วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ชุดความรู้การทำอาหารปลานิลแบบลดต้นทุน




ชื่อเจ้าของความรู้นายไกรฤกษ์...มูลเมือง...
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้  
หมวดเทคนิคการพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพ
ที่มาและเป้าหมาย..
                ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางได้ดำเนินการโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ ประจำปี 2561 หลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จำนวน 5 รุ่น จาก 8 จังหวัดพื้นที่บริการของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ได้แก่  แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่และน่าน  รวม  434 คน จากโครงการดังกล่าว ในกระบวนการของหลักสูตร ได้มีการถอดองค์ความรู้จากปราชญ์สัมมาชีพ และทำการคัดเลือกเรื่องราว ที่น่าสนใจไว้ศึกษา  เพื่อทำการต่อยอดและสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญานั้นๆ  บันทึกไว้ 47 เรื่อง  ซึ่งมี 1 เรื่องสุดยอดของภูมิปัญญาที่สามารถนำมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมและสอดคล้องกับจุดเรียนรู้ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางได้ คือ เรื่อง การผลิตอาหารปลานิลจากหญ้าเนเปียพันธุ์ปากช่อง 1
                  เพื่อร่วมกันพัฒนาสร้างสรรค์งานสู่นวัตกรรมที่เป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติราชการตามประเด็นยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนให้พึ่งตนเองได้ และเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือ สื่อ สนับสนุนปราชญ์สัมมาชีพ และศูนย์เรียนรู้ชุมชน ที่มาจากโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ ประจำปี 2561  
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง จึงได้จัดทำกิจกรรมต่อยอดในชื่อว่า “นวัตกรรมอาหารปลานิลถิ่นล้านนา”ขึ้น 
              วัตถุประสงค์
             1.เพื่อผลิตนวัตกรรมใหม่จากการถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชนสู่แผนการสอน และสื่อวีดีทัศน์
             2.พัฒนาองค์ความรู้เป็นผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง
วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้
     ระยะที่ 1  เมษายน 2561
          1.บันทึกเหตุผลเสนอขออนุมัติโครงการพร้อมรายละเอียดประกอบงบประมาณ
          2.ถอดองค์ความรู้การเลี้ยงปลานิลจากหญ้าเนเปียและเรียบเรียงกระบวนการ จากปราชญ์ชุมชน   นายสมชาติ ตันกุนะ  บ้านเลขที่ 227  หมู่ที่ 8 ตำบลแม่ปั๋ง  อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 
          3.ทำการบันทึกถ่ายทำเป็นวีดีทัศน์  ตัดต่อ  ใส่เสียงประกอบและเอ็ฟเฟ็กต่างๆผลิตเป็นแผ่นซีดี
           4.จัดทำชุดการสอนและสื่อมอบให้ปราชญ์ชุมชนนำไปใช้เป็นวิทยากรเพื่อประโยชน์แก่ชุมชนต่อไป




     ระยะที่ 2 พฤษภาคม 2561
          1.นำผลองค์ความรู้มาทดลองปฏิบัติ และปรับใช้กับบ่อปลาในศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง      
  
ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
                  ๑)ได้รับความร่วมมือจากผู้บังคับบัญชาและทีมงานด้วยความกระตือรือร้น

                  ๒)ได้สูตรการทำอาหารปลานิลจากหญ้าเนเปีย ปากช่องหนึ่งและหญ้าฤาษีนั่งยอง
                  ๓) เป็นนวัตกรรมใหม่
เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
                       ๑) ทีมงานต้องได้รับข้อมูล  มีความต้องการและ มีเป้าหมายเดียวกัน
                       ๒) มีการพูดคุย ประสานนอกแบบ

              ข้อพึงระวัง 
                       ควรมีการคำนวณงบประมาณให้รอบคอบเพียงพอต่อการปฏิบัติจริง
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
                       ๑) ความรู้  ความเข้าใจและมีเป้าหมายเดียวกันของทีมงาน
                       ๒) มีงบประมาณเพียงพอในการปฏิบัติจริง
                       ๓) ได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วย
               ปัญหาและวิธีการแก้ไข

                        งบประมาณน้อย แก้ไขโดยการบันทึกขออนุมัติปรับเกลี่ยรายการวัสดุ
                        ในวงเงินงบประมาณเท่าที่มีอยู่อย่างจำกัด
ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น
                        ผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วย และทีมงานมีความเข้าใจ พร้อมใจกันดำเนินงาน
                        ได้นวัตกรรมอาหารปลานิลสูตรใหม่และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ผลดี


















เทคนิคการเก็บแสนได้ล้าน



ชื่อเจ้าของความรู้นางดวงธิดา  อำนาจผูก
หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้  หมวดเทคนิคการพัฒนาระบบบริหารจัดการ และเข้าถึงแหล่งทุนชุมชน
ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้ 
          ขึ้นชื่อว่าการเก็บเงิน ออมเงิน หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยาก เพราะแต่ละคนอาจจะมีวินัยทางการเงินไม่เหมือนกัน สำหรับตัวผู้เขียนเองชอบที่จะสะสมเงินไปพร้อม ๆ กับการเสี่ยงโชค แต่ด้วยที่เป็นคนไม่ชอบซื้อล๊อตเตอรี่ หรือหวยใต้ดิน เพราะถ้าซื้อแล้วไม่ถูกรางวัล ก็เป็นการสูญเงินเปล่า จึงเล็งไปที่สลากออมทรัพย์ ธกส.ที่มีการออกเลขรางวัลทุกวันที่ 16 ของเดือน และเงินที่เราซื้อสลากถ้าไม่ถูกก็ยังเป็นเงินสะสมของเราสามารถถอนคืนเมื่อครบกำหนดฝากเงิน พร้อมดอกเบี้ยเงินฝากและเรายังมีโอกาสเสี่ยงโชคได้ถึง 36 งวด (3 ปี) และการเพิ่มมูลค่าเงินแสนให้เป็นเงินล้านก็ด้วยวิธีการซื้อสลากออมทรัพย์ ธกส.นี่เอง



วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้ 
1.  เริ่มจากมีเงินทุนขั้นต่ำ 1 แสนบาท นำไปซื้อสลาก ธกส. แล้ว นำสลากที่มีอยู่ไปยื่นกู้ โดยใช้สลากค้ำประกัน จะได้ในวงเงิน 90 % ของสลาก คือได้เงินมา 90,000 บาท
          2. นำเงิน 90,000 บาทมาซื้อสลากถ้ามีเงินสด 10,000 บาท ก็ซื้อได้อีก 100,000 บาท เท่ากับว่าเรามีสิทธิ์ถูกรางวัลในวงเงิน 200,000 บาท
3. นำสลากทุก ๆ 100,000 บาท(หรือมากกว่านั้น) มาค้ำประกันเงินกู้ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการมีสลากในวงเงินเท่าไหร่  แต่ทุก 100,000 บาทจะมีสิทธิ์ถูกรางวัลอย่างน้อย ๆ เลขท้าย 3 ตัว ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสถูกรางวัลมากกว่าเลขท้ายมาแล้ว
4. การกู้เงินมาซื้อสลากจะมีดอกเบี้ยเงินกู้ แต่เราก็จะได้ดอกเบี้ยจากการฝากหรือการซื้อสลาก และมีโอกาสถูกรางวัล ก็ใช้ดอกเบี้ยที่เราได้รับมาชดเชยกับดอกเบี้ยที่เราจ่าย  และทุกเดือนเราสามารถเก็บเงินมาผ่อนใช้เงินกู้หรือชำระดอกเบี้ยได้ตลอดเวลา

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
ต้องตั้งเป้าหมายในการเก็บเงินว่าต้องการที่จะเก็บเงินโดยวิธีการซื้อสลากออมทรัพย์ในวงเงินเท่าไหร่และต้องมีเงินสำหรับสมทบอีกเท่าไหร่
ข้อพึงระวัง  ต้องมีวินัยทางการเงิน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
………ต้องมีวินัยในการเงิน และรักการออมเงิน  ลดการใช้จ่ายที่ไม่เกิดประโยชน์ สิ่งของฟุ่มเฟือยและต้องตั้งเป้าหมายที่จะเก็บเงินให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้..
ปัญหาและวิธีการแก้ไข  -
ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น
ทำให้สามารถเก็บสะสมเงินและมีโอกาสถูกรางวัล จากบัตรออมทรัพย์ ธกส.จากหลักแสนเป็นหลักล้าน

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการออกแบบการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม



1. ชื่อองค์ความรู้        เทคนิคการออกแบบการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม

2. ชื่อเจ้าของความรู้   นางอัญชลี ป่งแก้ว
                             นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ   
3. หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้   องค์ความรู้หมวดเทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง                                           
4. ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้
          ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางเป็นหน่วยฝึกอบรมของสถาบันการพัฒนาชุมชน และมักได้รับการร้องขอจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่  ให้สนับสนุนวิทยากรหรือออกแบบการเรียนรู้/การฝึกอบรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมโครงการนั้นๆ  การออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานเจ้าของโครงการกับบุคลากรของศูนย์ฯ และระหว่างบุคลากรของศูนย์เอง จึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการออกแบบ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามโครงการ
5. วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้
          1 เมื่อได้รับการประสานขอรับการสนับสนุนต้องศึกษารายละเอียดโครงการทั้งวัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับ รวมทั้งผลผลิตผลลัพธ์และตัวชี้วัดต่างๆ
          2 นัดหมายพูดคุยในรายละเอียดกับผู้ประสานงานเจ้าของโครงการในเบื้องต้น ทั้งเรื่องของวัตถุประสงค์กลุ่มเป้าหมายเวลาสถานที่วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
          3 ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง จากผลงานประสบการณ์ที่ผ่านมา จากอินเตอร์เน็ตคลิปวีดีโอสื่อต่างๆ และจากเครือข่ายผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ในพื้นที่
เครื่องมือวิเคราะห์สุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วม
วราลักษณ์ ไชยทัพ
ผาสุข แก้วเจริญตา
          4 ออกแบบการเรียนรู้แผนการสอนในเบื้องต้น
          5 ประชุมทีมงาน/ทีมวิทยากรในรายละเอียดและออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน
          6 แบ่งงานแบ่งวิชาให้ผู้รับผิดชอบไปออกแบบการเรียนรู้สื่อเทคนิคต่างๆ
          7 นำเสนอแผนการสอนและการออกแบบร่วมกัน เพื่อซักซ้อมขั้นตอนกระบวนการหรือทดลองใช้ เครื่องมือที่จะนำมาปรับใช้
          8 จัดทำเป็นสคลิปออกแบบ ให้เห็นภาพรวมในทุกขั้นตอนกระบวนการ
          9 ก่อนนำเสนอ/ประสานเจ้าของโครงการในการออกแบบแผนการสอนการเรียนรู้ให้เข้าใจร่วมกันก่อนวันดำเนินการ
          10 ดำเนินการตามแผนการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้
          11 สรุปบทเรียนเพื่อวางแผนปรับแก้ตามสถานการณ์นั้นๆ ในระหว่างการฝึกอบรม
          12 มีการประเมินผลโดยการสังเกตซักถามทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
6. ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
6.1 เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
ต้องชัดเจนในวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งผู้จัดทำโครงการและผู้ออกแบบการเรียนรู้
ใช้เครือข่ายที่ปรึกษาผู้มีประสบการณ์ในพื้นที่ตั้งข้อสังเกตให้คำแนะนำ
สื่อสารออกแบบการสอนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งเจ้าของโครงการและทีมบุคลากร/วิทยากรของศูนย์เพื่อเป็นการพัฒนาคนพัฒนางานร่วมกัน
ใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ที่เหมาะสมมากกว่าการบรรยายทำความเข้าใจ
ใช้เครื่องมือออกแบบกระบวนการให้กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฏิบัติและสรุปบทเรียนจากการปฏิบัติการเรียนรู้ในทุกกิจกรรม
ทีมวิทยากรทดลองใช้เครื่องมือเทคนิคต่างๆก่อนและเมื่อดำเนินการจะทำหน้าที่เพียงผู้เอื้ออำนวยเท่านั้น
การสื่อสารพูดคุยทั้งทีมศูนย์ฯและทีมเจ้าของโครงการจะทำให้กระบวนการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ดีที่สุด
6.2 ข้อพึงระวัง 
การเปลี่ยนตัวของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมต้องปรับวิธีการสื่อสารเทคนิคเครื่องมือให้เหมาะสม
เวลาที่จำกัดในการเตรียมทีมวิทยากร เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมายการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม
6.3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การสื่อสารร่วมกันระหว่างทีมศูนย์กับเจ้าของโครงการ
ประสบการณ์ความพร้อมของทีมวิทยากร
เทคนิคเครื่องมือกระบวนการเรียนรู้ที่ออกแบบได้อย่างเหมาะสม
เวลาที่เอื้อ
กลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อม
พื้นที่ศึกษาดูงาน สามารถสื่อสารถ่ายทอดแลกเปลี่ยนได้ดี
6.4 ปัญหาและวิธีการแก้ไข
กลุ่มเป้าหมายบางส่วนไม่ตรงตามโครงการทำให้ต้องปรับกระบวนการและรูปแบบการเรียนรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
เวลาเตรียมตัวซักซ้อมเครื่องมือของทีมวิทยากรน้อย ใช้วิธีถ่ายเอกสารคู่มือ ให้ศึกษาเพิ่มเติม
พื้นที่ศึกษาดูงานต้องใช้เวลาในการเดินทาง แก้ไขโดยประสานงานออกแบบร่วมกับพื้นที่ในการสื่อสารถ่ายทอดแลกเปลี่ยนในระยะเวลาที่เหมาะสม
6.5 ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น   
การออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเทคนิคเครื่องมือไปปรับใช้ได้จริง
เป็นการพัฒนาบุคลากร/วิทยากรศูนย์และวิทยากรชุมชน
พัฒนาการออกแบบการเรียนรู้เป็นหลักสูตรแผนการสอนของศูนย์ได้












วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการผลิตอาหารไก่แบบลดต้นทุน



ชื่อองค์ความรู้ : เทคนิคการผลิตอาหารไก่แบบลดต้นทุน
ชื่อเจ้าของความรู้ : นายวิศิษฎ์  บุญญาวิวัฒน์                                                                                                  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง
หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้ : หมวดเทคนิคการพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพ
ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้
          ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง มีภารกิจที่สำคัญคือ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลทั้งที่เป็นข้าราชการ และผู้นำชุมชน โดยได้ดำเนินการตามโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน  โดยได้ดำเนินการสร้างฐานเรียนรู้สัมมาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นที่ศึกษาเรียนรู้ ของเจ้าหน้าที่ภายในศูนย์ฯ และผู้นำชุมชน บุคลากรต่าง ๆ ที่มาเข้าฝึกอบรมภายในศูนย์ฯ โดยมีฐานการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ  และไก่ไข่  อยู่ภายในเล้าเดียวกัน ในการดำเนินงานมีปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายของอาหารไก่ ซึ่งมีราคาแพง  ต้องซื้อจากร้านค้า ไม่ได้ผลิตขึ้นเอง  มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอาหารสัปดาห์ละ 700 บาท (อย่างประหยัด)  โดยแยกเป็น ค่าหัวอาหารไก่ (สูตร 915 Betago) ถุงละ 30 กก. เป็นเงิน 400 บาท  ค่าแกลบอ่อน 50 กก. กระสอบละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 700 บาทต่อสัปดาห์  เดือนละ 2,800 บาท ปีละ 33,600 บาท  ซึ่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายประจำที่ทาง ศพช.ต้องจ่าย 
          ดังนั้น  เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนค่าอาหารไก่ จึงคิดค้นหาองค์ความรู้ที่จะลดต้นทุนค่าอาหารลง โดยได้ไปศึกษาดูงานถอดองค์ความรู้ “การทำอาหารปลานิลจากหญ้าเนเบียร์พันธ์ปากช่อง1 จาก วิทยากรปราชญ์สัมมาชีพ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และนำองค์ความรู้มาพัฒนาต่อยอดขึ้นเป็นการผลิตอาหารไก่จากหญ้าเนเบียร์พันธ์ปากช่อง 1 และต้นกล้วย เพื่อการเลี้ยงไก่ของ ศพช.ลำปางต่อไป


วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้

1. วัสดุส่วนผสม.....   หมักไว้ 15 วัน 
     1) หญ้าเนเบียร์พันธ์ปากช่อง 1    60 กก.  หั่นละเอียด
     2) ต้นกล้วย    40  กก.  หั่นละเอียด
     3) แกลบอ่อน   40 กก.                                                      
     4) หัวอาหารไก่    10 กก.
     5) น้ำหมักผลไม้ 4ชนิด ½ ลิตร 
          (ฟักทองนึ่ง , สัปปะรด มะละกอ  กล้วย)
2. วิธีการ
     นำหญ้าเนเบียร์พันธ์ปากช่อง 1 จำนวน 60 กก. เข้าเครื่องหั่นละเอียดจากนั้นนำต้นกล้วย  40  กก. เข้าเครื่องหั่นละเอียดเทผสมลงไป นำแกลบอ่อนเทผสมลงไป นำหัวอาหารไก่      (สูตร  915 Betago) ผสมลงไปนำน้ำหมักผลไม้ 4 ชนิดจำนวน  ½ ลิตร  ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน จาdนั้นนำบรรจุลงในกระสอบปุ๋ย เสร็จแล้วหมักไว้ระยะเวลา  15 วัน จึงนำมาใช้ได้

                                     ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้


 เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
      นำหญ้าเนเบียร์พันธ์ปากช่อง 1 และต้นกล้วยที่ไม่แก่จนเกินไปมาทำอาหารไก่ และควรปลูกหญ้าเนเบียร์พันธ์ปากช่อง1 ไว้เพื่อการผลิตเองเพื่อลดต้นทุนการผลิต
ข้อพึงระวัง 
      ควรหมักให้ได้อย่างน้อย 15 วัน เพื่อให้หญ้าและต้นกล้วยอ่อนนิ่ม จะทำให้กินได้ง่ายขึ้น
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
                 ความตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรของผู้เลี้ยงไก่รวมถึงมีพื้นที่เพียงพอสำหรับใช้ในการปลูกหญ้าเนเบียร์และต้นกล้วย
ปัญหาและวิธีการแก้ไข
                 ค่าอุปกรณ์เครื่องมือในการหั่นละเอียดหญ้าและต้นกล้วยมีราคาสูง  15,000-20,000 บาท ช่วงแรกใช้แรงงานคนไปพลางก่อน หรือหาเครื่องมือที่ใช้แล้วมีราคาถูก นำมาใช้ในระยะแรกไปก่อน
ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น
                 ผลลัพธ์จะได้ผลิตภัณฑ์อาหารไก่ที่มีโปรตีนสูง มีสารอาหารที่ได้จากต้นกล้วย จะทำให้ไก่มีความสุขคลายเครียด และเป็นการลดต้นทุนการเลี้ยงไก่ลงอย่างมาก