต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงได้

                                                                                                ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง

















พัฒนากรกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง



พัฒนากรเป็นผู้ปฏิบัติงานแนวหน้าของกรมการพัฒนาชุมชน ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ชิดหมู่บ้าน/ชุมชน ในการเสริมสร้าง “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” สถานการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาในพื้นที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงต้องพัฒนาเสริมสร้างขีดสมรรถนะให้กับพัฒนากร เพื่อสามารถปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกรมการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
ฝากข้อคิดในการทำงานของพัฒนากร ต้องทันโลก ทันการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างเสน่ห์ในการทำงาน ที่สำคัญคือ การเรียนรู้งาน rethinking และ renovateการทำงาน การปรับวิธีคิด วิธีทำงาน ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า/กลุ่มเป้าหมาย  และการใช้ IT จะทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น

          เสน่ห์ในการทำงานของพัฒนากร อยู่ที่การให้ความรู้ ความเข้าใจ ความมุ่งมั่นในการทำงาน การทำงานอย่างเป็นกระบวนการ สามารถนั่งอยู่ในหัวใจประชาชน คือทำอย่างไรก็ได้ให้ชาวบ้านมาทักทาย ไว้วางใจ ชวนทำกิจกรรมต่าง ๆ  ทำงานที่รับผิดชอบให้ดีขึ้น โดยเฉพาะงานหลักของกรมฯ ใช้เครือข่ายในการทำงานสุดท้ายคือการดูแลรักษาครอบครัวและอยู่ในที่ที่ตนเองชอบที่สุด                                                


                         นายขวัญชัย วงค์นิติกร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมพัฒนากรระหว่างประจำการ รุ่นที่ 1  โดยได้ให้โอวาทแก่พัฒนากรระหว่างประจำการ โดยสรุป ในวันที่ 3 มิถุนายน 2557

                       ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

กระบวนการขับเคลื่อนชุมชน..ด้วยกระบวนการแผนชุมชน

การสร้างและพัฒนาหลักสูตรเฉพาะทาง เพื่อสนับสนุนกระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชนในพื้นที่เป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของศูนย์ฯ ที่ได้จัดทำมาอย่างต่อเนื่อง และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสู่สถาบันแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาและบูรณาการแผนชุมชน ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง จึงได้จัดทำหลักสูตรกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนตามมาตรฐานแผนชุมชน ขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้นำชุมชน/แกนนำหมู่บ้าน ให้มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการขับเคลื่อนชุมชน และจัดทำแผนของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานแผนชุมชน





เรียนรู้และลงมือทำ..
ต้อนรับคณะทีมวิจัยชาวบ้าน บ้านทุ่งผา ม.1 ตำบลวอแก้ว ศึกษาดูงานร่วมแลกเปลี่ยนกระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชนของบ้านวอแก้ว 

          วันนี้..บ้านวอแก้ว หมู่ที่ 3 ตำบลห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง นำทีมโดยกำนันดำริห์ สุวรรณสุระและกรรมการหมู่บ้าน แกนนำชุมชน..ได้ทำหน้าที่ให้ข้อมูล แลกเปลี่ยนประสบการณ์การขับเคลื่อนหมู่บ้านชุมชนผ่านกระบวนการแผนชุมชน ทั้งในส่วนที่ประสบความสำเร็จ และยังคงมีปัญหาอุปสรรคที่ชุมชนจะต้องร่วมกันวางแผนและร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนต่อไป..
                                                                        
                                                                           บันทึก  19 กันยายน 2557
                                                                                 













วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

จัดการความรู้..คนศูนย์ลำปางปี2556


การจัดการความรู้ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ปี 2556
     จากนิยามในภาพรวม..หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในศูนย์ฯ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคลากรของศูนย์ฯ หรือในเอกสารตำรา รายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน การวิจัย งานพัฒนาและประเมินผลฯลฯ มาพัฒนาให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้บุคลากรในศูนย์ฯเข้าถึงความรู้เหล่านี้และสามารถนำความรู้มาพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ..ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาทีมงานในศูนย์ฯให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ..เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด..
     ในช่วงปี 2553-2556 ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง กำหนดเป้าหมาย/วิสัยทัศน์มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาและบูรณาการแผนชุมชน แผนการจัดการความรู้ของศูนย์ฯในปีนี้ จึงเป็นกระบวนการจัดการความรู้ในทุกๆเอง ที่มีเป้าหมายมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ของศูนย์ฯ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในศูนย์ฯภายนอกศูนย์ฯ การพัฒนาผู้นำ การพัฒนาเครือข่าย ตลอดทั้งการพัฒนาระบบสารสนเทศ/ช่องทางการสื่อสาร
    1. สืบค้น..ค้นหาความรู้..เพื่อ"ให้รู้"
     เมื่อจะทำงาน..ทำกิจกรรม/โครงการอะไร คงต้องรู้ว่าผลลัพธ์สุดท้ายต้องการอะไร..จะพัฒนาผู้นำ..คือต้องการให้ผู้นำมีบุคลิกภาพที่ดี มีภาวะผู้นำ สามารถเป็นแกนนำขับเคลื่อนกระบวนการในชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็งผ่านกระบวนการ/เครื่องมือแผนชุมชน เป็นต้น ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการ"ค้นหาความรู้"เหล่านั้น..โดยการ
-ค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน๊ต
-เอกสาร/คู่มือ/ตำรา/รายงานการวิจัย
-จัดกลุ่มเรียนรู้/แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในศูนย์ฯ
-ความรู้จากผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ในพื้นที่ ทั้งจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนของจังหวัดอำเภอ/จากผู้นำ/แกนนำในชุมชน /เครื่อข่ายแผนชุมชน และภาคีการพัฒนา สถาบันการศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับชุมชน
         *ผ่านช่องทางสื่อสารทางโทรศัพท์/การขอคำปรึกษา/ผ่านเวทีพิจารณาหลักสูตร
ร่วมกัน เป็นต้น
    2.ค้นหาได้แล้ว..นำความรู้ไปใช้อย่างไร..กับใครบ้าง?
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางมีงาน/กิจกรรม/โครงการ ที่ได้ดำเนินการในช่วงปีงบประมาณ 2556 แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ..
-งานตามแผนยุทธศาสตร์กรมฯ
       *การฝึกอบรมหลักสูตรผู้นำการพัฒนา จำนวน 16 รุ่น
       *การฝึกอบรมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จำนวน 42 รุ่น
       *การฝึกอบรมนักบริหารจัดการชุมชน
       *พัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
       *การฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน
       *การฝึกอบรมเยาวชนโอทอปด้านแผนธุรกิจ
-งาน/กิจกรรมตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสู่สถาบันแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาและบูรณาการแผนชุมชน
       *โครงการเงินคืองาน งานคือเงิน
       *โครงการcdd english camp and neighbor language
       *โครงการตลาดนัดแผนชุมชนสัญจร
       *โครงการสร้างและพัฒนาหลักสูตร
          -กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่มาตรฐานแผนชุมชน"
          -ฝึกอบรมหลักสูตรเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 8 จังหวัดรับผิดชอบ
       *โครงการเครือข่ายแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- งานที่ศูนย์ฯให้บริการ ตามที่หน่วยงาน/องค์กรและพื้นที่รับผิดชอบขอรับการสนับสนุน
       *โครงการเพิ่มประสิทธิภาพผู้นำหมู่บ้านชุมชนต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดินใหม่
        (ปปส.)
       *โครงการscgรักษ์น้ำตามแนวพระราชดำริ(SCG+สถาบันแสนผะญ๋า)
       *โครงการเพิ่มศักยภาพศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินระดับอำเภอ(ปปส.)
       *ฝึกอบรมบุคลิกภาพผู้นำสตรีตำบลนาครัว(อบต.นาครัว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง)
       *เวทีจัดการความรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินอำเภอวังเหนือ(สพอ.วังเหนือ)
       *ฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีและที่ปรึกษา
        อำเภอเด่นชัย จ.แพร่(กคส.จ แพร่)
               ฯลฯ
*****บทบาทหลักๆของบุคลากรศูนย์ฯคือการเป็นวิทยากรกระบวนการ โดยในทุกกิจกรรม/โครงการได้ใช้กระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เริ่มตั้งแต่รวบรวมค้นหาความรู้มาจัดเตรียมทีมงาน วางแผนการสอน ฝึกซ้อม/ทดลองปฎิบัติ ลงมือปฎิบัติงาน แล้วสรุปบทเรียนการทำงานเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการทำงานในรูปแบบต่างๆ..
    3.การสร้างความรู้..จากการเรียนรู้และลงมือทำ..
      รูปแบบที่ศูนย์ฯลำปางใช้สร้างความรู้ มีทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น หลังการทำกิจกรรม/โครงการ จะมีเวทีสรุปบทเรียนการทำงานร่วมกัน เพื่อทบทวนปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่างๆ และเตรียมงานครั้งต่อไป
         เช่น -เวทีสรุปบทเรียนวิเคราะห์ผลการจัดการความรู้ของศูนย์ฯ
             -เวทีสรุปบทเรียนการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
             -เวทีสรุปบทเรียนจากการอบรมผู้นำการพัฒนา
      รูปแบบการสร้างความรู้อย่างไม่เป็นทางการของบุคลากรศูนย์ฯ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของการทบทวนการทำงานของทีมงานในแต่ละวัน ได้แก่การประชุมstaff/ประชุมพี่เลี้ยง
หรือการทบทวนวันวาน/สรุปบทเรียนในกิจกรรมภาคเช้าของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกิจกรรม/โครงการ
      การสร้างความรู้ของศูนย์ฯ อาจอยู่ในรูปของการส่งบุคลากรของศูนย์ฯเข้ารับการอบรมสัมมนาหรือเข้าร่วมการประชุม ทั้งในส่วนกลางหรือสถาบันการศึกษาอื่นๆ
         ได้แก่ ..การอบรมวิทยากรมืออาชีพฯ
               การอบรมบุคลากรด้านการจัดการความรู้
    **เป็นข้อสังเกตว่า..บุคลากรศูนย์ฯลำปาง ไม่เคยมีโอกาสเข้ารับการอบรมหรือเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการหรือรับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแผนชุมชน จากกรมการพัฒนาชุมชนเลย..แต่กระบวนการจัดการความรู้ โดยเฉพาะการสร้างความรู้จากการลงมือปฏิบัติร่วมกับชุมชน/หมู่บ้าน..ก็เป็นโอกาสที่ดีกว่า..ดังคำที่ผู้รู้กล่าวไว้ "ในการจัดการความรู้นี้..การเรียนรู้สำคัญกว่าตัวความรู้ เพราะตัวความรู้นั้นอาจหยุดนิ่งตายตัว แต่การเรียนรู้มีลักษณะมีชีวิต..ดิ้นได้..และการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ..
      4.การสะสมองค์ความรู้ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง มีอยู่หลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นชุดเอกสารอ่านประกอบ แผนการสอน สื่อการเรียนการสอนในรูปของเพาเวอร์พ้อย คลิปวีดีโอ ชุดความรู้ บทความ เป็นต้น
       5.รู้แล้วเผยแพร่..แบ่งปัน..แลกเปลี่ยน
   ผ่านช่องทางการสื่อสารใน..คลังความรู้เรื่องแผนชุมชนของศูนย์ฯ เว็บไซด์ศูนย์ฯ(www.org.th) เว็บบล๊อกๅKMศูนย์ฯ(knowledgecdd5.blogspot.com) facebookศูนย์ฯ ผ่านระบบOA เอกสารคู่มือประกอบ วีดีทัศน์ DVD
รวมทั้งเผยแพร่ผ่านการประชุม พูดคุยแลกเปลี่ยน และในเวทีทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

ข้อคิดบทเรียน...ที่ได้จากการจัดการความรู้..ในการทำงานร่วมกัน
-ผู้บริหารต้องใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบาย กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนการทำงานของศูนย์ฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายกรมฯ.
-ในการจัดการความรู้ของศูนย์ฯ เราต้อง"รู้จริง"ในเรื่องที่เป็นบทบาทภารกิจ(กระบวนการแผนชุมชน) ซึ่งต้องลงมือปฏิบัติจริง จึงจะเกิดประสบการณ์(ความรู้)
-การได้มาซึ่งความรู้..ทั้งที่เป็นข้อคิด/ข้อสรุปจากการทำงานร่วมกัน สามารถเกิดขึ้นได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
-ในข้อจำกัดของศูนย์ฯเรื่องบุคลากรมีจำนวนน้อย..การทำงานให้บรรลุเป้าหมายของศูนย์ฯจึงต้องสร้างเครือข่ายการทำงานทุกรูปแบบ เพื่อให้ได้ข้อคิด/ได้ความรู้มาใช้ในการทำงาน