วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เทคนิคการทำก้อนเชื้อเห็ดฮังการี่ดำ


ชื่อความรู้/ความเชี่ยวชาญในอาชีพ เทคนิคการทำก้อนเชื้อเห็ดฮังการี่ดำ
เจ้าขององค์ความรู้   นาง บุปผา หมดดี
ที่อยู่ 167 หมู่ที่9 ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
เบอร์โทรศัพท์   09 0465 7652

ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
          มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ทำอย่างไรถึงจะอยู่รอด ทำอย่างไรถึงจะมีรายได้มาจุนเจือครอบครัว เพราะเราต้องดูแลลูก 2 คน รับจ้างก็ไม่พอใช้ จึงเป็นเหตุจูงใจที่หันมาทำอาชีพเพาะเห็ดขาย เพราะเราต้องพึ่งพาตัวเองเราต้องสู้อย่าท้อแท้เมื่อเจออุปสรรคต่างๆที่ผ่านเข้ามาเราต้องผ่านมันไปให้ได้
วัตถุประสงค์
          1. เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย
          2. มีดอกเห็ดที่มีคุณภาพไว้กินเองถ้าเหลือก็ขายให้ชาวบ้าน
          3. เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนพร้อมที่จะถ่ายทอดได้ตลอดเวลา
วัตถุดิบ
          1. ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน คือจามจุรีหรือที่เรียกกันว่าฉำฉา
อุปกรณ์
          1. เชื้อเห็ดฮังการี่ดำ
          2. ถุง 6 x 12 นิ้ว
          3. จุกปิด
          4. คอขวด
          5. สำลี
          6. ยางรัด
          7. กระดาษปิดก้อนเห็ด
          8. แอลกอฮอล์
          9. ขี้เลื่อย
          10. รำละเอียด
          11. ปูนขาว
          12. ยิปซั่ม
          13. ดีเกลือ
          14. น้ำ
          15. ชุดเตานึ่ง
-
กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          ส่วนผสม
          ขั้นที่1. ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน 100 กิโลกรัม
          ขั้นที่2. รำละเอียด 7 กิโลกรัม
          ขั้นที่3. ปูนขาว 1 กิโลกรัม
          ขั้นที่4. ยิปซั่ม 2 กิโลกรัม
          ขั้นที่5. ดีเกลือ 2 ขีด
          ขั้นที่6. น้ำ 60-70 เปอร์เซ็นต์
                   นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากันแล้วเติมน้ำลงไปผสมให้เข้ากัน หลังจากนั้นทดสอบโดยวิธีกำเอาขี้เลื่อยมาปั้นดูแล้วแบมือออกถ้าขี้เลื่อยกับตัวกันเป็นก้อนแตกเป็นเสี่ยงๆ ถือว่าใช้ได้เรารีบตักขี้เลื่อยใส่ถุงในปริมาณถุงละ 8 ขีด หลังจากนั้นเราก็อัดก้อนเห็ดให้แน่นพอสมควรเสร็จแล้วก็ใส่คอขวดแล้วปิดด้วยจุกแล้วเอาก้อนเห็ดไปใส่ในเตานึ่งโดยใช้เวลานึ่ง 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นเสร็จรอให้ก้อนเห็ดเย็นเสียก่อนแล้วเราจึงนำเชื้อเห็ดหยอดเชื้อเห็ด 1 ขวดเราจะหยอดได้ประมาณ 50 ก้อน แล้วนำเข้าโรงบ่มเส้นใยใช้เวลา 30 วันหลังจากนั้นจะย้ายไปเปิดใช้เวลา 7 - 10 วัน เราก็จะเห็นดอกเห็ดโผล่ขึ้นมาพอมาถึงตอนนั้นเราสามารถเลือกเก็บดอกเห็นได้ตามใจชอบจะดอกเล็กหรือดอกใหญ่ก็แล้วแต่เรา
ข้อพึงระวัง
          หัวใจสำคัญที่สุดของการเพาะเห็ด คือ ความสะอาดเวลาเก็บดอกเห็ดอย่าตัดโคนเห็ดหรือตีนเห็ดทั้งในโรงเห็ดเด็ดขาดเพราะอาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคต่างๆ



ข้อเสนอแนะ
          1. อย่าเปิดเห็ดก่อนที่ดอกเห็ดยังไม่เดินไม่เต็มก้อนควรจะรอให้เส้นใยเดินเต็มสมบูรณ์เสียก่อน
          2. อาชีพเพาะเห็ดไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิดแต่ถ้าเราจะทำเราต้องมีความสุข สนุกกับงานที่ทำ
ชื่อผู้สัมภาษณ์   นายไกรฤกษ์  มูลเมือง
ตำแหน่ง          นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

วันที่สัมภาษณ์   24 มกราคม 2560

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..