วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการเขียนโครงการ...อย่างง่ายๆ




           เจ้าของความรู้      :   นางสาววชิรญาณ์ แย้มเยื้อน ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล
           ความเป็นมา/สถานการณ์/แรงบันดาลใจ
              ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร ให้บริการทางวิชาการ รวมถึงการวิจัยและพัฒนา เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรในงานพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพในพื้นที่เขตให้บริการ ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ในฐานะนักทรัพยากรบุคคลซึ่งมีหน้าที่จัดกระบวนการฝึกอบรมของหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้เข้ารับบริการ และการเขียนโครงการจัดเป็นรายวิชาหนึ่งในหลักสูตรการฝึกอบรมโครงการผู้นำการพัฒนาเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปีเพื่อเสริมสร้างให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและหลักการเขียนโครงการที่ถูกต้อง สามารถเขียนโครงการขอรับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานในชุมชนต่อไป จึงขอสรุปกระบวนการและเทคนิคความสำเร็จในการเขียนโครงการไว้ ดังนี้

          วิธีการ/ขั้นตอนการปฏิบัติ
๑.จัดทำแผนการสอนวิชา มีรายละเอียดประกอบด้วย ชื่อวิชา/เวลา/ผู้เรียน/วัตถุประสงค์/แนวคิดสำคัญ/ขอบเขตเนื้อหา/เทคนิควิธีการ/การวัดและประเมินผล
๒.จัดทำขอบเขตเนื้อหาวิชาประกอบการสอน โดยมีขอบเขตของเนื้อหาวิชา มีรายละเอียดประกอบ คือ ชื่อโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน สถานที่ดำเนินการ งบประมาณ ระยะเวลาดำเนินการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๓.จัดทำเอกสารประกอบการเขียนโครงการ ประกอบด้วยเนื้อหาความรู้วิชา ตัวอย่างของการเขียนโครงการและแบบฟอร์มการเขียนโครงการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรม

                                 เทคนิคการปฏิบัติที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
                การเขียนโครงการเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างนโยบาย แผนงานและโครงการ เพื่อจะได้เขียนโครงการได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ นอกจากนั้นผู้เขียนโครงการจะต้องหมั่นฝึกฝนเขียนโครงการ โดยจะต้องมีข้อมูลที่มาก ถูกต้อง เพียงพอ ทันสมัย และที่สำคัญจะต้องสามารถวิเคราะห์สถานการณ์อย่างถ่องแท้ได้ สามารถลำดับสถานการณ์ ความเป็นมา สภาพปัญหา แนวทางการแก้ไขก่อนและหลังได้ ก่อนเขียนโครงการ หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วมาเขียนตามแบบฟอร์มการเขียนโครงการ



                                 ข้อสังเกต/ข้อพึงระวัง
        พื้นฐานของกลุ่มเป้าหมายที่มาอบรมมีทักษะที่แตกต่างกันจึงทำให้ต้องอาศัยระยะเวลาในการอธิบายรวมถึงยกตัวอย่างและฝึกฝนในการเขียนโครงการ อีกทั้งกลุ่มเป้าหมายยังไม่มีความรู้และประสบการณ์ในการเขียนโครงการมาก่อนจึงทำให้ผลการเขียนโครงการไม่ตอบวัตถุประสงค์ได้ชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..