วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์สำนักงานให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ



เจ้าของความรู้ : นายธาดา  ธีระวาทิน  
          นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
         นักทรัพยากรบุคคลที่ประจำอยู่ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนแต่ละแห่งมีบทบาทหน้าที่ต้องรับผิดชอบหลายอย่าง  ทั้งงานการพัฒนาและจัดทำหลักสูตร  การบริหารโครงการฝึกอบรม  การเป็นวิทยากรกระบวนการ  การบริหารจัดการองค์ความรู้  และ ฯลฯ   ซึ่งแต่ละบทบาทหน้าที่มีความสำคัญด้วยกันทั้งนั้น   แต่การช่วยเหลือและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำนักงานก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน   โดยเฉพาะวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นอิเล็คทรอนิกส์ เช่น  คอมพิวเตอร์สำนักงาน   ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน  แต่ปัญหาในการใช้งานเกิดขึ้นเป็นประจำ  อาจจะเกิดจากการไม่เข้าใจในตัวระบบ  หรือการไม่เข้าใจในตัวอุปกรณ์  จึงขอนำเสนอ  "เทคนิคการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์สำนักงานให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ" 

      วิธีการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์สำนักงานให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีดังนี้
     - ด้านอุปกรณ์ (HARDWARE)


            1.  ศึกษาและทำความเข้าใจถึงหลักการระบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้นทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ (หาหนังสือหรือบทความทางอินเตอร์ได้  มีบทความย่อๆ มากมาย)
2.  ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์เป็นประจำทุกวัน (ฝุ่นละออง  ความสกปรก  และความร้อนเป็นปัญหาใหญ่ของคอมพิวเตอร์)  โดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำสบู่อ่อนๆ เช็คหน้าจอคอมพิวเตอร์  เคส  คียบอร์ด เมาส์ และเครื่องปริ๊นเตอร์
            3.พยายามเปิดเครื่องทุกวัน หมั่นสังเกตความผิดปกติ โดยเฉพาะเครื่องปริ๊นเตอร์  ควรจะเปิดและพิมพ์ทุกวันเพื่อให้กลไกได้ทำงาน
            4.เปิดเคสทำความสะอาดฝุ่นด้านใน สัก 3 เดือน / ครั้ง  เพราะฝุ่นละอองจะทำให้เกิดความร้อนและเกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์  โดยเตรียมยางลบไว้ทำความสะอาด RAM (หน่วยความจำ)  และเตรียมแปรง พร้อมผ้าสะอาดไว้เช็ดฝุ่นและความสกปรกที่เกิดขึ้น

- ด้านโปรแกรม (SOFTWARE)
            1. ควรใช้ระบบปฏิบัติการ Window ของแท้ 
            2.ถ้าใช้ระบบปฏิบัติการไม่ถูกลิขสิทธิ์  ควรหลีกเลี่ยงการอัพเดทซอฟท์แวร์ และอาจจะต้องมีการล้างเครื่อง และลงระบบปฏิบัติการบ่อยครั้งขึ้น




3.ควรลงตัวสแกนไวรัสติดเครื่องไว้ 1 ตัว (ไม่ควรลงเยอะ) มีของฟรีให้ดาวน์โหลดมาใช้ แต่อาจจะป้องกันได้ไม่ครอบคลุม (ดีกว่าไม่มี)
      4.ไม่ควรนำแฟลซไดร์ฟที่มีความเสี่ยงมาเสียบกับคอมพิวเตอร์  ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ส่งไฟล์ผ่านทางอีเมล์ หรือทางช่องทางการฝากไฟล์อื่นๆ (เพราะจะมีการสแกนลดความอันตรายให้เราได้ระดับหนึ่ง)
            5.ไม่ควรลงโปรแกรมที่มีความเสี่ยง (มาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ)
            6.ควรหลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซด์อันตราย เช่น เว็บลามกอนาจาร  ลิงค์ที่มีความเสี่ยงในเฟสบุ๊ค  ไลน์ และ ฯลฯ 

4.ไม่ควรนำแฟลซไดร์ฟที่มีความเสี่ยงมาเสียบกับคอมพิวเตอร์  ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ส่งไฟล์ผ่านทางอีเมล์ หรือทางช่องทางการฝากไฟล์อื่นๆ (เพราะจะมีการสแกนลดความอันตรายให้เราได้ระดับหนึ่ง)
            5.ไม่ควรลงโปรแกรมที่มีความเสี่ยง (มาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ)
            6.ควรหลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซด์อันตราย เช่น เว็บลามกอนาจาร  ลิงค์ที่มีความเสี่ยงในเฟสบุ๊ค  ไลน์ และ ฯลฯ
           ฝุ่นละออง  ความสกปรก  ความร้อน  เป็นปัจจัยหลักในการสร้างปัญหาด้านฮาร์ดแวร์ให้กับคอมพิวเตอร์  ส่วนไวรัส  สปาย์แวร์ มัลแวร์ เป็นสิ่งที่ทำให้ระบบปฏิบัติการ  โปรแกรมของเครื่องมีปัญหาได้  นอกจากการใช้เป็นประจำทุกวันแล้ว  ควรมีการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี  เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานพร้อมจะทำงานกับเราได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  แต่ถ้าเกิดสถานการณ์ที่นอกเหนือจากที่กล่าวมา  ควรมีช่างประจำที่เราสามารถโทรหรือติดต่อสื่อสารเพื่อถามข้อมูลและแก้ไขปัญหาได้ไว้บ้างก็ดีนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เริ่มต้นด้วยการออม.. บริหารค่าใช้จ่าย..สู่อนาคตที่สดใส..



เจ้าของความรู้    : นายรวยชัย   ศรีสวัสดิ์ 
                         นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
เป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนาเกี่ยวกับ   การบริหารค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของข้าราชการพัฒนาชุมชน
            ภาพการดำรงชีวิตประจำวันของข้าราชการพัฒนาชุมชน  ซึ่งในวงการบุคลทั่วไปจะเรียกพวกเราว่า“ นักพัฒนา”   ซึ่งจะมีบทบาทการทำงานกับผู้นำชุมชนเป็นส่วนใหญ่  ทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ชุมชนต่างๆก็จะรับรู้  และสัมผัสการดำรงชีพของประชาชน ผู้นำ และภาคีการพัฒนาต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร   หากนักพัฒนายังคงมีวิถีชีวิตเช่นเดิม  ไม่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสภาพเศรษฐกิจของโลกปัจจุบัน อนาคตความเป็นอยู่ของนักพัฒนาเช่นเราคงไม่เป็นไปอย่างไม่ราบรื่นแน่...
          คำคมต่างๆ ที่นักพัฒนาเคยแนะนำให้ผู้นำ ชุมชนต่างๆถือปฏิบัติดังเช่นคำว่า “  จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร ... จะพัฒนาใครต้องพัฒนาเราก่อน ” วันนี้กระผมจะขอแบ่งปัน
แนวทางการพัฒนาตัวเราโดยเฉพาะ   เรื่องบริหารเงิน  กระผมได้ฝากเงินออมทรัพย์ สอพช.ตั้งแต่เริ่มบรรจุราชการ ปี 2558   และมีการปรับเพิ่มเติมนอกเหนือที่กรมฯหักส่ง เพิ่มเติมเรื่อยๆ  ปัจจุบันคิดเป็น  14 ของเงินเดือนที่ได้รับ   โดยจะนำผลประโยชน์ที่ได้จากการปันผล  นำไปจ่ายรายการต่างๆ ที่มีประจำทุกปีของคนมีครอบครัวคือ  เปิดเทอมของลูกๆ   3 คน  (เดือนพฤษภาคม)  นอกจากนี้ก็ใช้บริการจาก สอพช.กรม นำไปลงทุนในการประกอบอาชีพเสริมต่างๆ (เพาะเห็ด,เลี้ยงไก่ชน ฯลฯ) ก็จะได้รายได้ผลประโยชน์นำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างพอเพียง  อีกทั้งอนาคตเงินออมก็จะเพิ่มพูนเป็นหลักประกันชีวิตหลังเกษียณอายุราชการ
            หลักคิดที่ทำให้ผมได้ใช้แนวทางนี้   ในการบริหารการเงินของครอบครัวคือ  จากการได้เห็นหยดน้ำจากก๊อกที่เสีย  ที่หยดลงถังน้ำเปล่าจนเต็มทุกวัน  (โรงเล้าไก่ชน)    เข้าใจถึงพลังของน้ำทีละหยดสามารถทำให้น้ำเต็มถังได้    จากปรัชญาที่เรียนรู้มา ทีว่า  “อยากรวย  จะต้องนำเงินที่ได้ไปลงทุนสร้างและมีรายได้หลายๆทาง  อาจจะต่อวัน  ต่อสัปดาห์ ต่อเดือน  ต่อปี ไม่เกี่ยวเนื่องกัน   และต้องรีบทำตั้งแต่อายุน้อยๆ   ข้อห้ามที่เน้นที่สุดคือ  หยุดล้างผลาญกับค่าใช้จ่ายไม่สมเหตุ สมผล ก็จะสามารถมีชีวิต ที่อยู่ได้อย่างมีความสุข
             จะเห็นได้ว่า การบริหารชีวิตตนเอง   ไม่มีหลักสูตรสอนในโรงเรียน  ในมหาวิทยาลัย  เรานักพัฒนาซึ่งทำงานกับผู้นำชุมชน  ประชาชน เพื่อสู่เป้าหมายที่เขาสามารถพึ่งตนเองได้  อยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน     กลับมามองตนเองบ้างว่าสิ่งที่เราอยากให้เขาเป็นและตัวเราทำได้หรือไม่? ดูแลสุขภาพตัวเองด้วยครับ 


                   ขุมความรู้ที่ได้
1.จะต้องเรียนรู้ และเข้าใจประโยชน์ที่ได้รับจากการออมเงิน  การเป็นสมาชิก สอ.พช.กรม
2.ต้องวางเป้าหมายการออมเงิน  เมื่อเกษียณอายุจะต้องการเงินเท่าไร? ( แสน/ล้าน)
3.จะต้องอดทน  อดทน เพิ่ม% เงินออมขึ้นทุกปี (ไม่น้อยกว่า 10 % ของรายได้)
4.วางแผนการใช้สวัสดิ์การ/การบริการต่างๆ เพื่อนำเงินไปลงทุน  หารายได้เสริม และวางแผนการใช้ประโยชน์จากเงินปันผล (เงินต่อปี)

                    แก่นความรู้ 
“ เรียนรู้  วางเป้าหมายการออมเงิน  อดทนเพิ่ม % เงินออม   ลงทุนหารายได้เสริม
  วางแผนการใช้ประโยชน์จากเงินปันผล  ”


เคล็ดลับการบริหารจัดการโครงการให้ประสบผลสำเร็จ...



เจ้าของความรู้ :  นายรวยชัย   ศรีสวัสดิ์  
                       นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ  
เป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนาเกี่ยวกับ  การดำเนินงานโครงการต่างๆของทุกภาคส่วน
              การดำเนินงานกิจกรรมโครงการต่างๆ  ผู้รับผิดชอบหรือผู้ที่เป็นเจ้าของเรื่อง กิจกรรม/โครงการจะเป็นผู้รับบทหนักที่สุดในทุกๆด้าน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ แต่หากมีการดำเนินตามแนวทางที่ผมได้รวมรวมจากประสบการณ์ทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการต่างๆ ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง    ท่านก็จะสามารถบริหารจัดการโครงการที่รับผิดชอบให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างราบรื่น  
*****เริ่มต้นจากเมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ    ผู้รับผิดชอบต้องเริ่มต้น ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
 1)วางแผนการดำเนินโครงการ  โดยสรุปภาพรวมกิจกรรม/รายละเอียดงานต่างๆที่จะต้องดำเนินการทั้งหมด  ออกมาในลักษณะ Action plan  (ขั้นเตรียมการ  ระหว่าง  หลังดำเนินงาน) หรือจะในรูป PERT (เพิร์ท) และ CPM (ซีพีเอ็ม) ซึ่งกำหนดรายละเอียดของกิจกรรมที่จะต้องทำทั้งหมด  ตั้งแต่เริ่มต้น – สิ้นสุด    ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้ที่รับผิดชอบจะต้องจัดทำเพื่อควบคุมในการบริหารงานโครงการ  
 2)ดำเนินตามแผนงาน  โดยเริ่มจากการแต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบดำเนินโครงการ  
 3) จัดประชุมพิจารณาวางแผน  ดำเนินงานโครงการร่วมกันของงานกิจกรรมของทุกฝ่าย  
 4) ช่วงเตรียมการ  ในช่วงนี้ต้องร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการติดตามอำนวยการ ให้มีการขับเคลื่อนเตรียมการของทุกงาน/กิจกรรม ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น  แก้ไขปัญหา /ข้อจำกัดอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้น  
 5)ประชุมติดตามตรวจสอบ ความพร้อมของกิจกรรม/งาน ของทุกส่วนก่อนเริ่มจริงไม่ต่ำกว่า 3 วัน  หากมีปัญหา/อุปสรรคก็จะได้แก้ไขได้ทัน   พร้อมจัดทำรายละเอียด,ลำดับขั้นตอนกิจกรรมที่จะทำเมื่อไร, กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน  มอบให้คณะทำงานทุกคน เพื่อทราบรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ เป็นไปตามแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้ ก่อนดำเนินการ 1 วัน ผู้รับผิดชอบต้องตรวจสอบความพร้อมทุกๆเรื่องเช่นด้านสถานที่ /อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ /กลุ่มเป้าหมายฯลฯ  หากมีปัญหาก็จะได้แก้ไขได้ทันก่อนวันเริ่มวันดำเนินการจริง
 6)ขั้นดำเนินกิจกรรมตามโครงการ    จัดให้มีการประเมินผลจากกลุ่มเป้าหมายทุกวันเพื่อทราบผลการบริหารจัดการโครงการและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นและจัดประชุมคณะทำงานทุกฝ่าย  ร่วมสรุปบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน (AAR) ทุกวันเพื่อทราบปัญหาและผลการดำเนินโครงการในแต่ละวัน  เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานในวันต่อไป
 7)ขั้นเสร็จสิ้นโครงการ  จัดให้มีการถอดบทเรียนการปฏิบัติงานโครงการเพื่อนำไปปรับปรุงงานต่อไป

                 จะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการโครงการไม่สามารถทำงานเพียงคนเดียวให้ประสบผลสำเร็จได้  จะต้องทำงานเป็นทีมเวิร์ค( Team Work ) หมายถึง การทำงานที่ร่วมใจกันทำเสมือนเป็นหนึ่งเดียวกัน องค์กรที่ประสบความสำเร็จคือ  องค์กรที่มีความเป็นทีมเวิร์กสูง สมาชิกในทีมแต่ละส่วนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพครับ   สวัสดี 

เทคนิคการเป็น Smart Trainer



เจ้าของความรู้  : นางวิภาดา วิบูลย์พันธ์ ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ ศพช.ลำปาง
สถานการณ์/ความเป็นมา
ปีงบประมาณ  ๒๕๕๘ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางได้กำหนดวิสัยทัศน์มุ่งสู่ ศูนย์ฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพSMART COLLEGE Phase ๒” 
มี ๓ มิติ ได้แก่ Smart Trainer   Smart Training
           และ Smart Service  
สถาบันการพัฒนาชุมชนกำหนดให้นักทรัพยากรบุคคลหรือบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่วิทยากร มีทักษะการเป็นวิทยากรอย่างมืออาชีพ มีความคิดสร้างสรรค์ ทัศนคติเชิงบวก บุคลิกภาพดี  สร้างนวัตกรรมการทำงาน วางตัวเหมาะสม พัฒนาตนเองให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ และต้องผ่านเกณฑ์ประเมินไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๖๐
ขั้นตอน/วิธีการทำงาน
               ๑. ศึกษาเกณฑ์ประเมินให้ชัดเจน
                ๒. ประสานงานกับสถาบันการพัฒนาชุมชนในรายละเอียดที่ไม่ชัดเจน
                ๓. กำหนดเป้าหมายและวางแผนพัฒนาตนเองและดำเนินการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยเข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใน ภายนอก องค์กร  ค้นคว้าหาความรู้/สื่อ หลากหลายช่องทาง เช่น ห้องสมุด   สื่อจาก YouTube  การจัดนิทรรศการมุมน่าสนใจต่างๆ
                ๔. ประเมินผลจากผู้เข้ารับการอบรม เพื่อนร่วมงาน  ผู้บังคับบัญชา
                ๕. รวบรวมเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบประเมิน เอกสารด้านวิชาการต่างๆ ได้แก่ แผนการสอน/เอกสารประกอบการอบรม/สรุปรายงานผลเสนอผู้บริหาร/เอกสารรายงานผลการดำเนินงาน
เทคนิค/กลเม็ดเคล็ดลับ
       ๑. เริ่มจากคาถา “คิดดี (ซ้ำๆ) ไม่น้อยกว่า ๒๑ ครั้ง พูดดี (ซ้ำๆ) ไม่น้อยกว่า ๒๑ ครั้ง ทำดี(ซ้ำ ๆ)ไม่น้อยกว่า ๒๑ ครั้ง” และสร้างแรงบันดาลใจ
                ๒. ฝึกฝนสมาธิ สร้างพลังจิต ขับเคลื่อนให้สำเร็จตามเป้าหมายและแผนฯ


ผลที่ได้จากการปฏิบัติ
๑. ผลการประเมินผ่านเกณฑ์ประเมินจากผู้เข้ารับการอบรม “หลักสูตรผู้นำการพัฒนา”ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด X = 4.62
๒. ผู้เข้ารับการอบรมมีความสุข สนุกสนานและมีความประทับใจสามารถปรับใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานได้

  ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
          อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ (ใจรัก เต็มใจทำ) วิริยะ (แข็งใจทำ) จิตตะ (ตั้งใจทำ) วิมังสา (ประเมินผล หาแนวทางปรับปรุงแก้ไข)   และการเปิดใจผู้เข้ารับการอบรม