วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เทคนิคปลูกไผ่(กิมซุง)


ชื่อความรู้/ความเชี่ยวชาญในอาชีพ  เทคนิคปลูกไผ่(กิมซุง)
เจ้าขององค์ความรู้    นาย นพปฎด ปู่ตอง
ที่อยู่   187 หมู่ที่ 7  ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์     09 6653 5572 และ 08 3066 9306

ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
          1. รักไผ่ ไผ่เป็นพืชโตไว ปลูกที่ไหนก็ได้
          2. มีพื้นที่ว่างและไม่ได้ใช้ประโยชน์ ทำอย่างไรให้เขียวชอุ่ม มองว่าไผ่มีอนาคตไกล และเหมาะสมกว่าพืชผลอื่นๆ ไผ่สามารถหากินง่าย มีระยะพักตัว ฟื้นตัวได้ ไผ่มีประโยชน์หลายอย่าง ทั้งเพื่อร่มเงา และเป็นพืชเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้พื้นที่ว่างเปล่าตามหัวไร่ปลายนา ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เพราะไผ่เจริญเร็วกว่าพืชชนิดอื่น
วัตถุดิบ
          1. พันธุ์ไผ่ (อายุ 3 – 5 ปี)
          2. น้ำ
อุปกรณ์
          1. จอบ
กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          -ศึกษาเรียนรู้ จากพ่อหลวงบ้านป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเขาทำหน่อไผ่ขาย ไผ่มีหลากหลายกว่า 200-300 สายพันธุ์
           ขั้นตอนที่ 1 เอากล้าพันธุ์จากที่เรียนรู้ เป็นไผ่กิมซุง(พันธุ์ไต้หวัน)
          ขั้นที่2. พักกล้าไว้ 2 อาทิตย์ เพื่อให้ไผ่กิมซุงคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อม จนรากออกนอกถุง
(8 x 16 นิ้ว) แสดงว่าอัตราการรอด 100%
          ขั้นที่3. ขุดหลุมประมาณ 1 คืบ (ไม่ต้องลึก เพราะรากไผ่แผ่ด้านข้าง) ความกว้าง 50 x 50 เซนติเมตร
          ขั้นที่4. ก่อนปลูก 3 วัน ไม่ต้องรดน้ำ เพื่อทำให้ดึงต้นพันธุ์ออกจากถุงได้ง่าย
          ขั้นที่5. ระยะห่าง 4 x 4 เมตร (อยู่ที่พื้นที่อาจจะ 6 x 6 หรือ 8 x 8) 1 ไร่ จะได้ 100 ต้น (ปลูกไว้ 5 ไร่) = 500 ต้น/กอ
          ขั้นที่6. คอยรดน้ำถ้าฝนไม่ตก รดน้ำให้ชุ่มเฉพาะบริเวณที่ขุด ไม่ใช้ปุ๋ย ให้ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด
          ขั้นที่7. ใช้เวลา 7 - 8 เดือน แทงหน่อแรก ปล่อยให้เป็น “ลำแม่” ก่อน ถ้าหน่อขึ้นหลายต้น  คัดเฉพาะลำแม่ไว้
          ขั้นที่8. ถ้าครบ 1 ปี แทงหน่อใหม่ ให้ตัดต้นกล้าพันธุ์ทิ้ง
          ขั้นที่9. ถ้าต้องการทำหน่อ หรือขายหน่อ ต้องตัดแต่ง โดยตัดปลายต้นให้มีความสูง 3 – 4 เมตร เลาะกิ่งออก เหลือทิ้งไว้ 5 ก้านพอ เพื่อป้องกันลม และให้มีแสงทะลุไปถึงหน่อได้
          ขั้นที่10. ถ้าจะทำหน่อขาย ต้องตัดแต่ง
                    1 กอ 1 ปี ต้องมี 1 ต้น
                   ขึ้นปีที่ 2   1 กอ ต้องมีต้นแม่ 2 ต้น
                   ขึ้นปีที่ 3   1 กอ ต้องมีต้นแม่ 3 ต้น
                   ขึ้นปีที่ 4  1 กอ ต้องมีต้นแม่ 4 ต้น
                   ขึ้นปีที่ 5 1 กอ ต้องมีต้นแม่ 5 ต้น
                        *5 ปี เปลี่ยนปลูกชุดใหม่*
          ขั้นที่11. แต่ของเราขึ้นปีที่ 7 ยังคงปลุกต่อไป ไม่ได้ต้องการขยายหน่อ
ปัญหา
          1. ชาวบ้านไม่กล้าปลูกไผ่เพราะกลัวตายยกกอ(ตายขุย) แต่ความจริงคือ เราคอยตัดแต่ง และเปลี่ยนชุดใหม่เรื่อยๆ
          2. ลำแก่ 3 ปี ไม่ค่อยออกหน่อ หรือ ออกหน่อแต่ก็ไม่สมบูรณ์
          3. ไม่รู้ว่าจะหากล้าพันธุ์ที่ไหน
          4. โดนหลอกเรื่องกล้าพันธุ์

ข้อพึงระวัง
          1. ไม่ควรปลูกไผ่หน้าหนาว เพราะเป็นช่วงหยุด พลัดใบ จะโตช้า

ข้อเสนอแนะ
          1. ปลูกไผ่เพื่อฟื้นพื้นที่ป่า แล้วเราสามารถต่อยอด เป็นขายหน่อได้
          2. ชาวบ้านไม่มีใครให้ความรู้ว่าไผ่สามารถต่อยอดได้หลายอย่าง เช่น ทำถ่าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำเยื่อกระดาษได้
          3. ไผ่ไม่ทำลายดินไม่เหมือนยูคาลิปตัส ไผ่ผลิตออกซิเจนได้ถึง 15 – 25%
          4. ก่อนจะปลูกอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้ชัดเจน มั่นใจก่อนว่าเราทำได้
          5. ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ได้ดี 4 – 5 ปีที่ปลูกไผ่มา มีหิ่งห้อย ไส้เดือน นกเค้าแมวฯลฯ เยอะมาก

ชื่อผู้สัมภาษณ์   นางอัญชลี ป่งแก้ว
ตำแหน่ง  นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ

วันที่สัมภาษณ์   20 ธันวาคม 2559

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..