วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การทำเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง


ชื่อความรู้/ความเชี่ยวชาญในอาชีพ        การทำเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
เจ้าขององค์ความรู้   นางจีรภา จันทร์ชื่น                         
ที่อยู่      209 ม.5 บ้านป่าลัน ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์     061-2679998
ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
          - ในปี พ.ศ. 2556 พัฒนากร (คุณอาทิตย์ ตาลผัด) ดำเนินการฝึกอบรมโดยเชิญ เจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดิน (ร.อ.พรศักดิ์ บุตรเมือง) มาให้ความรู้เรื่องการทำเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
          - ต้องหาเลี้ยงครอบครัว และเลี้ยงดูบุตร
          - ต้องการลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะเคมีในการทำเกษตรกรรม
          - ต้องการลดรายจ่าย เพิ่มการพึ่งตนเองในครัวเรือน
วัตถุประสงค์
          - เพื่อลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต ลดสารพิษในร่างกาย
          - ต้องการเพิ่มผลผลิต มากกว่าการใช้สารเคมี
วัตถุดิบ
          - น้ำสะอาด ห้ามมีคลอรีน และจุลินทรีย์ (น้ำดื่มขวด 6 ลิตร)
          - หัวเชื้อจุลินทรีย์สูตรเฉพาะ (ของตัวผู้นำ)
          - ไข่ไก่ ( 1 ฟอง / 1 ขวด )
          - ผงชูรส (อายิโน๊ะโมโต๊ะ)
อุปกรณ์
          - ขวดน้ำ ( 6 ลิตร ) ใส ที่แสงแดดสามารถผ่านได้
กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          1. เตรียมน้ำสะอาด ไข่ไก่ หัวเชื้อจุลินทรีย์ และผงชูรสให้พร้อม
          2. นำน้ำสะอาดในขวด 6 ลิตร มาเทออกให้เหลือ 3 ลิตร
          3. ตอกใข่ไก่ และตีไม่เหมือนไข่เจียว (ละลายเข้ากัน) โดยควรเป็นไข่ใหม่ หรือจากไก่ที่เลี้ยงโดยวิธีชีวภาพ
          4. ตักไข่ไก่ที่ตีแล้ว 3 ช้อนโต๊ะ ผสมลงในขวด
          5. ใส่ผงชูรส 1 ช้อนชาในขวด
          6. เขย่า ประมาณ 100 ครั้ง ขวดน้ำที่ผสมแล้วจนมีฟอง
          7. ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ (สังเคราะห์แสง) ลงในขวดจำนวน 1 ลิตร
          8. ใส่น้ำที่เทออกมาในขั้นตอนที่ 2 กลับลงในขวด จนฟองถึงปากขวด และปิดฝา
          9. นำขวดน้ำที่ผสมและปิดฝาแล้วไปวางตั้งตากแดด 1-3 เดือน
ผลที่เกิดขึ้น (น้ำแดง)
          - ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง
          - สามารถทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ให้คนในชุมชน
          - ผลผลิตดีขึ้น ลดค่าปุ๋ย ลดต้นทุนการผลิต
          - ส่วนผสมใช้จุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร (ขึ้นกับสูตรในการบำรุงพืชต่างๆ)
          - ทำให้พืชดูดทรัพย์อาหารได้ดีขึ้น ดินมีค่า PH ที่เหมาะสม
          - นำไปใช้กับสัตว์ เช่นวัว แก้ปากเปื่อยเท้าเปื่อย หรือใส่บ่อปลา เป็นต้น
ข้อพึงระวัง
          ระวังไม่ให้น้ำที่ผสมโดนมือ หรือติดเชื้อจากน้ำไม่สะอาด หรือจากไข่ไก่ ซึ่งหากเกิดขึ้นและติดเชื้อจนมีสีเขียว จะต่อเชื้อไม่ได้
ข้อเสนอแนะ
          - ภาชนะ ต้องสะอาด
          - เวลานำการทำเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่เหมาะสม ได้แก่ 6.00 – 14.00 น. (ขยายเชื้อ) ต้องอยู่ในที่แสงแดดส่องถึง
ข้อคิด
          - ไม่เป็นน้ำล้นแก้ว เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ
          - เกษตรควรเปลี่ยนวิธีคิด ไม่อยู่ในวงจรที่ต้องพึ่งคนอื่น

ชื่อผู้สัมภาษณ์   .........นายณัฐนิช รักขติวงศ์................................
ตำแหน่ง          .........นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ.................

วันที่สัมภาษณ์   ................8 ธันวาคม 2559.............................

ซาลาเปาแฟนซี


ชื่อความรู้/ความเชี่ยวชาญในอาชีพ        ซาลาเปาแฟนซี
เจ้าขององค์ความรู้     นางสาว โสรัตยา บัวชุม                     
ที่อยู่     52/2 หมู่ 9 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์   082-3922228
ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
          บ้านป่าสักน้อยมีการรวมกลุ่มทำขนมไทยและเบเกอรี่ ซึ่งทำขนมจำหน่ายให้ทางโรงเรียน เทศบาล ร้านค้าในชุมชน สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับสตรีผู้ว่างงานในหมู่บ้านเป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์
          - ลดการว่างงานในหมู่บ้าน
          - สร้างอาชีพสร้างรายได้
          - เกิดความสามัคคีในชุมชน
วัตถุดิบ
          - แป้งตราบัวแดง                             - ถั่วทองชัก แช่น้ำ 1 คืน
          - ยีสต์                                         - กะทิ
          - น้ำตาล                                      - น้ำตาล
          -เกลือ
อุปกรณ์
          - ตราชั่ง                                       -แก๊ส
          - เครื่องนวด                                   - ผ้าบางขาว
          - กาละมัง                                     - กระทะทองเหลือง
          - ถาด                                         - ไม้พาย
          - เตานึ่งรังถึง

กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          ไส้       - นำถั่วแช่น้ำ 1 คืน จากนั้นนำมากวนในกะทะทองเหลือง นำกะทิ/น้ำตาล ลงกวนประมาณ 2 ชั่วโมง จนสุก
          ตัวแป้ง 
                   1. นำแป้งบัวแดงผสมยีสต์ และน้ำตามอัตราส่วนผสมให้เท่ากัน หมักทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง
                   2. จากนั้นนำแป้งบัวแดงส่วนที่ 2 ผสมน้ำตาล และน้ำตามอัตราส่วนลงเครื่องนวดสัก 10 นาทีพอเข้ากัน นำแป้งส่วนที่ 1 ที่หมักทิ้งไว้มาลงเครื่องนวด (ที่มีส่วนผสมของแป้ง ส่วนที่ 2) ประมาณ 15 นาที นำแป้งออกจากเครื่องนวด พักไว้ 10 นาที นำแป้งมาตักชั่ง 50g แบ่งจนหมด นำแป้งที่ได้มาคลึงให้เป็นก้อนกลม พักไว้ 15 นาที นำไส้ถั่วมาปั้นเป็นก้อนกลม นำแป้ง 50g มาห่อไส้ถั่ว คลึงให้กลม สวยงาม นำแป้งมาผสมสีตามใจชอบ ตกแต่งให้สวยงาม เช่น รูปไก่ รูปหมู รูปนก อุลตร้าแมน โดเรมอน หน้าคน ฯลฯ นำซาลาเปาพักทิ้งไว้ 20 นาที นำรังถึงขึ้นตั้งพอเดือดมีไอน้ำ นำซาลาเปานึ่ง ปิดฝา ห้ามเปิด รอ 15 นาที    ยกลง
ข้อพึงระวัง
          - ควรเช็คยีสต์ว่าหมดอายุหรือยัง
          - อากาศหน้าฝน และหน้าหนาว ทำให้ซาลาเปาชื้นช้า
ข้อเสนอแนะ
          ซาลาเปาเป็นอาหารที่ทานง่ายสะดวก สามารถนำไปต่อยอด สร้างอาชีพ และรายได้ ให้กลุ่ม และครัวเรือนได้เป็นอย่างดี

ชื่อผู้สัมภาษณ์             นางดวงธิดา อำนาจผูก.
ตำแหน่ง                   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

วันที่สัมภาษณ์             8 ธันวาคม 2559

การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่


ชื่อความรู้/ความเชี่ยวชาญในอาชีพ        การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่        
เจ้าขององค์ความรู้   นายชัยศิลป์ รินแก้ว                         
ที่อยู่     96/1 หมู่ที่ 11 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์     081-5304298

ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
          สภาพหมู่บ้านมีพื้นฐานด้านการเกษตร และมีประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง และไข่ไก่เป็นอาหารที่ต้องทานทุกวัน มีคุณค่าทางอาหารสูง
วัตถุประสงค์
          1. เป็นแบบอย่างในครัวเรือน และครัวข้างเคียง
          2. ได้ลดรายจ่าย มีอาหารบำรุงสุขภาพ
วัตถุดิบ
          1. ไก่แม่พันธุ์ 13-14 อาทิตย์ 10 ตัว
          2. อาหารไข่ไก่ ชนิดเม็ด 1 กระสอบ
อุปกรณ์
          1. ถังอาหาร               1 ถัง
          2. ถังน้ำ                      1 ถัง
          3. รังสำหรับไข่           1 รัง
          4. เล้า 2x3 เมตร         1 หลัง

กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          1. เตรียมเล้าไก่ขนาด 2x3 เมตร ทำรังสำหรับไข่ไก่ 1 ใบ นำเศษฟางรองพื้นรัง กำจัดศัตรูไก่    เช่น ไร
          2. นำไก่อายุ 13-14 สัปดาห์ ที่พร้อมไข่จำนวน 10 ตัว ทำทำวัคซีนเรียบร้อยแล้ว มาใส่ในเล้า
          3. ให้อาหารในถังอัตโนมัติ วันละไม่เกินครึ่งกิโลกรัม อาหารที่ให้ควรเป็นอาหารเม็ด
          4. ให้น้ำในถังอัตโนมัติ เปลี่ยนน้ำล้างถังทุกวัน
          5. เลี้ยงประมาณ 10 – 20 วัน ไก่จะเริ่มไข่

ข้อพึงระวัง
          สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ระวังสุนัข

ข้อเสนอแนะ
          เลี้ยงใหม่ ไม่ควรใช้ไก่เล็ก ควรเลี้ยงไก่ที่พร้อมจะไข่ก่อน

ชื่อผู้สัมภาษณ์             นายเกรียงไกร สิงห์แก้ว 
ตำแหน่ง                   นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ

วันที่สัมภาษณ์             8  ธันวาคม 2559

เทคนิคการทำน้ำหมักหอยเชอร์รี่


ชื่อความรู้/ความเชี่ยวชาญในอาชีพ  เทคนิคการทำน้ำหมักหอยเชอร์รี่  
เจ้าขององค์ความรู้        นาย พัลลภ อินทสาร                        
ที่อยู่      56/2 ม.5 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์     097-9214295 / 089-5521114
ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
          1.จากสภาพในปัจจุบันมีการระบาดของหอยเชอร์รี่ในนาข้าวทั่วทุกผืน มีการคิดค้นหาแนวทางการกำจัดปัญหานี้มากมาย หอยเชอรี่ได้สร้างความเสียหายโดยทั่ว
          2. ทางคณะกรรมการสมาชิกได้ลงความเห็นการกำจัดโดยการรับซื้อทั้งตัวหอย และไข่หอยทำปุ๋ยหมักจากหอยเชอรี่ขึ้น
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อกำจัดหอยเชอรี่ จากการแพร่หลายของหอยโดยทำลายตัวหอย และไข่หอยในนาข้าวขึ้น
          2. เพื่อเพิ่มปุ๋ยชีวภาพน้ำหมัก
วัตถุดิบ
          1. ตัวหอยเชื้อ ทั้งตัวแก่ ตัวอ่อนของหอย
          2. ไข่หอยเชอรี่
          3. กากน้ำตาลแดง
          4. พ.ค.2
          5. ลำละเอียด
อุปกรณ์
          1. ถังหมักขนาด 100-200 ลิตร
          2.เครื่องบด (ไม้)
          3. ตระแกรงเหล็ก ไม้สำหรับคน กับหอยที่หมักในถัง
กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          1. แต่งตั้งควานหาสมาชิกร่วมกิจกรรม และประกาศรับซื้อหอย
          2. นำวัตถุดิบหอยมาบด ไม้ทุบให้ละเอียด
          3. นำมาชั่งน้ำหนัก
          4. นำวัตถุดิบใส่ลงในถุงหมักตามจำนวนที่ต้องการ ในอัตราส่วน น้ำ 20 ลิตร/ หอยวัตถุดิบ 20 กก. / กากน้ำตาลแดง 5 กก. / รำละเอียด 1 กก. แล้วนำหมักปิดฝาถังให้แน่นสนิท ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน
          5. จึงนำมาบรรจุขวดเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกแก่สมาชิกเพื่อนำไปพ่นใส่พืชสวน พืชผัก นาข้าว หรือให้หยดลงทางน้ำเข้ามาสวน ลาดลำต้น พ่นใบพืชทุกชนิด
          6. ในอัตราส่วน 1/20 ลิตร
          7. หรือใช้กำจัดกลิ่น ส่วนที่เริ่มเหม็นของคอกวัว ไก่ ได้ด้วยข้อพึงระวัง
          การใช้อัตราส่วนในการหมัก น้ำสะอาด และทำได้เสร็จภายใน 1 วัน สถานที่ห่างไกลชุมชนพอควร

ข้อเสนอแนะ
          หางบประมาณในการจัดซื้อหอย และไข่ บุคลากรที่มีความชำนาญการ สมาชิกกลุ่ม

ชื่อผู้สัมภาษณ์             นาย ชาญณรงค์ จิรขจรกุล
ตำแหน่ง                   พนักงานขับรถยนต์

วันที่สัมภาษณ์             8 ธันวาคม 2559

การทำไข่เค็มกะทิ


ชื่อความรู้/ความเชี่ยวชาญในอาชีพ   การทำไข่เค็มกะทิ
เจ้าขององค์ความรู้    นางจารุวรรณ  แสงปรีดานนท์
ที่อยู่     155/29  หมู่ 3 ตำบลเชิงดอย  อำเภอดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์     086-7322151
ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
ชีวิตหลังเกษียณ มีความรู้สึกอยากทำกิจกรรมที่ดี มีประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม มีเพื่อนสนิทมิตรสหายได้นำไข่เค็มมาฝากเป็นประจำ  มีความคิดที่จะผลิตไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารนำภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานาน คิดค้นนำกะทิมาเป็นส่วนผสมช่วยเพิ่มรสชาติ ความอร่อยให้ลงตัวทำให้ไข่แดงมัน และ   ไข่ขาวนุ่มไม่เค็มจัด
วัตถุประสงค์
1.      เพื่อเป็นการถนอมอาหาร
2.      เพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้ครอบครัว
วัตถุดิบ
1.      ไข่เป็ด (ไข่ใหม่)   100 ฟอง


2.      ดินสอพอง        3 กิโลกรัม
3.      เกลือ              6 ชีด
4.      กะทิสด (กล่อง)  1 กล่อง (500 กรัม)
5.      ขึ้เถ้าแกลบ
อุปกรณ์
1.      กะละมัง 2 ใบ  (ใส่ส่วนผสม 1 ใบ /ใส่ขี้เถ้าแกลบ 1 ใบ)
2.      กล่องพลาสติก
3.      ถุงพลาสติก
4.      หม้อแสตนเลส
กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
1.      นำวัตถุดิบ เกลือ ดินสอพอง กะทิสด คลุกด้วยกัน
2.      นำไข่เป็ดที่ล้างสะอาดมาจุ่มให้ทั่ว
3.      นำมาคลิกกับขี้เถ้าแกลบให้แน่น
4.      เก็บบรรจุลงในกล่อง เรียงเป็นระเบียบ (โดยถึงพลาสติกรองพื้นก่อน)
5.      ก่อนปิดฝาให้ใช้กระดาษที่สะอาดซับเหงื่อไว้ขั้นบน
6.      รอระยะเวลา ประมาณ 7 วัน สามารถทอดไข่ดาวได้
7.      รอระยะเวลา ประมาณ 20 วัน ต้มเป็นไข่เค็ม และใส่ตู้เย็นได้เป็นเดือน
ข้อพึงระวัง
การคัดเลือกไข่เป็ด ต้องเป็นไข่สดและใหม่  ล้างสะอาดก่อนนำมาคลุก

ข้อเสนอแนะ
1.      การทำไข่เค็มเป็นการถนอมอาหารและสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ยำไข่เค็ม ผัดกะเพราไข่เค็ม ข้าวยำไข่เค็ม ของหวานบัวลอย เป็นต้น
2.      มีทางเลือกสำหรับผู้บริโภค โดยใช้น้ำสกัดใบชา
3.      สามารถเป็นอาชีพเสริมให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม

ชื่อผู้สัมภาษณ์   นางวิภาดา  วิบูลย์พันธ์
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ

วันที่สัมภาษณ์   8 ธันวาคม 2559