วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ค่าว..พระคุณพ่อ..(ผู้นำชุมชน..เย็น ปันก้อนแก้ว)


พระคุณของพ่อ...
ค่าวของ...พ่อหน้อยเย็น ปันก้อนแก้ว 279 หมืที่ 6 บ้านศรีโพธิ์ทอง ต.ศรีโพธิ์เงิน อ.ป่าแดด จ.เชียงราย

พระคุณป้อนั้น มีนักเหลือหลาย ยากจะบรรยาย หื้อเสี้ยงหมดเจ้า...
ขอหื้อทุกคนตี้เป๋นลูก กึ๊ดถึงป้อเฮาหื้อนัก..
ตอบแทนบุญคุณ ตอบแทนความฮักตี้ป้อก่อเกื้อเฮามา..
ตี้อยู่ไกล๋ หมั่นไปแอ่วหา ยามพ่อชรา ต้องคอยผ่อเฝ้า
ดูแลก๋านกิ๋น ก๋านอยู่คนเฒ่า เหมือนเปิ้นเลี้ยงเฮามา
ก่อนนั้นเปิ้นเจ็บแข้งขา อาสาบีบกั้น..ถามเจ็บไหนฮั้น..ตั๊ดใด..
แสดงความฮัก เป๋นกำลังใจ๋ หมั่นไปเยี่ยมใจ๋ เปิ้นเหี๋ยซักหน้อย
อย่าละเปิ้นหมอง เหงาหงอยเศร้าสร้อย ตั้งต๋ารอคอย..ใคร่ป๊บ..

วันที่ 5 ธันวา..เวียนมาครอบครบ อย่าหลบหนีหน้าเน่อนาย
เพราะว่าวันนี้ มันมีความหมาย..ชายญิงจ๋ำไว้ตวย
ยกหื้อเป๋นวันพ่อบังเกิดเกล้า ของชาวไทยนี้แล..
ลูกอยู่ใกล้ไกล๋ โปรดได้ไปแวะแอ่วหาป้อเจ้าซักวัน
ไปกราบนบน้อม พร้อมนำของขวัญไปมอบ กำนันหื้อกับป้อเจ้า
กตัญญุต๋าผู้บังเกิดเกล้า เป๋นมงคลเฮายิ่งนัก

ร้อยคำอวยพร บ่เต้าหนึ่งวรรค..ของคำป้ออู้อวยชัย
เพราะพรพ่อนั้น กลั่นจากดวงใจ๋...ฮู้สึกจาใดจะว่าอย่างอั้น..
ร้อยฮักจากไผ๋..ไหนจะเตี้ยงหมั้น เต้าดวงชีวันป้อฮัก..
จะกี่สิบปี๋ บ่มีแปรพักตร์..ยังฮักลูกเต้า..บ่อคลาย..
ถึงลูกจะฮ้าย..เลวทรามเสียหาย บ่คิดทำลาย หื้อได้หมองเศร้า
ป้อแม่คือพรหมพระของลูกเต้า จริงใจ๋ต่อเฮาเป๋นนิตย์
ค่าวล้านนา..ตั๋วข้าแต่งคิด แม้ผิดมากถ้อยกำใด เต้านี้สู่กั๋นฟังก่อนแหละนายเฮย....

บันทึก...เสาร์ 18 ธ.ค.2553 ..ช่วงฝึกปฏิบัติ..ฝึกพูดในวิชาเสริมสร้างบุคลิกภาพผู้นำชุมชน ตำบลศรีโพธิ์เงิน (17-19 ธ.ค.2553 )

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความเชื่ออันงมงาย..( พระอาจารย์พรหม วังโส )

                   หลายศตวรรษมาแล้ว.. พระราชาองค์หนึ่งประสบปัญหาเรื่องเสนาบดี ที่ชอบเถียงกันมากเสียจนไม่สามารถหาข้อสรุปอะไรได้เลย พวกเขายึดถือธรรมเนียมการเมืองเก่าแก่ดั้งเดิมที่สุดที่แต่ละคนจะยืนยันว่า เขาเท่านั้นที่ถูก ขณะที่คนอื่นๆ ผิดหมด อย่างไรก็ตาม เมื่อพระราชาผู้เจ้าความคิดจัดงานเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษขึ้น เสนาบดีทุกคนก็พร้อมใจกันหยุดงานเพื่อไปร่วมงานฉลองนั้น
                   งานเฉลิมฉลองนี้จัดขึ้นอย่างน่าตื่นตาตื่นใจในสนามกีฬาใหญ่ มีทั้งการร้องรำทำเพลง เต้นระบำรำฟ้อน กายกรรม ตัวตลก ดนตรีและอื่นๆ อีกมากมาย ในฉากสุดท้าย ต่อหน้าฝูงชนจำนวนมาก และแน่นอนว่าบรรดาเสนาบดีทั้งหลายย่อมจับจองที่นั่งที่ดีที่สุด องค์พระราชาเองพาช้างหลวงเข้ามาตรงกลางสนาม ตามมาด้วยชายตาบอดเจ็ดคน ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วเมืองว่า ตาบอดมาแต่กำเนิด และไม่รู้ว่าช้างคืออะไร
                    พระราชาจับมือชายตาบอดคนแรก ช่วยให้เขาสัมผัสงวงช้างและบอกเขาว่านี่คือช้าง แล้วพระองค์ก็ทรงช่วยชายคนที่สองให้ได้สัมผัสงาช้าง คนที่สามสัมผัสที่หู คนที่สี่สัมผัสที่หัว คนที่ห้าสัมผัสที่ตัว คนที่หกสัมผัสขาและคนที่เจ็ดสัมผัสหาง โดยบอกทุกคนว่านี่คือช้าง หลังจากนั้นพระองค์ก็กลับมาที่ชายตาบอดคนแรก และขอให้เขาเล่าดังๆ ว่าช้างคืออะไร







“เหลวไหล! มันเป็นงู” “ไม่ใช่! มันเป็นตุ่ม” “ไม่มีทาง! มันเป็น ....” แล้วบรรดาชายตาบอดเหล่านั้นก็เริ่มต้นถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน จนกลายเป็นการตะโกนแผดเสียงที่ทั้งดังและไม่จบสิ้น  เขาพ่นคำสบประมาทต่างๆ ใส่กันเท่านั้นยังไม่พอ ยังแถมรัวกำปั้นใส่กันอีกด้วย...

แม้ว่าชายตาบอดเหล่านั้นจะไม่ค่อยแน่ใจนักว่าเขากำลังต่อยใครอยู่ แต่มันก็ไม่สำคัญหรอก ในสภาวะการทะเลาะเบาะแว้งอย่างดุเดือดนั้น เขากำลังต่อสู้เพื่อหลักการ เพื่อความถูกต้อง และเพื่อบูชาความจริง... เพียงแต่ว่ามันเป็นความจริงของแต่ละบุคคลเท่านั้น ...

ขณะที่ทหารของพระราชากำลังแยกผู้วิวาทตาบอดที่ฟกช้ำดำเขียวไปหมดออกจากกัน ฝูงชนที่อยู่ในสนามกีฬาต่างพากันหัวเราะเยาะบรรดาเสนาบดีซึ่งบัดนี้เงียบกริบและมีสีหน้าอับอาย ทุกคนในที่นั้นเข้าใจเป็นอย่างดีว่า พระราชาต้องการที่จะสอนบทเรียนอะไร (หมายเหตุ นิทานเรื่องนี้มีเค้าโคลงเรื่องมาจาก ขุทกนิกายอุทาน และ ขุทกนิกายชาดก)

          พวกเราแต่ละคนอาจจะรู้แต่เพียงบางส่วนของเรื่องทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นเรื่องจริง หากเรายึดมั่นถือมั่นในความรู้อันจำกัดของเราว่าเป็นความจริงอันสมบูรณ์ เราก็จะเหมือนกับชายตาบอดที่ได้สัมผัสแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของช้าง แล้วด่วนสรุปว่า ประสบการณ์เพียงแค่เศษเสี้ยวของเขานั้น เป็นความจริงอันสมบูรณ์ ส่วนคนอื่นๆ นอกจากเขาแล้วล้วนผิดหมด

 “ช้าง” คืออะไรบางอย่างที่มีลักษณะเหมือนหินก้อนใหญ่ ตั้งอยู่บนลำต้นไม้ที่มั่นคงและแข็งแรงสี่ต้น มีแส้ปัดแมลงอยู่ที่ด้านหลัง ส่วนด้านหน้าเป็นเหมือนตุ่มน้ำขนาดใหญ่ ที่ด้านข้างทั้งสองมีพัดใบตาล มีคันไถอยู่สองด้ามชี้ลงเบื้องล่าง และมีงูหลามตัวยาวอยู่ตรงกลาง! นับได้ว่าเป็นการบรรยายถึงช้างสักตัวที่ไม่เลวนักสำหรับผู้ที่ยังไง ๆ ก็จะไม่มีโอกาสได้เห็นช้างตัวจริง...
(....ได้ใช้เล่าประกอบการอบรมผู้นำชุมชนของศูนย์ฯลำปาง..เพื่อทำความเข้าใจเรื่องกรอบคิด/กระบวนทัศน์/วิธีคิด...ที่แตกต่างกัน...)

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กระบวนการทางปัญญา( ศ.นพ.ประเวศ วะสี )

เพื่อค้นพบทางแห่งปัญญา...นพ.ประเวศ วะสี แนะนำให้เราฝึกฝนอยู่ 10 ข้อค่ะ..
1.ฝึกสังเกต..สังเกตในสิ่งที่เราเห็น หรือสิ่งแวดล้อม..การสังเกตจะทำให้เกิดปัญญามาก โลกทรรศ์และวิธีคิด.. สติ.. สมาธิ..จะเข้าไปมีผลต่อการสังเกตและสิ่งที่สังเกต
2.ฝึกบันทึก..เมื่อสังเกตอะไรแล้วควรฝึกบันทึก..โดยจะวาดรูปหรือบันทึกข้อความ..ถ่ายภาพ..ถ่ายวีดีโอ..การบันทึกเป็นการพัฒนาปัญญา..
3.ฝึกการนำเสนอ..ต่อที่ประชุมกลุ่ม..เมื่อมีการทำงานกลุ่ม เราไปเรียนรู้อะไรมา บันทึกอะไรมา จะนำเสนอให้เพื่อนๆรู้เรื่องได้อย่างไร...ก็ต้องฝึกการนำเสนอ การนำเสนอได้ดีจึงเป็นการพัฒนาปัญญา ทั้งของผูนำเสนอและของกลุ่ม
4.ฝึกการฟัง..ถ้ารู้จักฟังคนอื่น จะทำให้ฉลาดขึ้น..คนโบราณเรียกว่าเป็น"พหูสูตร" บางคนไม่ได้ยินคนอื่นพูด เพราะหมกมุ่นอยู่ในความคิดของตัวเอง..ฉันทะ..สติ..สมาธิ..จะช่วยให้ฟังได้ดีขึ้น..
5.ฝึกปุจฉา-วิสัชนา..ฝึกถาม-ตอบ..เป็นการฝึกการใช้เหตุผล..วิเคราะห์..สังเคราะห์..ทำให้เกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องนั้นๆ..
6.ฝึกตั้งสมมุติฐานและตั้งคำถาม..เมื่อเรียนรู้อะไรไปแล้ว เราต้องสามารถตั้งคำถามได้ว่า สิ่งนั้นคืออะไร..เกิดจากอะไร..อะไรมีประโยชน์..ทำอย่างไรจะสำเร็จประโยชน์..และช่วยกันคิดคำถามที่มีคุณค่า มีความสำคัญ..ก็จะอยากได้คำตอบ..
7.ฝึกการค้นหาคำตอบ..เมื่อมีคำถาม ก็ควรไปค้นหาคำตอบจากหนังสือ จากตำรา จากอินเตอร์เน็ต..หรือไปคุยกับคนเฒ่าคนแก่..การค้นหาคำตอบต่อคำถามที่สำคัญจะสนุก และทำให้ได้ความรู้มาก..แต่ถ้าทำทุกวิถีทางแล้ว แต่คำถามยังมรอยู่และมีความสำคัญ..ต้องหาคำตอบต่อไปด้วยการวิจัย..
8.ฝึกการวิจัย...การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้..ทุกระดับ..การวิจัยจะทำให้ค้นพบความรู้ใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดความภูมิใจ...สนุก...และมีประโยชน์มาก...
9.ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการ..ให้เห็นความเป็นทั้งหมด..และเห็นตัวเอง..ธรรมขาติของสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง..เมื่อเรียนรู้อะไรมา..อย่าให้ความรู้นั้นแยกเป็นส่วนๆ..
10.ฝึกการเขียน..เรียบเรียงทางวิชาการถึงกระบวนการเรียนรู้..และความรู้ใหม่ที่ได้มา..เป็นการเรียบเรียงความคิดให้ประณีตขึ้น ทำให้ค้นคว้าหาหลักฐาน ที่มา ที่อ้างอิงของความรู้ให้ถี่ถ้วนแม่นยำขึ้น..เป็นการพัฒนาปัญญาของตัวเองอย่างสำคัญ และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป...

...........เป็นอย่างไรบ้างค่ะ...กระบวนการทางปัญญา..ต้องฝึก...ต้องลงมือทำ..จึงจะค้นพบ..เห็นด้วยใหม???...

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปิรามิดแห่งความรู้..กับเรื่องเล่าของผู้นำ..










1.ข้อมูล..เรื่องเล่าประสบการณ์ความสำเร็จของแต่ละคนเปรียบได้กับข้อมูลดิบ(data)   ซึ่งเป็นเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ถ่ายทอดออกมา

2.สารสนเทศ..เมื่อเราฟังเรื่องเล่าแล้ว ควรมีการจัดการความรู้เพื่อยกระดับdata ให้เป็น information..โดยนำมา in form ใน 4 ประเด็นหลัก คือ
                1.ปัญหาคืออะไร
                2.ใช้วิธีใด แก้ปัญหา
                3.ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
               4.ความรู้สึก สิ่งที่ได้เรียนรู้ คืออะไร

3.เมื่อเราจับประเด็นสำคัญของเรื่องเล่าได้แล้ว..จะทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เรียกว่า“ขุมความรู้”คือ วิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่แสดงออก...

4.ภูมิปัญญา..อาจมีขุมความรู้มากมายหลายข้อ จำเป็นต้องสรุปขุมความรู้ที่ได้ให้เป็นแก่นความรู้ ซึ่งเป็นสมรรถนะหลักหรือปัจจัยสำคัญในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ..เพื่อนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติในการทำงาน..ซึ่งเป็นการตกผลึกของความรู้หรือผลผลิตของการจัดการความรู้..

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มองย้อนหลังปี 2553..ดูก้าวย่างของทีมkmศูนย์ฯลำปาง



เริ่มจากการ...พูดคุยกันว่าเขต5 ของเรามีเรื่องราวเล่าขานจากคนเก่าคนแก่..คนจะเกษียณอายุ..คนที่เคยอยู่เคยใช้ชีวิตที่นี่...ล้วนแต่เรื่องน่าสนใจ..น่าประทับใจ..แต่ก็เป็นแค่การเล่าขาน..พูดคุยในวง..เล็กๆ..พวกเราได้แต่ฟัง..คิด..วาดภาพตาม..แล้วก็ลืมเลือนไป..

               ปลายปี พ.ศ.2548  กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล ศพช.เขต 5..(หัวหน้าปัญญา เจนสาริกา/คุณกิจวัฒน์ ผุสดี...)เสนอแผนงานพัฒนาการจัดการความรู้ของบุคลากร ศพช.เขต 5 ลำปางขึ้น..ด้วยแนวคิดที่มาจากการมองเห็นบุคลากรคนสำคัญๆ เช่น พี่นพพร นิลณรงค์ ลาออกจากราชการไป...พร้อมกับความรู้ประสบการณ์มากมายในตัวพี่นพพรก็ติดตามตัวไปด้วย..ไม่ได้มีการบันทึกจัดเก็บไว้ นอกเหนือจากการผ่องถ่าย..ซึมซับ..ผ่านการทำงานร่วมกันฉันท์พี่น้อง..และมันเป็นการถ่ายทอดความรู้/ประสบการณ์จากคนต่อคนที่ใกล้ชิด..ไม่กี่คน...
               พากันไปศึกษาดูงานการจัดการความรู้ที่ โรงพยาบาลบ้านตาก ( 18 มกราคม 2549 )..ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่/คุณหมอ พยาบาลฯลฯ..ทำให้เข้าใจKM มากขึ้น ว่าเป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติงานทุกคน...และเป็นเรื่องการทำงาน..การพัฒนางาน...แล้วเอามาแชร์มาแลกเปลี่ยนกัน..แก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้วยกันของทีมงาน...ทั้งทีมงานเล็กๆ แล้วรวมเป็นทีมงานใหญ่..จนเป็นKMกันทั่วทั้งองค์กร..
               ประสานสถาบันส่งเสริมความรู้สู่ชุมชน(สคส.) โหนดตั้งที่ ม.นเรศวร พิษณุโลก..มาเป็นวิทยากรให้..ในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้ของบุคลากร ศพช.เขต 5...วันที่ 16 - 17 มีนาคม 2549 
               จัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้ (facilitator) ...ที่บ้านต้นไม้..ไร่สะท้านไตรภพ อ.เกาะคา จ.ลำปาง ระหว่างวันที่ 30 - 31 พฤษภาคม 2549



               ....................................
                ปี 2550..การจัดการความรู้ภายในเขต 5 ยังคงมีทีมงานวิชาการของกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นหลัก..กระบวนงานจะเป็นการวางระบบการจัดการความรู้ของ ศพช.เขต 5 
            *1.การวางระบบการจัดการความรู้ ศพช.เขต 5
            *2.การรวบรวมชุดความรู้
            *3.การเพิ่มศักยภาพการเป็นผู้เอื้ออำนวยกระบวนการกลุ่ม(facilitator)
            *4.สรุปบทเรียนการทำงานผ่านเวทีแลกเปลี่ยน(เวทีวันพุธ)
            *5.สนับสนุนการจัดทำ Best Practice หมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข
              .......................................
              ปี พ.ศ.2551..มีการสรุปบทเรียน..และวางแผนเคลื่อนงานกันต่อไป..ที่อุทยานแห่งชาติขุนตาน..
และเริ่มขยายผล..สนับสนุนทำความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน 6 จังหวัด ผ่านการฝึกอบรมเรื่องการจัดการความรู้...ผ่านการสรุปบทเรียน/การถอดบทเรียน..และการจัดเก็บชุดความรู้ การจัดทำ Best Practice รวมทั้งงานวิจัยในพื้นที่..


              ปรับโครงสร้าง..เป็นศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง...(พ.ศ.2552)..มีงานสนับสนุนการจัดการความรู้ขึ้น..และเราเริ่มตั้งต้นKMศูนย์ฯลำปางขึ้น..
ก้าวที่1.. 22 ตุลาคม 2552...ประชุม..ทบทวน..ทำความเข้าใจ..KM
                            * กร ะบวนการ KM
                            ** แผนปฏิบัติการ KM-53
ก้าวที่ 2...เวที KM-1 ( 25 ธ.ค.52 )

              *กำหนดเป้าหมาย+กระบวนงานรายบุคคล/ ของงาน + ฝ่าย ปี 2553


 ก้าวที่ 3 เวที KM -2 ( 27 ม.ค.53 )

         *จัดตั้งคณะทำงาน KM ของศูนย์ฯลำปาง
         **การบันทึกบทเรียน(ความรู้)จากการทำงาน

ก้าวที่ 4..เวที KM-3 ( 25 มี.ค.53 )
แนะนำเทคนิค...การดึงความรู้ในตัวคนด้วยการเล่าเรื่อง( Storytelling )


ก้าวที่ 5 ..เวที KM-4 ( 18 พ.ค.53 )
*( ฝึกปฏิบัติ...จับคู่เล่าเรื่อง /
**สร้างทีมงาน KMศูนย์ฯลำปาง..ด้วยเครื่องมือStorytelling
*ประยุกต์ใช้...โดยทีมงานศูนย์ฯได้ทดลองจับคู่..สลับกันเล่าเรื่องประสบการณ์ในการทำงานที่ประสบความสำเร็จให้เพื่อนฟัง...แล้วให้ลองบันทึก/เขียน...
**จัดทีมงานฯ 8 จังหวัด/ ประสานบุคคลเป้าหมาย(ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์)...ตัวแทนนักพัฒนา
..เดินทางไปจัดเก็บความรู้กัน..ลำปาง..ลำพูน..เชียงใหม่..เชียงราย..แม่ฮ่องสอน..แพร่..น่าน


ก้าวที่ 6 เวที KM-5 ( 30 มิ.ย.53 )

       *สรุปบทเรียนการจัดเก็บความรู้จากผู้มีประสบการณ์ 8 จังหวัด