วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการรับหนังสืองานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์






1. ชื่อองค์ความรู้ : เทคนิคการรับหนังสืองานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
2. ชื่อเจ้าของความรู้ : นางพรสวรรค์  คูสุวรรณ  เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
3. หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้ : หมวดเทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง
4. ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้
          กรมการพัฒนาชุมชน โดยสถาบันการพัฒนาชุมชน มีมาตรการการลดพลังงาน และลดกระดาษ และการประหยัดงบประมาณ  ตามมาตรการลดพลังงานฯ และเพื่อความรวดเร็วในการรับหนังสืองานสารบรรณโดยที่ไม่ต้องผ่านทางไปรษณีย์เพราะเกิดความล่าช้า โดยมีการรับหนังสืองานสารบรรณจากทางอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งของกรมการพัฒนาชุมชน และของจังหวัดลำปางขึ้น       


5. วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้ (อธิบายพอสังเขป)
          การรับหนังสือสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของจังหวัดลำปาง ให้เข้า www.lampang .go.th  จากนั้น  ให้เข้าระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้รหัสผ่านคือ  รหัสผู้ใช้งาน  lpa027  รหัสผ่าน logon  แล้วให้คลิ๊กเข้าสู่ระบบ จะปรากฏแฟ้มเอกสาร ให้คลิ๊กตรงแฟ้มเอกสาร จะปรากฎข้อมูลหนังสือที่ส่งถึงศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง จากหน่วยงานในจังหวัดลำปางขึ้น ให้คลิ๊กดูเหนังสือต่าง ๆที่ส่งถึงศูนย์ฯ โดยการเปิดไฟล์ของเอกสารต่าง ๆ นั้น และปริ้นออกมา หลังจากที่ปริ้นเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้วให้กดรับเอกสารเพื่อเป็นการยืนยันว่าศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางได้รับเอกสารจากหน่วยงานต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และดำเนินการประทับรับหนังสือนั้นเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาต่อไป


6. ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
6.1 เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
     เพื่อความรวดเร็วในการรับเอกสารและทันต่อเหตุการณ์เร่งด่วนในบางเรื่อง และเป็นการประหยัดงบประมาณในการรับหนังสือทางไปรษณีย์  
6.2 ข้อพึงระวัง (ถ้ามี)
       -
6.3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
      การรับเอกสารทางสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เป็นการรับเอกสารที่รวดเร็วและสืบค้นได้เมื่อเอกสารสูญหาย
6.4 ปัญหาและวิธีการแก้ไข
      จะไม่สามารถรับเอกสารได้เมื่อไฟฟ้าดับหรืออินเตอร์เน็ตไม่เสถียร
6.5 ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น
      ผลลัพธ์จะได้รับเอกสารที่รวดเร็วและนำเสนอให้ผู้บังคับบัญชาได้ทราบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป


วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคควรรู้การเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ




1.      ความรู้  ............เทคนิคควรรู้การเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ.............


2.      ชื่อเจ้าขององค์ความรู้..... นางบุษกร   หมอมูล....เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน...... 
3.      หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้  หมวดเทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง
4.      ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้
4.1   ที่มา  พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 /  ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 /  กฏกระทรวงตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560    
4.2   เป้าหมาย  ให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานจ้าง  มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่การเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ                 
5.       วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้ (อธิบายพอสังเขป)
5.1 ระเบียบฯ กำหนดให้ในงานซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ (ในที่นี้คือผู้อำนวยการศูนย์ฯ ผู้รับมอบอำนาจจากอธิบดีฯ) แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ฯ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
5.2 กฎกระทรวงฯ ข้อ 5 ระบุว่าในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยไม่เดิน 100,000 บาท จะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ตรวจรับพัสดุก็ได้ 
5.3  หน้าที่ของผู้ตรวจรับพัสดุ   ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุ/สถานที่ที่กำหนดในสัญญาหลักเกณฑ์การตรวจรับ  ตรวจให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่ตกลงในสัญญา  ระยะเวลาการตรวจรับ  ตรวจวันที่ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง/ตรวจให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด (ภายใน 5 วันทำการ)
5.4  กรณีตรวจรับถูกต้อง  รับพัสดุไว้ ถือว่าผู้ขาย ผู้รับจ้าง ส่งมอบถูกต้องครบถ้วน ณ วันที่นำพัสดุมาส่งมอบ และส่งมอบพัสดุให้เจ้าหน้าที่พัสดุ   ทำใบตรวจรับโดยลงชื่อเป็นหลักฐาน 2 ฉบับ ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ    รายงานผลให้หัวหน้าหน่วยงานผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบและสั่งการ
5.5  กรณีพัสดุที่ส่งมอบ ไม่ครบถ้วน/ไม่ถูกต้อง  รับเฉพาะพัสดุที่ถูกต้อง  มอบให้เจ้าหน้าที่พัสดุ  /ทำใบตรวจรับ 2 ฉบับ ส่งผู้ขายและเจ้าหน้าที่พัสดุ/ รีบรายงานหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อแจ้งผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ทราบภายใน  3  วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ / สงวนสิทธิ์ปรับ (ส่วนที่ไม่ถูกต้อง) 
5.6  กรณีกรรมการตรวจรับบางคน/ผู้ตรวจรับพัสดุ ไม่ยอมรับพัสดุ  ให้ทำความเห็นแย้งไว้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อสั่งการ  ถ้า หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ สั่งการให้รับพัสดุไว้ ให้ดำเนินการออกใบตรวจรับให้ผู้ขาย ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ 
      6.  ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
6.1 เทคนิคและแนวทางในการทำงาน  ศึกษา  พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ 
ภาครัฐ พ.ศ.2560 /  ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ.2560 / กฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ.2560 / หนังสือเวียนคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร
พัสดุภาครัฐ

6.2 ข้อพึงระวัง  ต้องศึกษา  ตีความ พรบ. กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อสั่งการ หนังสือเวียนให้ถูกต้อง
6.3  ปัจจัยแห่งความสำเร็จ  ปรึกษาผู้รู้  เช่น คลังจังหวัด  กองคลัง กรมฯ  
6.4 ปัญหาและวิธีการแก้ไข  ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ ยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่  แก้ไข   
      โดยการจัดทำบันทึกองค์ความรู้แบบเฉพาะเจาะจงเกี่ยวข้องกับปัญหาโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการ 
      ปฏิบัติจริง
6.5 ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น  สามารถให้ผู้ได้รับการแต่งตั้ง มีความรู้ ความ
      เข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ผู้ตรวจรับพัสดุมากขึ้น 


เทคนิคการตรวจเช็ครถยนต์ราชการให้พร้อมใช้งานประจำวัน




เรื่อง เทคนิคการตรวจเช็ครถยนต์ราชการให้พร้อมใช้งานประจำวัน
เจ้าขององค์ความรู้ : นายชาญณรงค์ จิรขจรกุล
หมวดองค์ความรู้ : เทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง

ที่มาและเป้าหมาย :
สืบเนื่องมาจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง สังกัดสถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน  กระทรวงมหาดไทย มีรถยนต์ราชการใช้เพื่อการราชการจากเดิมจำนวน 5 คัน ซึ่งปัจจุบันได้เพิ่มจำนวนเป็น 7 คัน ดังนั้นกระผม นายชาญณรงค์ จิรขจรกุล พนักงานขับรถยนต์ ผู้รับผิดชอบดูแลและขับรถยนต์ราชการ เพื่อติดต่อกับหน่วยงานต่างๆหรือนำส่งเอกสาร แต่ในบางครั้งก็มีการขออนุญาตใช้รถยนต์ราชการ เพื่องานราชการของเจ้าหน้าที่ข้าราชการ จึงมีวิธีปฏิบัติในการตรวจเช็ครถยนต์ราชการให้พร้อมใช้งานประจำวันเพื่อดูแลรักษารถยนต์ราชการ
           วิธีการ/ขั้นตอน : การตรวจเช็ครถยนต์ราชการให้                พร้อมใช้งานประจำวัน
        1.      ทำความสะอาดกระจกและตัวถังรถยนต์ โดยการปัดฝุ่น             และเศษทรายที่ติดกับตัวรถให้ทั่ว
        2.     นำผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆเช็ดทำความสะอาดให้ทั่ว โดยเริ่ม            จากการเช็ดกระจกก่อนจะเช็ดตัวถังรถยนต์
        3.     เช็ดและทำความสะอาดล้อและยางรถยนต์
        4.     ตรวจเช็คความเรียบร้อยภายนอก
        5.     เช็ดทำความสะอาดห้องโดยสารภายใน
        6.     ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆโดยใช้แบบฟอร์ม
                “แบบรายการตรวจสภาพรถก่อนใช้งานประจำวัน
          7.     หากตรวจพบปัญหาให้รีบดำเนินการแก้ไข
ผลลัพธ์ที่ได้ :
        6.1 เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
·         แยกผ้าที่ใช้สำหรับทำความสะอาด 4 ผืน คือ 1.ผ้าสำหรับกระจก 2.ผ้าสำหรับตัวถัง 3.ผ้าสำหรับล้อและยาง 4.ผ้าสำหรับห้องโดยสารภายใน
·         ควรเปลี่ยนน้ำในถังล้างบ่อยครั้งเมื่อสังเกตว่าน้ำสกปรก
·         ตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอโดยใช้แบบฟอร์ม “แบบรายการตรวจสอบสภาพรถก่อนใช้งานรายวัน
·         เช็ดทำความสะอาดกระจกรถยนต์ก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเปื้อนคราบต่างๆบนกระจกรถ
6.2 ข้อพึงระวัง
·         ไม่ควรใช้ผ้าผืนเดียวกันในการเช็ดทำความสะอาด เพราะอาจทำให้กระจกรถและตัวถังเปื้อนคราบต่างๆได้ โดยเฉพาะคราบจากยางมะตอย ที่เช็ดทำความสะอาดได้ยาก
·         หากพบข้อบกพร่องหรือปัญหาให้รีบแก้ไขโดยทันที
·         ไม่ควรแก้ไขปัญหาเอง ในปัญหาที่ตนเองไม่รู้หรือไม่ชำนาญ
6.3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
·         อุปกรณ์ในการเช็คทำความสะอาดมีพร้อมใช้งาน เช่น ถังใส่น้ำ , ผ้าเช็ดทำความสะอาด ,
ไม้ปัดฝุ่น , อุปกรณ์ตรวจเช็คลมยาง ฯลฯ
·         แบบรายการตรวจสภาพรถก่อนใช้งานรายวัน
·         เมื่อพบปัญหาจุดบกพร่องของรถยนต์ได้ทำการแก้ไขทันทีหรือแจ้งซ่อมแซมทันที
·         การตรวจเช็ครถยนต์ราชการในทุกๆวัน
6.4 ปัญหาและวิธีการแก้ไข
·         ในการตรวจสอบความเรียบร้อยของตัวถังรถยนต์พบว่าอาจมีคราบของยางมะตอยเปอะเปื้อนอยู่ จึงต้องจัดหาน้ำยาขจัดคราบยางมะตอย เพื่อจะได้เช็ดทำความสะอาดก่อนคราบจะติดฝังแน่น
·         ปัญหาที่เกินกำลังแก้ไขต้องสอบถามผู้รู้หรือผู้ชำนาญมาแก้ไข ครั้งหนึ่งพบกรณีรถยนต์สตาร์ทไม่ติดทั้งที่แบตเตอร์รี่ยังมีสภาพใช้งานได้ดี ก็ต้องสอบถามผู้มีประสบการณ์และหาทางแก้ไขพบว่าเกี่ยวกับการจุดสตาร์ทรถยนต์จึงต้องทำการส่งซ่อมแซม แต่ในบางครั้งพบเจอปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้เองและไม่มีผู้ทราบสาเหตุจึงต้องทำบันทึกข้อความแจ้งซ่อมแซมทันที
6.5 ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและพัฒนา
·         เมื่อเช็ดคราบยางมะตอยแล้วสภาพรถยนต์ก็จะดูสะอาดตาน่าใช้และหากพบเห็นคราบยางมะตอยในครั้งต่อไป ก็จะสามารถนำน้ำยาทำความสะอาดยางมะตอยมาใช้ได้ทันที
·         เมื่อเราตรวจสอบเช็คความพร้อมรถยนต์ราชการในทุกๆวันและแก้ไขปัญหาได้แล้วนั้น รถยนต์ราชการก็ดูสะอาด น่าใช้งาน และพร้อมสำหรับการใช้งานแระจำวัน

เทคนิคการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping)




เจ้าขององค์ความรู้      นางสาววชิรญาณ์ แย้มเยื้อน


ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคล  ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง

ความเป็นมาและสถานการณ์       
            Mind Mapping  เป็นเครื่องมือหนึ่งในการถอดบทเรียนของตนเองเเละผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นความคิดเเละการจดจำในการเรียนรู้ ให้เป็นความรู้ที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น พัฒนาสมองส่วนตรรกะเเละส่วนจินตนาการ (สมองทั้ง ๒ ซีก) ไปพร้อมๆกัน สมองเกิดกระบวนการ Reflection สะท้อนผลการเรียนรู้ของตนเองด้วยตนเอง ทั้งยังช่วยฝึกตรรกวิทยาในการมองหลายอย่างให้เชื่อมโยงหรือ   เเยกส่วนหรือเส้นขนานหรือผสมผสานกัน ฝึกทักษะทางการคิด ได้แก่ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้ดีเยี่ยม ซึ่งหลักในการเขียน Mind Mapping ต้องเข้าใจรูปแบบวิธีการ ดังนี้ 
วิธีการ/ขั้นตอนการปฏิบัติ
ตัวอักษร ศิลปะ เเละข้อความ

ตัวอักษร กำหนดขนาดตามลำดับความสำคัญ หากหัวข้อก็ตัวใหญ่เเละรายละเอียดก็ตัวเล็กลง เเต่รายละเอียดก็ตัวใหญ่กว่าหัวข้อได้
ศิลปะ ใช้ตัวอักษรศิลป์ที่สวยงาม น่าสนใจ โดยใช้สีสันเพื่อความเข้าใจและการจดจำ จัดองค์ประกอบศิลป์เพื่อความสวยงาม เเละการจัดวางที่น่าอ่านทบทวน
ข้อความ สรุปประเด็นให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องอะไร เเละเป็นอย่างไร ใช้คำสั้นๆเข้าใจง่าย ไม่ควรใช้คำที่ยาวเเละเข้าใจยาก


 ตรรกวิทยาเเละความคิดสร้างสรรค์ 

ตรรกวิทยา ลำดับความสำคัญ ได้แก่ หัวข้อหลัก ประเด็น เหตุผลมาสนับสนุน เเละ หลักฐาน ใช้ความเชื่อมโยงไปสู่กันเเละกัน คำนึงถึงความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันเเละกัน หากไม่เชื่อมโยงกันให้เเยกส่วนกัน ความคิดสร้างสรรค์ รากไม้มีไม่จำกัด จะลากเท่าไหร่ก็ได้เเล้วเเต่เหตุผล


 รูปแบบที่หลากหลาย
  
ควรประเมินว่าเนื้อหาที่จะบันทึกสอดคล้องกับแบบใด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด สามารถผสมผสานกันได้ตามความเหมาะสม โดยมีรูปแบบต่างๆ ดังนี้
       - แบบรากไม้ เน้นการเชื่อมโยงเป็นสำคัญ
       - แบบ Concept map คือ การใช้รูปทรงเป็นทางการ วิชาการ เช่น ตาราง สี่เหลี่ยม เป็นต้น
       - แบบ Flow chart คือ เขียนรูปทรงเเล้ว ใช้ลูกศร เน้นแผนผังกระบวนทัศน์
       - แบบ Timeline คือ เน้นมิติเวลาเเละเหตุการณ์

           
              นอกกรอบที่ควรรู้
             
              การเขียนที่ดี ไม่ควรตีกรอบ ให้อิสระเพื่อให้การเขียนออกมาตามความคิดและความเข้าใจ
                 1.ควรเขียน mind mapping ในรูปแบบตนเอง
                 2.ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกันได้ด้วยเหตุผล เเละเชื่อมโยงกันไม่ได้ด้วยเหตุผล
                 3.ทุกรูปแบบการเขียนควรผสมผสาน เพราะรูปแบบเดียวอาจไม่สามารถเขียนสรุปเพื่อความเข้าใจได้

ของไร้ค่า มีราคา ใช้เพียงคิด




1. ชื่อองค์ความรู้ ของไร้ค่า มีราคา ใช้เพียงคิด
2. ชื่อเจ้าของความรู้ นายเกรียงไกร สิงห์แก้ว นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
3. หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้  องค์ความรู้หมวดเทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
4. ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้
            จากการที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ เป็นเวลา ๕๐ ปี จึงมีทรัพยากร วัสดุ ครุภัณฑ์จำนวนมาก บางอย่างใช้ได้ บางอย่างใช้ไม่ได้ บางอย่างชำรุด ต้องจำหน่ายออกไปไม่มีราคา หรือได้ราคาที่ต่ำมาก
              ข้าพเจ้าจึงได้สำรวจวัสดุที่ชำรุดไม่สามารถใช้การได้อีก ว่าจะสามารถนำมาดัดแปลงให้เป็นของมีประโยชน์สำหรับศูนย์ฯ ให้ใช้งบปรุงปรุงน้อยที่สุด สามารถใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าและยาวนาน
5. วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้ (อธิบายพอสังเขป)
     -สำรวจวัสดุ ครุภัณฑ์ที่ชำรุดแต่มีสภาพโครงสร้างที่แข็งแรง คงทน เช่นโต๊ะ เก้าอี้โครงเหล็กที่ไม่ผุและเป็นสนิม
     -สำรวจสิ่งที่จำเป็นสำหรับให้บริการ ที่ยังไม่มี ไม่สามารถจัดซื้อได้ เช่นที่จอดรถจักรยาน ป้ายไฟฟ้าแสงสว่างกลางแจ้งเคลื่อนย้ายได้ เป็นต้น
     -แจ้งงานอำนวยการของใช้ครุภัณฑ์ที่ชำรุด และขอรับการสนุบสนุนวัสดุเพื่อใช้ ในการปรับปรุง เช่นน๊อต ปูนซีเมนต์ หิน ทราย พร้อมแรงงานจากเจ้าหน้าที่จ้างรายเดือน เพื่อช่วยปรับปรุงดังกล่าว
     -ดำเนินการปรับปรุงตามแปลนที่ได้วางไว้ ทดสอบการใช้งาน นำไปติดตั้งในจุดที่ต้องการ
6. ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
6.1 ได้ครุภัณฑ์ใหม่มาใช้ตามที่ศูนย์ฯต้องการ
6.2 ข้อพึงระวัง (ถ้ามี)ต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่าคุ้มค่า สามารถใช้งานได้จริง และมอบให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบและดูแลรักษาต่อไป
6.3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและมีความสามารถ มองงานที่จะปรับปรุงได้ตรงกัน
6.4 ปัญหาและวิธีการแก้ไข ไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลบำรุงรักษาต่อ

6.5 ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น
-มีที่จอดจักรยานที่เป็นระเบียบสวยงาม และติดตั้งที่ล๊อครถได้
-มีไฟฟ้าแสงสว่างเคลื่อนที่สำหรับใช้ในงานกลางคืนและให้แสงสว่างในการออกกำลังกายของกลุ่ม องค์กร ภาคี เครืองข่ายที่มาประชุมใน ศพช.ลำปาง

เทคนิคการสร้างภาพลักษณ์องค์กรและการประชาสัมพันธ์ผ่านหน้า เฟสบุ๊คแฟนเพจของศูนย์









     
     เทคนิคการสร้างภาพลักษณ์องกรและการประชาสัมพันธ์ผ่านหน้า            เฟสบุ๊คแฟนเพจของศูนย์

1. ชื่อองค์ความรู้         เทคนิคการสร้างภาพลักษณ์องค์กรและประชาสัมพัฒนธ์ผ่านหน้าเฟสบุ๊คแฟนเพจของศูนย์
2. ชื่อเจ้าของความรู้       ว่าที่ ร.ต.ชัยณรงค์  บัวคำ  นักทรัพยากรบุคคล
       3. หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้ องค์ความรู้หมวดเทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง                          4.ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้

          เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรที่ดี เนื่องจากในปัจจุบัน องค์กรหรือหน่วยงาน ต่างเสาะแสวงหาเทคโนโลยี กลยุทธ์ เพื่อช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วและมีคุณภาพสูง เพื่อให้องค์กรดำเนินงาน ให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หลายหน่วยงานได้นำนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในหน่วยงาน รวมทั้งมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวทันต่อโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ สามารถตอบสนองวิถีการดำเนินชีวิต และความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้มาใช้บริการ ทั้งยังมีการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ ที่จะสามารถดึงดูดผู้ใช้บริการให้หันมาเลือกใช้บริการกับองค์กร รวมถึงการบริการที่เหนือความคาดหวัง เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่มีความต้องการอย่างยิ่ง รวมถึงการสร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภคจดจำ และกลับมาใช้บริการในครั้งต่อไป นับเป็นอีกวิธีการที่หน่วยงาน นำมาปรับใช้ในการดำเนินงาน
5. วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้ (อธิบายพอสังเขป)
- สร้างเฟสบุ๊คแฟนเพจของหน่วยงาน
- สร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ กระชับ ชวนให้ติดตาม
- ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดช่วง
- มีกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือตอบคำถามชิงรางวัล
6. ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้

6.1 เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
การประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ติดตามหรือผู้ใช้บริการ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแสดงความรู้สึกต่างๆ เพื่อให้ทางศูนย์ฯ สามารถนำความคิดเห็นเหล่านั้นไปแก้ไขในการดำเนินงานได้อย่างตรงจุด ทำให้เกิดความพึงพอใจกับผู้มาใช้บริการ
6.2 ข้อพึงระวัง (ถ้ามี)
          ความประชาสัมพันธ์ให้ต่อเนื่อง ไม่ขาดช่วง และควรสร้างเนื้อหาที่น่าติดตาม และตรงกับความสนใจของผู้ติดตามหรือผู้ใช้บริการ
6.3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
          การประชาสัมพันธ์ของคนในองค์กร และการสร้างเนื้อหาที่น่าติดตามตรงกับความต้องการของผู้ติดตามหรือผู้ใช้บริการ         
6.4 ปัญหาและวิธีการแก้ไข
          บางพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ทำให้การประชาสัมพันธ์ไม่ต่อเนื่อง และในบางครั้งต้องใช้สัญญาณอินเตอร์จากโทรศัพท์ส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่  
6.5 ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น
          ทำให้การประชาสัมพันธ์มีความต่อเนื่อง ทันต่อเหตุการณ์ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร เชิญชวนให้ผู้สนใจ เข้ามาใช้บริการและมีการกดถูกใจ ติดตามแฟนเพจศูนย์ฯ เยอะยิ่งขึ้น