วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนรู้..กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนกับคนวอแก้ว..

             ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ร่วมกันสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมขึ้นมาหนึ่งหลักสูตรในปีนี้ สำหรับฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในชุมชน  ด้านกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนตามมาตรฐานแผนชุมชน  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้กระบวนการแผนชุมชนและขับเคลื่อนชุมชนตามมาตรฐานแผนชุมชน
             ศูนย์ฯ คาดหวังว่า..หลังจากที่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นแกนนำในหมู่บ้านชุมชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรฯ จะสามารถขับเคลื่อนกระบวนการในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ..คือสามารถสร้างการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในชุมชน และเพิ่มศักยภาพของทีมแกนนำของชุมชน
กรอบหลักสูตร
เป็นNEED..หรือเป็นWANT ?
1.เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานหรือไม่..
     - หลักสูตรฯ ที่ยกร่างขึ้นมานั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานโดยตรง เพราะศูนย์ฯลำปางถูกวางเป้าหมายองค์กรสู่สถาบันแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาและบูรณาการแผนชุมชน
2.จำเป็นต้องรู้..ไม่รู้ทำงานไม่ได้ หรือทำได้ไม่ดี และ
3.เป็นความจำเป็นของงาน ไม่ใช่ความต้องการส่วนตัวของใคร
(ข้อพิจารณา 3 ข้อนี้ อ้างอิงมาจาก อ.สมศักดิ์ วิวัฒน์ไพศาล..การบริหารโครงการฝึกอบรมอย่างมืออาชีพ)

คำตอบ!!..เข้าไปค้นหาที่บ้านวอแก้ว ม.3 ตำบลวอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ศึกษาความต้องการฝึกอบรม  **เป็นความจำเป็นของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง+เป็นความต้องการของแกนนำ..คนวอแก้ว..ผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับแกนนำชุมชนบ้านวอแก้วในหลายๆเวทีและการประชุมร่วมกัน..ศูนย์์ฯขอใช้บ้านวอแก้วเป็นพื้นที่ทดลองหลักสูตรฯ ..ส่วนแกนนำบ้านวอแก้วโดยเฉพาะท่านกำนันดำริห์ สุวรรณสุระ กำนันคนใหม่ของตำบลวอแก้วและทีมแกนนำ ก็กำลังวางแผนพัฒนา/ขับเคลื่อนชุมชนวอแก้วทั้งที่เป็นปัญหาความต้องการ    และพัฒนาต่อยอดทุนในชุมชนที่มีอยู่..

ทีมงานอาสา....ยกร่างหลักสูตร 
ทีมงานศูนย์ฯ ร่วมกันพิจารณาร่างหลักสูตรและรายละเอียดตามแผนการสอนที่ร่วมกันยกร่างขึ้นมา ในประเด็นเรื่องตัวชี้วัดหลักสูตร..ที่ต้องวัดได้ว่า แกนนำชุมชนที่ผ่านหลักสูตรฯนี้ สามารถนำกระบวนการจากหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างไร..การเลือกใช้เครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของแกนนำชุมชน ให้เหมาะสม..โดยเฉพาะการนำเรื่องบัญชีครัวเรือนมาเป็นเครื่องมือหนึ่งของแกนนำชุมชน..








ผู้มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาชุมชน..
ให้คำปรึกษา
...หลักสูตรกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนตามมาตรฐานแผนชุมชน ที่ทีมงานศูนย์ฯยกร่างขึ้นมา โดยได้รับความอนุเคราะห์ให้คำปรึกษาและชี้แนะจากอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง อ.ปุณิกา อภิรักษ์ไกรศรี ..จากปราชญ์ชาวบ้าน/แกนนำชุมชนบ้านสามขา พี่หนานชาญ อุทธิยะและจาก อ.เทพ วงศ์สุภา พัฒนาการอำเภอผู้มีประสบการณ์ในการทำงานกับชุมชนและ
ภาคีเครือข่าย ทั้งเคยเป็นอดีตนักวิชาการพัฒนาชุมชนของศูนย์ฯลำปางด้วย
















การทดลองหลักสูตร 
กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนตามมาตรฐานแผนชุมชน
ณ บ้านวอแก้ว หมู่ที่ 3 ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำ
ชุมชนฯ ( 10-11 ส.ค.56) ประเด็นหลักในการสร้างความรู้ความเข้าใจกับแกนนำ ที่เป็นกรรมการหมู่บ้าน กรรมการคุ้ม และกรรมการกลุ่มต่างๆในชุมชน..
             -เปิดโลกทัศน์กระบวนการชุมชน..กระบวนการแผนชุมชน
             -มาตรฐานแผนชุมชน
             -ทักษะพื้นฐานของแกนนำชุมชน/ทักษะวิทยากรกระบวนการ
             -เครื่องมือการวิเคราะห์ชุมชน
             -การวางแผนปฏิบัติการ






กิจกรรมที่ 2    กิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของแกนนำชุมชน 
( 13 ส.ค. -1 ก.ย.56 )
             2.1 ประชุมเตรียมความพร้อมแกนนำชุมชน ( 13 ก.ย.56 )
                   -ทำความเข้าใจการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน

               

             2.2 ดำเนินกิจกรรมร่วมกันในชุมชน(กลุ่มแกนนำเจ้าภาพรับผิดชอบประเด็น+ชาวบ้าน จัดเก็บข้อมูลชุมชน)
                   14-30 ส.ค.56
10 ประเด็นหลักที่แกนนำชุมชนเป็นผู้กำหนด
                         การท่องเที่ยว/โฮมสเตย์
                         * การจัดการทรัพยากร/สิ่งแวดล้อม 
                         การพัฒนาเยาวชน  
                         การส่งเสริมอาชีพ(กลุ่มอาชีพ/กองทุนต่างๆ) 
                        * วัฒนธรรมประเพณี/ศาสนา/ภูมิปัญญา/ปราชญ์ชาวบ้าน 
                         * สุขภาพคนในชุมชน(ด้านสาธารณสุข) 
                         * การศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ 
                         * การปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย/งานพัฒนา                          
                         * แผนผังหมู่บ้าน (10 คุ้ม)  
                         * ประวัติศาสตร์ชุมชน  
                         * ปฏิทินฤดูกาล (ด้านอาชีพ -แกนนำด้านส่งเสริมอาชีพ
                           +ด้านวัฒนธรรม-แกนนำด้านวัฒนธรรม)

             2.3 เวทีวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนโดยแกนนำชุมชน(จำนวนเวทีตามประเด็นในชุมชน)
                   14-30 ส.ค.56


          

2.4 เวทีวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือน
 ( 31 ส.ค.56)


          



วันที่ 27-29 ส.ค.2556 ตัวแทนแกนนำชุมชนบ้านวอแก้ว ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงานที่
ศูนย์ศึกษาวิทยาการชุมชนบ้านหนองกลางดง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตามโครงการเครือข่ายแผนชุมชนภาคเหนือกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ..



             2.5 เวทีสรุปนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลของแกนนำชุมชน ( 1 ก.ย.56)


        ตัวแทนแกนนำแ่ต่ละประเด็น นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล..สถานการณ์ปัจจุบัน จุดอ่อน จุดแข็ง 
โอกาส ปัญหาอุปสรรค..พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขหรือข้อเสนอแนะในการทำงานแต่ละประเด็น..
กิจกรรมที่ 3  เวทียกร่างแผนชุมชน 

             


กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์การทำงาน
ร่วมกัน ใน 1-3 ปีข้างหน้า
-กำหนดวิธีการ และแผนงานกิจกรรม/โครงการ ที่จะไปสู่เป้าหมายใน 1- 3 ปี (ทำแผนยุทธศาสตร์ของชุมชน)โดยตัวแทนแกนนำแต่ละประเด็นนำเสนอกิจกรรม/โครงการ..(กิจกรรม/โครงการ/เป้าหมาย/ระยะเวลา/งบประมาณ/แหล่งงบประมาณ/ผู้รับผิดชอบ)..ซึ่งเป็นกิจกรรม/โครงการที่มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันในเวทีครั้งก่อน

กิจกรรมที่ 4  เวทีบูรณาการแผนชุมชน 

*แกนนำชุมชนร่วมกับกลุ่มองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในชุมชน ร่วมกันประสาน
          แผนงาน/กิจกรรม/โครงการและการทำงานร่วมกัน


กิจกรรมที่ 5  กิจกรรมการประชาพิจารณ์แผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน
  *จัดประชุมหมู่บ้าน นำเสนอแผนงาน/กิจกรรม/โครงการ ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการ
   ตั้งข้อสังเกตและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 


สรุปการเรียนรู้..กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนกับคนวอแก้ว..ด้วยกระบวนการแผนชุมชน

•1.การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชน..เรื่องแผนชุมชน
•2.สร้างทีมงาน..กรรมการหมู่บ้าน/กรรมการคุ้ม/ผู้ทรงคุณวุฒิ/ฯลฯ
•3.สร้างความเข้าใจทีมงาน..เรื่องกระบวนการแผน
•4.การรวบรวมข้อมูล
•5.การวิเคราะห์ข้อมูล..ปัญหาอุปสรรค จุดอ่อนจุดแข็ง..แนวทางแก้ไข..
•6.ทำยุทธศาสตร์ของชุมชน..กำหนดเป้าหมายร่วมกัน(วิสัยทัศน์)/จะต้องทำอะไรบ้างให้บรรลุเป้าหมาย(พันธกิจ)/กลยุทธ์/..เอาแนวทางมาทำเป็นกิจกรรม/โครงการ
•7.ร่างแผนชุมชน...
       แผนที่/แผนผังชุมชน
       ประวัติศาสตร์ชุมชน
       ภูมิประเทศ
       ข้อมูลทั่วไป(ประชากร/การศึกษา/พื้นที่การเกษตร/ฯลฯ)
       ข้อมูลด้านศักยภาพชุมชน(ข้อมูล+ผลการวิเคราะห์ทั้ง 10 ประเด็น)
       แนวทางแผนยุทธศาสตร์ชุมชน(วิสัยทัศน์/แผนงานกิจกรรมโครงการฯ)
8.บูรณาการแผน...เชิญหน่วยงาน/องค์กรอื่นๆ มาพูดคุย/สนับสนุน(บูรณาการคน/งาน/โครงการฯลฯ)
9.ประชาพิจารณ์แผน..เอาแผนทั้งหมดมาเล่าให้ชาวบ้านฟัง..+ให้เสนอแนะเพิ่มเติมฯลฯ
                                
                                  ผู้บันทึกกระบวนการ อัญชลี ป่งแก้ว

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนางาน

การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนางาน   

         ผมสรุปสาระสำคัญจากที่ได้ไปประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประมวล กลั่นกรองและสังเคราะห์องค์ความรู้นำไปสู่นวัตกรรมในงานพัฒนาชุมชน ระหว่างวันที่  ๕ - ๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ วิทยาลัยการพัฒนาชุมชน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เฉพาะในส่วนของ "การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนานวัตกรรมในการพัฒนางาน" ที่คุณศิวาพร ภมรประริต ผอ.ส่วนการฝึกอบรม กรมชลประทาน มาเป็นวิทยากร สรุปความได้ว่า
     กรมชลประทานได้รับรางวัลด้านบริการประชาชน โดยองค์การสหประชาชาติ(UN)
เป็นรางวัล 1 ใน 10 ของโลก  วิทยากรยืนยันผลงานโดยการเปิด วีดีทัศน์เรื่อง ลุ่มน้ำกระเสียว
ให้ชม

     วีดีทัศน์เล่าถึงวิถีชีวิตของคนแถบลุ่มน้ำแม่ยม ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และแห้งแล้งในฤดูแล้ง น้ำไม่พอสำหรับการเพาะปลูกพื้นที่ ๙๒,๐๐๐ ไร่ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาแย่งการใช้น้ำถึงขั้นฆ่ากันตาย ด้านอำเภอหนองม่วงไข่ กั้นน้ำทำให้พื้นที่อำเภอเมืองแพร่ไม่พอใจ เกษตรอำเภอรวบรวมปัญหาเสนอกรมชลประทานสูบน้ำแม่ล่ายข้ามมาใส่ลำน้ำแม่ยม ทำทำนบกั้นแม่ยม ชาวบ้านรวมตัวกันกั้นน้ำแม่ยม
      วิทยากรวิเคราะห์ว่า เป็นการก่อเกิด
กลไก ๓ ประสาน คือ
          ๑)การสนับสนุนการเพาะปลูก(หน่วยสนับสนุน)          
          ๒)การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม          
          ๓)การควบคุมดูแล และปฏิบัติตามข้อตกลง(ดูแลการสูบน้ำ)

      ต่อมา เกษตรกรฝั่งซ้ายแม่น้ำยมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ปลายน้ำได้น้ำก่อน กระบวนการเสริมสร้างความเข้าใจกันถึงระบบชลประทาน กรมชลประทานลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลรวมทั้งภาพถ่ายทางอากาศ ติดตามการเพาะปลูก จัดเวทีแลกเปลี่ยน..จนค้นพบนวัตกรรม ดังนี้
วิทยากรสรุปว่า 10 ปี
  •   นวัตกรรมเกี่ยวกับงานโดยตรง เป็น กระบวนการทำงานใหม่
  •   มีอะไรดีที่ไหนแวะไปดู Site visit
  •   ที่นั่นเตรียมพร้อมที่เราจะเรียนรู้

     กพร.บังคับให้ส่งนวัตกรรม : วิทยากรย้ำว่า..
Ø ปรับปรุง พัฒนางานจากแนวคิดใหม่
Ø นวัตกรรมเกิดจากพวกเราเอง

     พัฒนาชุมชนมี Story Telling : การเล่าเรื่อง เรื่องไหนเป็น Best Practice
วิทยากรกล่าวว่า กรมชลประทาน มีข้าราชการเกษียณอายุปีละราว 100 กว่าคน จำเป็นต้องวางแผนยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ เพื่อการจัดการความรู้ และมีการให้รางวัลโดยส่งประกวดและ ทบทวน ระบบ
KM Process


ตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้น..
1.ยุทธการตักน้ำใส่ตุ่ม
2.กลั่นกรอง
3.จัดเก็บเป็นระบบ
4.ทำคู่มือ : ทำให้เขาเข้าถึง สั้นๆ : จัดเวที
เทรนX เทรนY : จัดเป็นศูนย์ความรู้กลาง
Search……(อยากรู้อะไร กองไหนเก็บเรื่องอะไร ) ศูนย์สารสนเทศเป็นแม่ข่าย

                  :เข้าถึงได้ : เอกสาร
                  : ตัวคน : อายุงาน 30-40 ปี ต้องถอดองค์ความรู้ 
                  : การติดตามนายไปทำงาน การแก้ไขปัญหาแบบนี้แบบนั้น
                  :ต้องเจอหน้ากัน(Face to Face)
                  :พี่สอนน้อง : ช่องทาง : การนำไปใช้/ไม่นำไปใช้
                  การนำไปใช้ : เกลียวความรู้

                                        ยกระดับความรู้ได้ 7 ขั้นตอน คือ..
                                             1.บ่งชี้ : ระบุ/เลือก
                                             2.สร้าง/แสวงหา 
                                             3.จัดระบบ
                                            4.ประมวล/กลั่นกรอง
                                            5.เข้าถึงความรู้
                                            6.แลกเปลี่ยนความรู้
                                            7.เรียนรู้
เกิดประโยชน์คือ...น้องใหม่ : องค์ความรู้ที่จำเป็น
1.ศึกษาอะไรบ้าง คู่มือ ตัวอย่าง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เช่น คู่มือการบริหารโครงการ คู่มือการหา TN
2.มอบให้น้องทำ เพื่อตรวจสอบดูว่าน้องอ่านคู่มือหรือยัง
    -การสื่อสาร : สร้างความเข้าใจ
    -กระบวนการและเครื่องมือ
    -กระบวนการและเครื่องมือ
    -กระบวนการและเครื่องมือ : เครื่องมือที่ใช้จัดการความรู้
    -การฝึกอบรมและเรียนรู้
    -การฝึกอบรมและเรียนรู้
    -การฝึกอบรมและเรียนรู้ : ให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้
    -การยกย่อง ชมเชย ให้รางวัล
    -การยกย่อง ชมเชย ให้รางวัล
    -การยกย่อง ชมเชย ให้รางวัล : สร้างแรงจูงใจ
         สำเร็จเพราะอะไร ล้มเหลวเพราะอะไร

3.การถอดความรู้
-การเตรียมการและปรับพฤติกรรม : กำหนดผู้รับผิดชอบ
-การประเมินติดตามผล : ประเมินผลการจัดการความรู้เพื่อ
พัฒนากระบวนการ/วิธีการ เช่น AAR
สรุป ต้องได้สาระ แก้ไขสิ่งผิดๆที่ผ่านมา
การประกวด CKO ดีเด่น ต้องรักษาไว้อย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
ตัวชี้วัดกระบวนการ
-ติดตามทุก 3 เดือน
-รายงานทุก 3 เดือนด้วยระบบ Online


ปัญหาการจัดการความรู้(KM)ขององค์กรส่วนใหญ่ที่ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้และนวัตกรรม
1.กิจกรรม KM ไม่ได้ทำกับ Key Knowledge หรือ องค์ความรู้หลักของหน่วยงาน
2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ได้แลกเปลี่ยนใน Critical

วัฒนธรรมการเรียนรู้ กรมชลประทาน
1.พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง : องค์ความรู้เปลี่ยน เช่น เมื่อก่อนเราใช้ POSCOP
ปัจจุบันใช้ OLC
2.ทำงานเป็นทีม : ไม่ทำงานสายเดียว ต้องมีหลายสายงาน ข้ามสายงาน
3.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : ทำแผนเสร็จแล้ว มีการคุยกันเพื่อแก้ไข.....
4.คิดริเริ่มสร้างสรรค์ เช่น มีเกณฑ์การประกวด ปีที่ 1 ปีที่2 ปีที่3 อัพเกรด เป็นต้น


             Key word.. พี่ล้าหลังเทคโนโลยี..น้องขาดประสบการณ์
                                                                                    ---------------------


                                                                                                   ผู้บันทึก ไกรฤกษ์ มูลเมือง
                                                                                                  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
























วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เวทีจัดการความรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน..ที่ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

                       ทีมศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง มีโอกาสไปสนับสนุนพื้นที่อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ด้วยการเป็นวิทยากรกระบวนการ  กิจกรรมการจัดการความรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินแก้ไขปัญหายาเสพติด ณ องค์การบริหารส่วนตำบลวังซ้าย ในวันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2556

                       หลังจากที่คุณวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ นายอำเภอวังเหนือ ได้มอบแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยหมู่บ้าน/ชุมชน ให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินทั้ง 15 หมู่บ้าน จำนวน 40 คนแล้ว 
พัฒนาการอำเภอวังเหนือ คุณพิเชฏฐ์ อาจสามารถ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในวันนี้ เพื่อกำหนดเป็นแผนการดำเนินงานหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินของอำเภอวังเหนือต่อไป




เวทีแลกเปลี่ยนเพื่อจัดการความรู้..หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน
โดย.....ทีมวิทยากรศูนย์ฯลำปาง
          ทีมงานศูนย์ฯลำปางวันนี้ ไปด้วยกันสี่คน แบ่งหน้าที่กันทำ โดยมีคนเดินเวทีหลัก 1 คนและผู้ช่วย 1 คน อีก 2 คนจับประเด็นจากเวทีเขียนเป็น mind map โดยกำหนดประเด็นคำถามหลักๆและคำถามรองไว้กันล่วงหน้าแล้ว ทีมงานตกลงร่วมกันว่า เวทีวันนี้จะไม่ใช้คำว่า “เวทีจัดการความรู้” และก็จะไม่พูดคำว่า “เวทีถอดบทเรียน” เพราะทั้งสองคำ ไม่ว่าจะเป็น จัดการความรู้ หรือ ถอดบทเรียน ล้วนเป็นคำยากและไม่ใช่ภาษาท้องถิ่น..ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจความหมาย แต่เราจะพูดกันง่ายๆถึงสถานการณ์การดำเนินงานของหมู่บ้านกองทุนแม่ฯ ของอำเภอวังเหนือ ตั้งแต่ปี 2548 มาจนถึงปี 2555/2556 ว่ามีแนวคิดแนวทางในการทำงานกันอย่างไร ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น รวมทั้งปัจจัยความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกัน เป็นเครือข่ายหมู่บ้านกองทุนแม่ของอำเภอวังเหนือต่อไป

เริ่มต้นง่ายๆ..คิด เขียน..อ่าน..และติด..
              เราเริ่มต้นจากบัตรคำ ให้กรรมการกองทุนแม่ฯเขียนชื่อกองทุนแม่ของแต่ละบ้าน พร้อมกับให้บอก”เป้าหมายหลักๆ”ของกองทุนแม่ฯหมู่บ้านของท่าน..คิดแล้วเขียน-อ่านที่เขียน.และนำมาติดบนกระดาษฟลิปชาร์ท ทีมศูนย์ฯชี้ให้ตระหนักถึงเป้าหมายของการทำงานทุกครั้งและทุกๆเรื่อง..ทำอะไรต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัด เพราะ..เมื่อวางเป้าหมายร่วมกันชัดแล้ว..กรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินก็จะมีโจทย์ร่วมกันต่อไปว่า จะต้องทำอะไรบ้างเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นๆ
-เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
-เพื่อเฝ้าระวังคนในชุมชนให้ห่างไกลยาเสพติด
-เพื่อส่งเสริมอาชีพคนในชุมชน
-เพื่อช่วยเหลือคนยากจนในชุมชน
-เพื่อสร้างสวัสดิการในชุมชน
-เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน
-ฯลฯ


...ซึ่งแต่ละหมู่บ้านกองทุนแม่ต่างมีเป้าหมายที่แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละชุมชน แต่เป้าหมายหลักๆที่เหมือนกันคือ ระดมกองทุนในการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน



เริ่มชวนกันพูดคุยแลกเปลี่ยนตามประเด็นที่เตรียมไว้..



สรุปประเด็นแลกเปลี่ยนด้วยแผนที่ความคิด
           แน่นอนว่า..การแลกเปลี่ยนในเวทีไม่ใช่การถามตอบหรือเป็นแค่การให้คนในเวทีซึ่งเป็นประธานและกรรมการกองทุนแม่ฯ เปลี่ยนกัน “เล่าเรื่อง”การดำเนินงานที่ผ่านมา..

แต่ ความรู้ที่เกิดขึ้น(ใหม่) ระหว่างปฏิบัติงาน/ขับเคลื่อนกองทุนแม่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ไม่ว่ากิจกรรมนั้นๆจะสำเร็จ/ทำได้ดี หรือ ล้มเหลว..หรือทำได้ไม่ดีนัก หรือมีปัญหาอุปสรรค ข้อจำกัดต่างๆ แต่ประสบการณ์หรือบทเรียนที่กรรมการ/คนทำงานได้รับคือ “ความรู้” ที่ทั้ง 15 กองทุนแม่ฯได้มีเวทีแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ จะได้เป็นแนวทางในการปรับปรุง ประยุกต์ใช้ หรือ ต่อยอดการดำเนินงานของกองทุนแม่ฯให้บรรลุเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชนต่อๆไป



สุดท้ายในเวทีฯ เป็นประเด็นวิเคราะห์ร่วมกัน ต่อเนื่องจากผลสรุปที่เป็นข้อจำกัด    ปัญหาอุปสรรคจาก mind map ในประเด็นข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น และแนวทางการทำงานร่วมกันของเครือข่ายทั้ง 15 หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน..ที่อำเภอวังเหนือ..
-จัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานกองทุนแม่ฯ
-ศึกษาดูงานหมู่บ้านกองทุนแม่ฯที่ประสบความสำเร็จ
-ขับเคลื่อนกองทุนแม่ร่วมกันเป็นเครือข่ายฯ
-สร้างทีมงานกองทุนแม่ให้มีความหลากหลายในการทำงาน
-ประธานกองทุนแม่ควรเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ เสียสละและมีความรู้
-ให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นที่ปรึกษากองทุนฯ
-กรรมการกองทุนแม่ฯ เมื่อได้รับการอบรมแล้ว ควรสามารถถ่ายทอดต่อให้ชุมชนเข้าใจได้
-ภาครัฐ/องค์การบริหารส่วนตำบลสนับสนุนการขับเคลื่อน/ให้ความรู้/งบประมาณฯ
-เสนอขอรับเงินพระราชทาน(เงินขวัญถุง)ที่จังหวัด
-จัดกิจกรรมเข้าค่ายให้กับเยาวชน
-ออกกฎหมายให้มีบทลงโทษที่เด็ดขาด
-เพิ่มความถี่ในการตรวจตราเรื่องยาเสพติด
-ตัดต้นตอ/แก้ไขปัญหาจากต้นตอ เพื่อลดการแพร่ระบาดยาเสพติด
          ฯลฯ


                        ถ้ากองทุนแม่ฯ เป็นทุนเริ่มต้นของความดีงามในหมู่บ้านชุมชนแล้ว..  เวทีจัดการความรู้ในครั้งนี้ คงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินของคนอำเภอวังเหนือ.ด้วยเช่นกัน...
                                                   

 ขอร่วมชื่นชมความดีงามและเป็นกำลังใจให้คนทำงานทุกท่าน
                        ทีมงานศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง

                                                         *นางอัญชลี ป่งแก้ว     นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
                                                         *นายธาดา ธีระวาทิน   นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
                                                         *นายไกรฤกษ์ มูลเมือง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
                                                         * นางสาววชิรญาณ์ แย้มเยื้อน นักทรัพยากรบุคคล                                                                                                 
                                                                                         5 มิถุนายน 2556