วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เพาะเห็ดฟาง


ชื่อความรู้/ความเชี่ยวชาญในอาชีพ        เพาะเห็ดฟาง
เจ้าขององค์ความรู้    นายสมบัติ  อุตสินธุ
ที่อยู่    69 หมู่ 9  ตำบลทาขุมเงิน  อำเภอแม่ทา  จังหวัดลำพูน
เบอร์โทรศัพท์  087-7881750

ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
1.      สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน
2.      รายได้ที่พึ่งพารายได้จากรายปี เหลือจากการประกอบการเกษตรเชิงเดี่ยว
3.      ต้องการลดปัญหาการใช้สารเคมีในภาคเกษตร
4.      สร้างรายได้ ให้ครอบครัวได้ตลอดปี คือ รายปีจากพืชเชิงเดี่ยว
5.      รายได้จากรายเดือนจากพืชสวนล้มลุก
6.      รายได้จากการประกอบการเกษตรระยะสั้น
         
วัตถุประสงค์
1.      เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว
2.      เพื่อให้ครอบครัวดำรงชีวิตที่ดีในภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง

วัตถุดิบ/วัสดุ
1.      ฟางข้าว
2.      ตอกมัดฟางข้าว
3.      พลาสติกใสสำหรับคลุม
4.      เชื้อเห็ดฟาง
5.      รำละเอียด
6.      แป้งข้าวจ้าวหรือข้าวเหนียว
7.      น้ำสำหรับใช้ในการแช่ฟางข้าว
อุปกรณ์                    
1.      กะละมังสำหรับผสมเชื้อ
2.      เครื่องมือตัดฟาง
3.      บ่อสำหรับแช่ฟางข้าว
4.      บัวรดน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
ก่อนการเพาะเห็ด
1.      ใช้ฟางข้าวมามัดโดยใช้ปลายฟางข้าวมาสลับกัน หันฟางออกสองข้างแล้วใช้ตอกมัดเป็นปล้อง ๆ ความห่างระยะตอก 30 – 40 ซม. จำนวน 270 มัด
2.      ใช้เครื่องมือตัดตรงกลางระหว่างตอกที่มัด
3.      นำฟางข้าวที่ตัดแช่น้ำ 1 คืน (ก่อนลงมือเพาะต้องหาและเตรียมสถานที่โล่งหรือแสงรำไร หากมีหญ้าให้ตัดจนถึงดิน รดน้ำให้ชุ่มช่วงตอนเย็นก่อนวันเพาะ)
การเพาะเห็ด
1.      นำเชื้อเห็ดออกจากถุง ขยี้ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้เชื้อ 10 ก้อน
2.      นำรำอ่อน 1 แก้ว และแป้งข้าวจ้าวหรือข้าวเหนียวอย่างใดอย่างหนึ่ง ครึ่งถุงคลุกเคล้าให้เข้ากันดีกับเชื้อที่ฉีกไว้ ข้อควรระวัง เชื้อที่ผสมแล้วห้ามโดนแสงแดดร้อน
3.      นำฟางข้าวที่แช่น้ำออกจากที่แช่ การเพาะให้เรียงฟางข้าวแนวขวาง แล้วคลี่หรือให้ใช้กรรไกรตัดตอก แล้วคลี่ออก ความยาวของแปลงประมาณ 1.50 เมตร มีความหนาของฟางประมาณ 1 ฝ่ามือ
4.      นำเชื้อเห็ดที่ผสมโรย ตามแนวยาวของแปลงเพาะทั้งสองข้าง
5.      นำฟางมาวางทับแล้วตัดตอกคลี่ฟางออก ความหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ แล้วโรยเชื้อเหมือนขั้นตอนที่ 1 และทำเป็นชั้นๆ ไปจนได้ความสูงประมาณเข่า แล้วเริ่มทำแปลงต่อไปจนเชื้อที่เตรียมไว้หมด โดยความระยะห่าง 30 ซม.
6.      เมื่อทำการเพาะแล้วให้รดน้ำจนชุ่ม
7.      นำพลาสติกคลุมกองทั้งหมด แล้วหาวัสดุทับกันลมเปิด ชายพลาสติกใช้หินทับโดยไม่ให้อากาศเข้า
8.      เวลาผ่านไป 4 – 5 วัน ให้ทำการตัดเชื้อโดยใช้ป๊อกกี้ใส่น้ำสะอาดพ่น ผ่านๆ
9.      เวลาผ่านไป 10 – 12 วัน หากเห็นเม็ดเห็ดเท่าปลายนิ้วชี้ ให้เปิดกองช่วงอากาศร้อน
บ่าย 3 โมงให้ปิด แล้วใช้น้ำรดตรงชายพลาสติกทุกวัน 14 – 15 วัน เก็บผลผลิตได้

ข้อพึงระวัง
1.      การตัดเชื้อควรเป็นน้ำสะอาดที่ไม่มีส่วนผสมของสารคอรีน
2.      การเพาะเห็ดไม่ควรเพาะซ้ำที่เดิม 2 ครั้ง เพราะจะเกิดราเขียว , ราไข่ปลา
3.      การเพาะควรระวังเรื่องปลวกที่จะขึ้นมาทำลายเชื้อในกองเพาะ

ข้อเสนอแนะ
1.      สามารถนำกองเห็ดเก่าไปทำปุ๋ยหมักต่อได้ โดยใช้สาร พด.1 หรือจุลินทรีย์ช่วยสลายซากพืช
2.      ควรใช้เชื้อราโคโคม่า ฉีดพ่นหลังจากที่เพาะรอบที่ 2 แล้ว ทิ้งไว้เลย แล้วหาสถานที่อยู่ไกลจากที่เดิมเพาะต่อไป อย่าเพาะใกล้กับที่เกษตรกรเพาะที่เดิม เพราะโคโคม่าเป็นเชื้อราที่สามารถฆ่า
ราเห็ดได้

ชื่อผู้สัมภาษณ์   นางวิภาดา  วิบูลย์พันธ์
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ

วันที่สัมภาษณ์   8 มกราคม 2560

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..