วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เริ่มต้นด้วยการออม.. บริหารค่าใช้จ่าย..สู่อนาคตที่สดใส..



เจ้าของความรู้    : นายรวยชัย   ศรีสวัสดิ์ 
                         นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
เป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนาเกี่ยวกับ   การบริหารค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของข้าราชการพัฒนาชุมชน
            ภาพการดำรงชีวิตประจำวันของข้าราชการพัฒนาชุมชน  ซึ่งในวงการบุคลทั่วไปจะเรียกพวกเราว่า“ นักพัฒนา”   ซึ่งจะมีบทบาทการทำงานกับผู้นำชุมชนเป็นส่วนใหญ่  ทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ชุมชนต่างๆก็จะรับรู้  และสัมผัสการดำรงชีพของประชาชน ผู้นำ และภาคีการพัฒนาต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร   หากนักพัฒนายังคงมีวิถีชีวิตเช่นเดิม  ไม่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสภาพเศรษฐกิจของโลกปัจจุบัน อนาคตความเป็นอยู่ของนักพัฒนาเช่นเราคงไม่เป็นไปอย่างไม่ราบรื่นแน่...
          คำคมต่างๆ ที่นักพัฒนาเคยแนะนำให้ผู้นำ ชุมชนต่างๆถือปฏิบัติดังเช่นคำว่า “  จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร ... จะพัฒนาใครต้องพัฒนาเราก่อน ” วันนี้กระผมจะขอแบ่งปัน
แนวทางการพัฒนาตัวเราโดยเฉพาะ   เรื่องบริหารเงิน  กระผมได้ฝากเงินออมทรัพย์ สอพช.ตั้งแต่เริ่มบรรจุราชการ ปี 2558   และมีการปรับเพิ่มเติมนอกเหนือที่กรมฯหักส่ง เพิ่มเติมเรื่อยๆ  ปัจจุบันคิดเป็น  14 ของเงินเดือนที่ได้รับ   โดยจะนำผลประโยชน์ที่ได้จากการปันผล  นำไปจ่ายรายการต่างๆ ที่มีประจำทุกปีของคนมีครอบครัวคือ  เปิดเทอมของลูกๆ   3 คน  (เดือนพฤษภาคม)  นอกจากนี้ก็ใช้บริการจาก สอพช.กรม นำไปลงทุนในการประกอบอาชีพเสริมต่างๆ (เพาะเห็ด,เลี้ยงไก่ชน ฯลฯ) ก็จะได้รายได้ผลประโยชน์นำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างพอเพียง  อีกทั้งอนาคตเงินออมก็จะเพิ่มพูนเป็นหลักประกันชีวิตหลังเกษียณอายุราชการ
            หลักคิดที่ทำให้ผมได้ใช้แนวทางนี้   ในการบริหารการเงินของครอบครัวคือ  จากการได้เห็นหยดน้ำจากก๊อกที่เสีย  ที่หยดลงถังน้ำเปล่าจนเต็มทุกวัน  (โรงเล้าไก่ชน)    เข้าใจถึงพลังของน้ำทีละหยดสามารถทำให้น้ำเต็มถังได้    จากปรัชญาที่เรียนรู้มา ทีว่า  “อยากรวย  จะต้องนำเงินที่ได้ไปลงทุนสร้างและมีรายได้หลายๆทาง  อาจจะต่อวัน  ต่อสัปดาห์ ต่อเดือน  ต่อปี ไม่เกี่ยวเนื่องกัน   และต้องรีบทำตั้งแต่อายุน้อยๆ   ข้อห้ามที่เน้นที่สุดคือ  หยุดล้างผลาญกับค่าใช้จ่ายไม่สมเหตุ สมผล ก็จะสามารถมีชีวิต ที่อยู่ได้อย่างมีความสุข
             จะเห็นได้ว่า การบริหารชีวิตตนเอง   ไม่มีหลักสูตรสอนในโรงเรียน  ในมหาวิทยาลัย  เรานักพัฒนาซึ่งทำงานกับผู้นำชุมชน  ประชาชน เพื่อสู่เป้าหมายที่เขาสามารถพึ่งตนเองได้  อยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน     กลับมามองตนเองบ้างว่าสิ่งที่เราอยากให้เขาเป็นและตัวเราทำได้หรือไม่? ดูแลสุขภาพตัวเองด้วยครับ 


                   ขุมความรู้ที่ได้
1.จะต้องเรียนรู้ และเข้าใจประโยชน์ที่ได้รับจากการออมเงิน  การเป็นสมาชิก สอ.พช.กรม
2.ต้องวางเป้าหมายการออมเงิน  เมื่อเกษียณอายุจะต้องการเงินเท่าไร? ( แสน/ล้าน)
3.จะต้องอดทน  อดทน เพิ่ม% เงินออมขึ้นทุกปี (ไม่น้อยกว่า 10 % ของรายได้)
4.วางแผนการใช้สวัสดิ์การ/การบริการต่างๆ เพื่อนำเงินไปลงทุน  หารายได้เสริม และวางแผนการใช้ประโยชน์จากเงินปันผล (เงินต่อปี)

                    แก่นความรู้ 
“ เรียนรู้  วางเป้าหมายการออมเงิน  อดทนเพิ่ม % เงินออม   ลงทุนหารายได้เสริม
  วางแผนการใช้ประโยชน์จากเงินปันผล  ”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..