วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การส่งเสริมให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง



ชื่อความรู้/ความเชี่ยวชาญในอาชีพ  การส่งเสริมให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
เจ้าขององค์ความรู้   นาย นภปฎล ศรีพิทักษ์ดำรง
ที่อยู่     43 หมู่ที่4 ตำบลแม่โถ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เบอร์โทรศัพท์   08 5029 6188
ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
          สืบเนื่องจากปัญหาความยากจนของคนในหมู่บ้าน และปัญหาการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งพื้นที่ในหมู่บ้านเป็นป่าสงวน รวมถึงสุขภาพของคนในหมู่บ้านมีสารพิษตกค้างกันเยอะ จากปัญหาเหล่านี้ทำให้ย้อนกลับมาถึงการแก้ไขปัญหาด้วยการทำเศรษฐกิจพอเพียงตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
          2. เพื่อให้คนในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น
          3. เพื่อรักษาป่าไม้และรักษาสิ่งแวดล้อม
วัตถุดิบ
          องค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น พัฒนาชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, สมาคมส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรม (IMPECT), ท้องถิ่น (อบต.)

 อุปกรณ์
          1. การประชุมประจำเดือน        

กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          ขั้นที่1. ใช้การพูดคุย ทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
          ขั้นที่2. ให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง
          ขั้นที่3. อธิบายกระบวนการเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ถ้าทำเหลือขาย เมื่อขายแล้วจะมีกำไรมากขึ้น ก็จัดตั้งกลุ่ม เกิดเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อต่อยอดต่อไป โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
          ขั้นที่4. ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยการทำเศรษฐกิจพอเพียง เช่น เลี้ยงเป็ด ปลาดุก หมู ไก่ ผักซาโยเต้ มะเขือแม้ว พืชผักสวนครัว
          ขั้นที่5. แนะนำให้ชาวบ้านทำอาชีพที่ไม่ใช้สารเคมี เช่น การทำปศุสัตว์แบบปล่อย(เลี้ยงในป่า) การปลูกกล้วยน้ำว้า
          ขั้นที่6. สอดแทรกกระบวนการคิดของตนเองอย่างมีเหตุผล ให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจพอเพียง เช่น เลี้ยงวัว-ควายแบบปล่อย ชาวบ้านเดินตามวัวควายถือว่าเป็นการออกกำลังกายไปภายในตัวด้วย หาของป่ามาขายได้ผ่อนคลายไม่เครียดเมื่ออยู่กับธรรมชาติ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริง และทำให้ชาวบ้านตระหนักรู้มากขึ้น
ข้อพึงระวัง
          ยังมีชาวบ้านที่ลังเล และไม่เชื่อหรือศรัทธาอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นจุดบอดของชุมชน ต้องอาศัยความเพียรและความอดทน
ข้อเสนอแนะ
          เมื่อมีโครงการอบรมหรือประชุม อยากให้ชาวบ้านได้มีโอกาสเข้าร่วมเพื่อรับทราบข้อมูลและข้อเท็จจริง (ให้เห็นกับตา) เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนและชาวบ้าน
                                                                     
ชื่อผู้สัมภาษณ์   น.ส. วชิรญาณ์ แย้มเยื้อน
ตำแหน่ง          นักทรัพยากรบุคคล

วันที่สัมภาษณ์   23 ธันวาคม 2559

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..