วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การนำ IT มาสนับสนุนงานพัฒนาชุมชน(นายยุทธภูมิ นามวงศ์)

ชื่อเรื่อง การนำ IT มาสนับสนุนงานพัฒนาชุมชน
เจ้าของความรู้ นายยุทธภูมิ นามวงศ์
ตำแหน่ง/สังกัด หัวหน้ากลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพะเยา
เรื่องเล่า
                     การนำ IT มาสนับสนุนงานพัฒนาชุมชน ทำให้ลดเวลา ค่าใช้จ่ายและกำลังคน โดยจัดทำในรูปของสื่อเว็บไซต์ทีhttp://www.viewphayao.com/population/ ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2549 โครงการพัฒนาสารสนเทศชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารและเกิดประโยชน์ และ ตามโครงการปฏิบัติการแก้จนแบบเข้าถึงครัวเรือนทุกครัวเรือน โดยทีมงานชุดปฏิบัติการแก้จนแบบเข้าถึงครัวเรือนทุกครัวเรือน ของทุกอำเภอได้ออกปฏิบัติการเคาะประตูครัวเรือนยากจน และได้พบกับปัญหาของครัวเรือนยากจนที่สำคัญเร่งด่วนที่จะต้องให้การช่วยเหลือด้านต่างๆ มากมาย ปัญหาหนึ่งที่พบซึ่งมีความสำคัญมากก็คือ “ปัญหาการขาดโอกาสทางการศึกษาต่อและการว่างงานของบุตรหลานในครัวเรือน” สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองพะเยาได้นำข้อมูลชี้เป้าครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่า 20,000 บาท/คน/ปี ซึ่งเป็นข้อมูล จปฐ.ปี 2548 จัดทำเป็นสารสนเทศชุมชนออกเผยแพร่เพื่อขอความร่วมมือให้ความช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ได้รับการติดต่อประสานจากภาคเอกชน โดย แพทย์หญิงภัทรา เรขตานันต์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโกลเด้นเยียส์ กรุงเทพฯ มีนโยบายคืนกำไรสู่สังคม ติดต่อประสานขอมอบทุนทุนการศึกษาแก่เยาวชนยากจนของจังหวัดพะเยา ที่ด้อยโอกาสด้านการศึกษาต่อ เข้ารับทุนการศึกษาต่อวิชาชีพผู้ช่วยการพยาบาล หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ระยะเวลา 6 เดือน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นตามโครงการ “ช่วยเหลือทุนการศึกษาแก่เยาวชนด้อยโอกาสของครัวเรือนยากจนจังหวัดพะเยา” เป็นผลงานที่มีความภาคภูมิใจ เช่น โครงการส่งน้องเรียนพยาบาล ดำเนินการรุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 เมษายน ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2549 จนถึงปัจจุบัน รุ่นที่ 7 ระหว่าง วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 – กุมภาพันธ์ 2554 อีกจำนวน 11 คน รวมทั้งสิ้น 67 คน ทำให้เยาวชนของจังหวัดพะเยา ได้จบการศึกษาวิชาการพยาบาล หลักสูตร เจ้าพนักงานผู้ช่วยพยาบาล ด้านการดูแลผู้สูงอายุ และสามารถบรรจุเข้าทำงานในเครือของโรงพยาบาลโกลเด้นเยียส์ทุกคน โดยมีรายได้ที่แน่นอน ระหว่าง 9,000 – 12,000 บาท/เดือน/คน ซึ่งกล่าวได้ว่าเยาวชนของจังหวัดพะเยาสามารถมีงานทำที่มีเกียรติในสังคม มีรายได้ที่แน่นอน ประการสำคัญก็คือรายได้ดังกล่าวจะสามารถนำไปยกระดับความยากจนของครัวเรือนของเยาวชนเอง ให้พ้นขีดความยากจนได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้นได้จัดทำข้อมูลต่าง ๆ ของจังหวัด เช่น ข้อมูลภูมิปัญญา การท่องเที่ยว ข่าวสารต่างๆ ของจังหวัด โดยจัดทำในรูปของสื่อเว็บไซต์ รวมทั้งจัดทำวีดีทัศน์ของหมู่บ้าน ดำเนินการโดยค้นหาข้อมูลของหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง เช่น ความเป็นมาของหมู่บ้าน จากการศึกษาดูงานรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ในหมู่บ้าน แล้วนำจัดแบ่งหมวดหมู่รายละเอียดกิจกรรม นำมาเขียนสคริปและให้นักจัดรายการวิทยุมืออาชีพภาคเสียงประกอบ ทำให้เกิดผลงานที่ภาคภูมิใจ คือ ชุมชนบ้านบัว เป็นหมู่บ้านอำเภอเมืองจังหวัดพะเยา ชนะเลิศเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับประเทศ แลชนะเลิศระดับภาค ประเภทบุคคล ของ กปร. ประเภทประชาชนในพื้นที่ห่างไกลและกันดาร คือ นายผล มีศรี ซึ่งได้ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทำเกษตรผสมผสาน รักษาหน้าดินโดยการปลูกหญ้าแฝก
                   ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผลงานที่ภาคภูมิใจคือ 1.ยึดประชาชนเป็นหลัก มุ่งมั่นเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ 2.การทุ่มเทและตั้งใจสู้งาน 3.ค้นคว้าศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก IT สามารถช่วยในการทำงานให้ประสิทธิภาพและยังสามารถเป็นแผนที่นำทางให้เดินทางได้สะดวกและรวดเร็ว 
                   โดยมีเป้าหมาย 1.สร้างทีมงาน IT เพื่อให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเห็นความสำคัญ และนำ IT มาช่วยในการทำงาน เพื่อลดเวลา ลดต้นทุน และลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สามารถปรับใช้งานได้ทุกเรื่อง 2.นำ IT ไปช่วยกลุ่ม OTOP ให้มีช่องทางการตลาด E-Commerce 3.จัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ทุกอำเภอและหมู่บ้านOTOP จัดทำเว็บไซต์ได้จากผลงานที่เกิดความภาคภูมิใจส่งผลให้ได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการดีเด่น ประจำปี 2552
ข้อแนะนำ
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ ควร Backup ข้อมูล ทุกระยะ 
2.ข้อมูลที่สำคัญไม่ควรเก็บไว้ Local Disk (C) เพื่อความปลอดภัยควรจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญไว้ แผ่น CD/DVD จัดหมวดหมู่และระบบการเก็บข้อมูล 
3.เนื่องจาก IT มีการเปลี่ยนแปลงไวมาก ต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองทางเว็บไซต์/หนังสือ
ผู้บันทึกข้อมูล....ทีมสนับสนุนจังหวัดพะเยา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..