วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

เทคนิคปลูกไผ่(กิมซุง)


เทคนิคปลูกไผ่(กิมซุง)
เจ้าขององค์ความรู้    นาย นพปฎด ปู่ตอง
ที่อยู่    187 หมู่ที่ 7  ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย 
จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์    09 6653 5572 และ 08 3066 9306
 ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
1. รักไผ่ ไผ่เป็นพืชโตไว ปลูกที่ไหนก็ได้
2. มีพื้นที่ว่างและไม่ได้ใช้ประโยชน์ ทำอย่างไรให้เขียวชอุ่ม มองว่าไผ่มีอนาคตไกล และเหมาะสมกว่าพืชผลอื่นๆ ไผ่สามารถหากินง่าย มีระยะพักตัว ฟื้นตัวได้ ไผ่มีประโยชน์หลายอย่าง ทั้งเพื่อร่มเงา และเป็นพืชเศรษฐกิจ


วัตถุประสงค์
         เพื่อให้พื้นที่ว่างเปล่าตามหัวไร่ปลายนา ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เพราะไผ่เจริญเร็วกว่าพืชชนิดอื่น
วัตถุดิบ
          1. พันธุ์ไผ่ (อายุ 3 – 5 ปี)
          2. น้ำ
อุปกรณ์
          จอบ
กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          -ศึกษาเรียนรู้ จากพ่อหลวงบ้านป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเขาทำหน่อไผ่ขาย ไผ่มีหลากหลายกว่า 200-300 สายพันธุ์
           ขั้นตอนที่ 1 เอากล้าพันธุ์จากที่เรียนรู้ เป็นไผ่กิมซุง(พันธุ์ไต้หวัน)
          ขั้นที่2. พักกล้าไว้ 2 อาทิตย์ เพื่อให้ไผ่กิมซุงคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อม จนรากออกนอกถุง
(8 x 16 นิ้ว) แสดงว่าอัตราการรอด 100%
          ขั้นที่3. ขุดหลุมประมาณ 1 คืบ (ไม่ต้องลึก เพราะรากไผ่แผ่ด้านข้าง) ความกว้าง 50 x 50 เซนติเมตร
          ขั้นที่4. ก่อนปลูก 3 วัน ไม่ต้องรดน้ำ เพื่อทำให้ดึงต้นพันธุ์ออกจากถุงได้ง่าย
          ขั้นที่5. ระยะห่าง 4 x 4 เมตร (อยู่ที่พื้นที่อาจจะ 6 x 6 หรือ 8 x 8) 1 ไร่ จะได้ 100 ต้น (ปลูกไว้ 5 ไร่) = 500 ต้น/กอ
          ขั้นที่6. คอยรดน้ำถ้าฝนไม่ตก รดน้ำให้ชุ่มเฉพาะบริเวณที่ขุด ไม่ใช้ปุ๋ย ให้ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด
          ขั้นที่7. ใช้เวลา 7 - 8 เดือน แทงหน่อแรก ปล่อยให้เป็น “ลำแม่” ก่อน ถ้าหน่อขึ้นหลายต้น  คัดเฉพาะลำแม่ไว้
          ขั้นที่8. ถ้าครบ 1 ปี แทงหน่อใหม่ ให้ตัดต้นกล้าพันธุ์ทิ้ง
          ขั้นที่9. ถ้าต้องการทำหน่อ หรือขายหน่อ ต้องตัดแต่ง โดยตัดปลายต้นให้มีความสูง 3 – 4 เมตร เลาะกิ่งออก เหลือทิ้งไว้ 5 ก้านพอ เพื่อป้องกันลม และให้มีแสงทะลุไปถึงหน่อได้
          ขั้นที่10. ถ้าจะทำหน่อขาย ต้องตัดแต่ง
                    1 กอ 1 ปี ต้องมี 1 ต้น
                   ขึ้นปีที่ 2   1 กอ ต้องมีต้นแม่ 2 ต้น
                   ขึ้นปีที่ 3   1 กอ ต้องมีต้นแม่ 3 ต้น
                   ขึ้นปีที่ 4  1 กอ ต้องมีต้นแม่ 4 ต้น
                   ขึ้นปีที่ 5 1 กอ ต้องมีต้นแม่ 5 ต้น
                        *5 ปี เปลี่ยนปลูกชุดใหม่*
          ขั้นที่11. แต่ของเราขึ้นปีที่ 7 ยังคงปลุกต่อไป ไม่ได้ต้องการขยายหน่อ
ปัญหา
          1. ชาวบ้านไม่กล้าปลูกไผ่เพราะกลัวตายยกกอ(ตายขุย) แต่ความจริงคือ เราคอยตัดแต่ง และเปลี่ยนชุดใหม่เรื่อยๆ
          2. ลำแก่ 3 ปี ไม่ค่อยออกหน่อ หรือ ออกหน่อแต่ก็ไม่สมบูรณ์
          3. ไม่รู้ว่าจะหากล้าพันธุ์ที่ไหน
          4. โดนหลอกเรื่องกล้าพันธุ์
 ข้อพึงระวัง
          1. ไม่ควรปลูกไผ่หน้าหนาว เพราะเป็นช่วงหยุด พลัดใบ จะโตช้า
 ข้อเสนอแนะ
          1. ปลูกไผ่เพื่อฟื้นพื้นที่ป่า แล้วเราสามารถต่อยอด เป็นขายหน่อได้
          2. ชาวบ้านไม่มีใครให้ความรู้ว่าไผ่สามารถต่อยอดได้หลายอย่าง เช่น ทำถ่าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำเยื่อกระดาษได้
          3. ไผ่ไม่ทำลายดินไม่เหมือนยูคาลิปตัส ไผ่ผลิตออกซิเจนได้ถึง 15 – 25%
          4. ก่อนจะปลูกอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้ชัดเจน มั่นใจก่อนว่าเราทำได้
          5. ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ได้ดี 4 – 5 ปีที่ปลูกไผ่มา มีหิ่งห้อย ไส้เดือน นกเค้าแมวฯลฯ เยอะมาก
 ชื่อผู้สัมภาษณ์   นางอัญชลี ป่งแก้ว
ตำแหน่ง  นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
วันที่สัมภาษณ์   20 ธันวาคม 2559


การเลี้ยงสุนัขพันธุ์ต่างประเทศ


การเลี้ยงสุนัขพันธุ์ต่างประเทศ
เจ้าขององค์ความรู้      ด.ต. นภดล ศศิสุวรรณ
ที่อยู่   11 หมู่ที่ 2 ตำบลขัวมุงอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์     08 9556 3051
 ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
   จากการที่ได้ไปเห็นพ่อค้านำลูกสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเฟิร์ด (อัลเซเชียน) ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งมีราคาแพงตัวละ 3,000 - 5,000 บาท และเห็นเป็นที่นิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์แท้น่ารักของเด็ก นักศึกษา วัยรุ่น พากันเลี้ยงสุนัขจำนวนมาก จึงคิดจะเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพเสริม
วัตถุประสงค์
          1. ถ่ายทอดความรู้วิธีการเลี้ยง บำรุงรักษา ผสมพันธุ์
          2. เลี้ยงสุนัขท้อง เลี้ยงลูกสุนัข ทำคลอดสุนัข
วัตถุดิบ
          1. โรงเรือนสุนัข มีหลังคาป้องกันแดดฝน
          2. ทรงลูกสุนัข
          3. หาพันธุ์ที่เราชอบ เช่น ลาบาร์ดอร์ โกลเด้นรีทีฟเวอร์ เซ็นเบอร์หนาด เยอรมันเชพเฟิร์ด ชิสุ   สเนาเซอร์ ไซบีเรียฮักกี้
อุปกรณ์
          1. ถ้วย ชามอาหาร ถังน้ำ โซ่ล่าม โซ่คอ แปลงอาบน้ำ ผ้าเช็ดตัวสุนัข
          2. แชมพูกำจัดเห็บ หมัด
 กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          ขั้นที่1. คัดเลือกพ่อพันธุ์ หรือแม่พันธุ์ สุนัขพันธุ์ที่เราชอบ
          ขั้นที่2. เลี้ยงด้วยอาหารตามหลักโภชนาการของสุนัข ด้วยเนื้อ นม ไข่
          ขั้นที่3. แม่พันธุ์สมบูรณ์ถึงเวลาผสมพันธุ์จะมีประจำเดือน
*สังเกตอวัยวะเพศบวมแดงมีเลือด นับไป 11 วัน  แล้วให้ผสมพันธุ์ครั้งแรก โดยพ่อพันธุ์ที่คัดไวแล้ว*
          ขั้นที่4. หลังจากนั้นแม่สุนัขจะท้อง 2 เดือน ถึงจะคลอด
          ขั้นที่5. ระหว่างแม่สุนัขตั้งท้องห้ามวิ่ง อาจทำให้แท้ง
          ขั้นที่6. ระหว่างทำคลอด แม่สุนัขคลอดยาก ให้ฉีดยาเร่งคลอด ประมาณ 2 cc
          ขั้นที่7. ลูกสุนัขเข้าวันที่ 5 – 7 วัน ป้อนด้วยนมผงของเด็ก
          ขั้นที่8. 15 วันขึ้นไป ใส่ไข่ไก้ลวก น้ำร้อน ตับไก่ต้ม อาหารลูกสุนัข แช่น้ำอุ่นใส่น้ำมันตับปลา
                         ลูกสุนัข 1 ตัวต่อน้ำมันตับปลา 1 เม็ด
          ขั้นที่9. แคลเซียมผง 1 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่น ปั่นให้ละเอียด ป้อนให้ลูกสุนัขกินวันละ 4 มื้อ
                    ลูกสุนัขจะใหญ่
          ขั้นที่10. ครบ 1 เดือน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค วัคซีนรวม
          ขั้นที่11. ครบ 2 เดือน ส่งขายตามท้องตลาดได้
พ่อพันธุ์คัดซื้อมาทำพ่อพันธุ์ สายเลือดพ่อนอก แม่นอก นำมาเลี้ยงบำรุงด้วยอาหาร เนื้อ นม ไข่ รับจ้างผสมพันธุ์ทั่วไป โดยไปบริการถึงสถานที่ ของแม่พันธุ์ที่ต้องการผสมพันธุ์
ข้อพึงระวัง
          1. ต้องเลือกสุนัขสายพันธุ์แท้
          2. ระวังโรคระบาดของสุนัขและลูกสุนัข
          3. หลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์ที่สายเลือดชิดกัน
ข้อเสนอแนะ
          1. หาตลาดที่จะขายลูกสุนัขให้แน่นอน (ที่เชียงใหม่ สวนบวกหาด ร้านค้าประตูหายยา และร้านค้าลูกสุนัขตามศูนย์การค้า
          2. ลูกสุนัขจะขายยากในเดือน เมษายน-พฤษภาคม
 ชื่อผู้สัมภาษณ์   นายเกรียงไกร สิงห์แก้ว
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
วันที่สัมภาษณ์   20 ธันวาคม 2559


ต้องลาย (ฉลุลาย)



ต้องลาย (ฉลุลาย)
เจ้าขององค์ความรู้     
ร.ต.ชัยวรรณ์  ศรีใจภา
ที่อยู่    102/2 หมู่ 2 บ้านท่าไคร้ ตำบลแม่สา
อำเภอแม่ริม   จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์    084-9499207
 ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
ชีวิตหลังเกษียณทำเวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้ศึกษาเรียนรู้การต้องลายกับพ่อครูพล บุญหมื่น บ้านเวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
 วัตถุประสงค์
1.      เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ล้านนาเชียงใหม่
2.      เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
3.      เพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว
 วัตถุดิบ/วัสดุ
1.      กระดาษสา
2.      ผ้าโทเล
3.      โลหะอลูมิเนียม (ชนิดบาง)
 อุปกรณ์
1.      สิ่ว
2.      เขียง
3.      ฆ้อน
4.      กรรไก
5.      ที่เย็บกระดาษ
6.      โต๊ะ/เก้าอี้
กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
1.      คัดเลือกแบบพิมพ์
2.      คัดเลือกวัสดุ/อุปกรณ์ เช่น กระดาษสา ผ้าโทเล  โลหะอลูมิเนียม (ชนิดบาง)
3.      นำแบบพิมพ์และวัสดุ/อุปกรณ์ที่ต้องการ วางบนเขียง
4.      คลิปแบบพิมพ์ติดกับวัสดุ/อุปกรณ์ให้แน่น
5.      เริ่มตอกตามลายที่เลือกให้เสร็จเรียบร้อย
6.      แกะแม่แบบออกจากกัน
ข้อพึงระวัง
ระวังแผ่นโลหะเขจ้าตาระหว่างที่ตอกลาย
 ข้อเสนอแนะ
ถ้าให้มีความทนทาน อายุการใช้งานนาน  ควรเป็นวัสดุ จากผ้าจะอยู่คงทน และควรตกแต่งหรือเก็บไว้ในที่ร่ม
 ชื่อผู้สัมภาษณ์   นางวิภาดา  วิบูลย์พันธ์
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
วันที่สัมภาษณ์   15 ธันวาคม 2559


น้ำหมักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือน


                                                                         น้ำหมักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในครัวเรือน

เจ้าขององค์ความรู้     นาง อุรี โอริยะ
ที่อยู่  76 หมู่ที่10 ตำบลแม่แตง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์   08 7829 6403
ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
          -เป็นครูสงเคราะห์เชียงใหม่
          -มีเศษอาหารเหลือจากกิจวัตรประจำวัน
          -ต้องการสร้างมูลค่าจากขยะ ผัก กับข้าวที่เหลือ
          -ศึกษาจากป้าเช็งว่าน้ำหมักรักษาโรคได้
วัตถุประสงค์
          1. ลดเศษอาหารในครัวเรือน
          2. ใช้รดผักที่ปลูกกำจัดศัตรูพืช บำรุงพืชและดิน
          3. ใช้รักษาแผล/โรค
วัตถุดิบ
          1. ผัก ผลไม้ทุกชนิด ล้างให้สะอาดอย่างน้อย 4 ครั้ง
          2. เศษอาหารจากมื้ออาหาร เช่น กระดูกหมู กระดูกไก่
          3. น้ำตาลทรายแดง
          4. น้ำสะอาด
อุปกรณ์
          1. ถังน้ำ 10 ลิตร - 100ลิตร
          2. สัดส่วน : ผลไม้ 3 น้ำตาล 1 น้ำ 5 ในถัง 10 ลิตร (เพิ่มปริมาณตามขนาดถัง)        
 กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          สูตรหมักผักและผลไม้
                    ขั้นที่ 1. หมักผักและผลไม้ น้ำใส่ถังห้ามมีคลอรีน ถ้าเป็นน้ำประปาทิ้งไว้ 3 วัน         วัตถุดิบล้างน้ำ
                    ขั้นที่ 2. นำน้ำและน้ำตาลทรายแดงละลายให้เข้ากัน คนตามทิศทางเดียวกัน
                    ขั้นที่ 3. ล้างผักและผลไม้อย่างน้อย 4 ครั้ง สะเด็ดน้ำ
                    ขั้นที่4 . นำวัตถุดิบลงหมัก ปิดฝาและเสียบป้ายที่ถังหมักว่าทำวันที่เท่าไหร่
                    ขั้นที่ 5. ทุกวันให้เปิดฝา กดวัตถุดิบลงไปไม้ให้ขึ้นมาเหนือน้ำ
                    ขั้นที่ 6. ปิดฝาทิ้งไว้และค่อยเปิดฝาให้อากาศเข้า
                    ขั้นที่ 7. ทิ้งไว้ 4 เดือน – 1 ปี จนมีรสเปรี้ยวจึงนำมาใช้
          สูตรหมักเศษอาหาร สูตร น้ำตาล 1 น้ำ 5
                    ขั้นที่ 1. ใช้วิธีเคี่ยวเหมือนกับการหมักผักและผลไม้
                    ขั้นที่2 . ผสม N70 จนมีรสเปรี้ยว
          สูตรการทำน้ำยาอเนกประสงค์
                    ขั้นที่ 1. N70 1 กิโลกรัม
                   ขั้นที่ 2. เกลือปรุงทิพย์ 1 กิโลกรัม
                   ขั้นที่ 3. น้ำหมักที่มีรสเปรี้ยวใช้ฝากรอง 6 ลิตร
                   ขั้นที่4 . น้ำเปล่า 8 ลิตร
ข้อพึงระวัง
          1. ความสะอาดของกระบวนการ
          2. วัตถุดิบต้องล้างให้สะอาด
          3. น้ำตาลทรายแดงเท่านั้น
ข้อเสนอแนะ
          1. ใช้ปรับสมดุลร่างกาย ต้านทานโรค
          2. ใส่หม้อหุงข้าว ข้าวไม่บูด
          3. รักษาแผลสด โรคในช่องปาก ละลายหินปูน
          4. ปรุงรสอาหาร
ชื่อผู้สัมภาษณ์   นายณัฐนิช รักขติวงศ์
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
วันที่สัมภาษณ์   15 ธันวาคม 2559

การทำเครื่องปั้นดินเผา


การทำเครื่องปั้นดินเผา
เจ้าขององค์ความรู้   นาย สายชน จันทร์สม
ที่อยู่   123 หมู่1 2 ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์    08 6114 4718 และ 08 8400 7415
 ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
          เป็นการสืบสานภูมิปัญญาจากคนรุ่นก่อน มาจนถึงปัจจุบัน การปั้นหม้อเป็นการที่เราต้องใช้จิตใจให้นิ่ง ใจเย็น เป็นการสร้างสุขภาพให้แข็งแรง เป็นการออกกำลังกายไปในตัว และเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน สร้างรายได้เชื่อมโยงของคนในหมู่บ้าน เช่น คนที่ไม่ปั้นแต่ขายของ จากคนที่ศึกษาดูงานก็ต้องซื้อของในหมู่บ้าน เป็นการเชื่อมโยงกัน
วัตถุประสงค์
          1. ให้คนในชุมชนมีสุขภาพแข็งแรง
          2. สร้างรายได้ สร้างชื่อเสียงให้หมู่บ้าน
                 3. เป็นการสร้างความสามัคคีให้คนในชุมชน
วัตถุดิบ
          1. ทราย
          2. ดิน (ดินหาได้เฉพาะในพื้นที่)
          3. น้ำ
          4. ฟืน
 อุปกรณ์
          1. เครื่องอัดดิน
          2. แท่นปั้น
          3. ฟองน้ำ
          4. ถังน้ำ
          5. มือ
กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          ขั้นที่1. เตรียมดินเหนียวที่คัดแล้ว
          ขั้นที่2. หมักดินในบ่อหมัก ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วปล่อยน้ำทิ้งรอให้ดินหมาดๆ
          ขั้นที่3. นำเข้าเครื่องอัด ประมาณ 3-4 รอบ แล้วผสมทรายละเอียด 3/1 ส่วน
          ขั้นที่4. นำไปปั้นขึ้นรูป ตามความต้องการ
          ขั้นที่5. นำมาตกแต่งลวดลาย
          ขั้นที่6. ผึ่งในที่ร่มให้แห้ง รอเข้าเตาเผา
          ขั้นที่7. เก็บเข้าเตาเผาทำการอุ่นไฟไล่อุณหภูมิใช้เวลา 2 วัน 1 คืน
          ขั้นที่8. นำออกจากเตาเผา ตกแต่งสีตามความต้องการ ราคาเริ่มต้นที่ 10-3,000 บาท
ข้อพึงระวัง
          การขนย้ายต้องใช้กระดาษห่อป้องกันการเสียดสีของตัวผลิตภัณฑ์ และป้องกันการแตกหัก
ข้อเสนอแนะ
          -
ชื่อผู้สัมภาษณ์   ว่าที่ ร.ต. ชัยณรงค์ บัวคำ
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคล
วันที่สัมภาษณ์   15 ธันวาคม 2559

การทำไข่เค็มกะทิ

เจ้าขององค์ความรู้ 
นางจารุวรรณ  แสงปรีดานนท์
ที่อยู่   155/29  หมู่ 3 ตำบลเชิงดอย  อำเภอดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์  086-7322151
ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
ชีวิตหลังเกษียณ มีความรู้สึกอยากทำกิจกรรมที่ดี มีประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม มีเพื่อนสนิทมิตรสหายได้นำไข่เค็มมาฝากเป็นประจำ  มีความคิดที่จะผลิตไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารนำภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานาน คิดค้นนำกะทิมาเป็นส่วนผสมช่วยเพิ่มรสชาติ ความอร่อยให้ลงตัวทำให้ไข่แดงมัน และ   ไข่ขาวนุ่มไม่เค็มจัด
วัตถุประสงค์
1.      เพื่อเป็นการถนอมอาหาร
2.      เพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้ครอบครัว
วัตถุดิบ
1.      ไข่เป็ด (ไข่ใหม่)   100 ฟอง
2.      ดินสอพอง        3 กิโลกรัม
3.      เกลือ              6 ชีด
4.      กะทิสด (กล่อง)  1 กล่อง (500 กรัม)
5.      ขึ้เถ้าแกลบ
อุปกรณ์
1.      กะละมัง 2 ใบ  (ใส่ส่วนผสม 1 ใบ /ใส่ขี้เถ้าแกลบ 1 ใบ)
2.      กล่องพลาสติก
3.      ถุงพลาสติก
4.      หม้อแสตนเลส
กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
1.      นำวัตถุดิบ เกลือ ดินสอพอง กะทิสด คลุกด้วยกัน
2.      นำไข่เป็ดที่ล้างสะอาดมาจุ่มให้ทั่ว
3.      นำมาคลิกกับขี้เถ้าแกลบให้แน่น
4.      เก็บบรรจุลงในกล่อง เรียงเป็นระเบียบ (โดยถึงพลาสติกรองพื้นก่อน)
5.      ก่อนปิดฝาให้ใช้กระดาษที่สะอาดซับเหงื่อไว้ขั้นบน
6.      รอระยะเวลา ประมาณ 7 วัน สามารถทอดไข่ดาวได้
7.      รอระยะเวลา ประมาณ 20 วัน ต้มเป็นไข่เค็ม และใส่ตู้เย็นได้เป็นเดือน
ข้อพึงระวัง
การคัดเลือกไข่เป็ด ต้องเป็นไข่สดและใหม่  ล้างสะอาดก่อนนำมาคลุก
 ข้อเสนอแนะ
1.      การทำไข่เค็มเป็นการถนอมอาหารและสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ยำไข่เค็ม ผัดกะเพราไข่เค็ม ข้าวยำไข่เค็ม ของหวานบัวลอย เป็นต้น
2.      มีทางเลือกสำหรับผู้บริโภค โดยใช้น้ำสกัดใบชา
3.      สามารถเป็นอาชีพเสริมให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม
 ชื่อผู้สัมภาษณ์   นางวิภาดา  วิบูลย์พันธ์
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
วันที่สัมภาษณ์   8 ธันวาคม 2559