วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กระบวนการแผนชุมชน(นายก่อพงษ์ โกมลรัตน์)

ชื่อเรื่อง กระบวนการแผนชุมชน
เจ้าของความรู้ นายก่อพงษ์ โกมลรัตน์
ตำแหน่ง พัฒนาการจังหวัดพะเยา
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพะเยา

 เรื่องเล่า     การจะทำให้แผนชุมชนมีคุณภาพต้องมีขั้นตอน/กระบวนการแผนชุมชน คำนึงถึงวิธีการได้มาของแผนชุมชน ไม่คำนึงถึงรูปเล่ม วิธีการได้มาของแผนชุมชนต้องทราบข้อมูลของหมู่บ้าน/ชุมชน มีจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรคอะไรบ้าง ศักยภาพเป็นอย่างไร เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนสู่แผนชุมชนได้ วิธีการดังกล่าวเกิดผลสำเร็จคือ การประเมินคุณภาพ แผนชุมชนของจังหวัดพะเยา แผนที่ได้รับการประเมินอยู่ในระดับ 3 A เนื่องจากมีเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำสตรี, กลุ่มผู้นำชุมชน, กลุ่ม NGO, มูลนิธิต่าง ๆ มีส่วนในการขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชนซึ่งสะท้อนความต้องการ/ปัญหาของชุมชนอย่างละเอียด มีโอกาสได้รับงบประมาณสนับสนุน/ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและนโยบายขององค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย โดยแผนชุมชนแบบพึ่งตนเอง (ทำเอง) มีโอกาสแก้ไขปัญหาในชุมชนได้สูง ปัญหาภาคส่วนราชการไม่นำแผนชุมชนไปใช้ประโยชน์ วิธีการแก้ไขคือ หลังจากได้แผนชุมชนให้ชาวบ้านสำนึกเสมอว่า ต้องทำตามแผนชุมชนที่ร่วมกันคิดขึ้นมาและต้องติดต่อประสานหน่วยงานช่วยเหลือสนับสนุนได้ แล้วพยายามผลักดันให้แผนชุมชนได้รับการสนองตอบ กระบวนการแผนชุมชน ต้องนำองค์ความรู้ให้ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน โดยเน้นกระบวนการแผนชุมชน ตามขั้นตอน ซึ่งจะทำให้มีแผนชุมชนตามความต้องการของชุมชน ในทางปฏิบัติปัญหาการจัดทำแผนชุมชนเกิดจากไม่รู้วิธีการ/ขั้นตอน/กระบวนการแผนชุมชนและวิธีการให้คนเข้ามามีส่วนร่วม วิธีการได้มาของข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล วิธีแก้ไขคือต้องให้องค์ความรู้ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน ให้สามารถเป็นวิทยากรกระบวนการของชุมชนเอง สามารถตั้งคำถามแก่ชุมชน และกระตุ้นให้ชุมชนได้ตอบปัญหาของตนเอง หาแนวทางแก้ไขปัญหาของตนเอง การบูรณาการแผนชุมชนระดับตำบลและระดับอำเภอ ต้องคุยกันและทำความเข้าใจเพื่อกำหนดทิศทางของตำบล/อำเภอหรือแนวทางของตำบล/อำเภอ นำแผนชุมชนมาบูรณาการ โดยบูรณาการโครงการที่สอดรับและสามารถตำเนินการไปในทิศทางเดียวกันได้ ซึ่งหัวใจการบูรณาการแผนชุมชน คือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงระหว่างท้องถิ่นกับท้องที่ ต้องเป็น ไปแนวทางเดียวกัน

ขุมความรู้
1. แผนชุมชนมีคุณภาพต้องมีขั้นตอน/กระบวนการแผนชุมชน คำนึงถึงวิธีการได้มาของแผนชุมชน ไม่คำนึงถึงรูปเล่ม
2. หัวใจการบูรณาแผนชุมชน คือสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงระหว่างท้องถิ่นกับท้องที่ ต้องเป็นไปแนวทางเดียวกัน
3. แผนชุมชนควรเริ่มที่ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน เน้นจากล่างสู่บน โดยนโยบายให้ความสำคัญแผนชุมชนยังไม่ต้องกำหนดกรอบ/รูปแบบ แต่ควรเน้นการจัดทำแผนให้ครบทุกด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ ความปลอดภัย โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ

แก่นความรู้
               แผนชุมชนมีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐานแผนชุมชน ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้านต้องมีองค์ความรู้และปฏิบัติตามขั้นตอน/กระบวนการแผนชุมชนอย่างเคร่งครัด

ข้อเสนอแนะ
             แผนชุมชนควรเริ่มที่ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้าน เน้นจากล่างสู่บน โดยนโยบายให้ความสำคัญแผนชุมชนยังไม่ต้องกำหนดกรอบ/รูปแบบ เพื่อให้ได้แผนชุมชนจากชาวบ้านโดยตรง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งต้องสร้างองค์ความรู้ให้ผู้นำชุมชน/กรรมการหมู่บ้านในกระบวนการแผนชุมชน

ผู้บันทึกข้อมูล ทีมสนับสนุนจังหวัดพะเยา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง

2 ความคิดเห็น:

  1. การถอดองค์ความรู้จากการเล่าเรื่องเป็นสิ่งที่ยาก..แต่ก็ไม่เกินความสามารถเพราะต้องมีทักษะในการฟัง การจับประเด็น และการถ่ายทอดโดยการเขียนพอสมควร ..ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน พวกเราพี่น้อง คงต้องช่วยๆ กันแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างสมำเสมอ แต่สิ่งสำคัญเมื่อถอดองค์ความรู้มาแล้ว การ RechecK กับผู้เล่าเรื่อง เป็นสิ่งสำคัญ..เพราะจะตรงกับใจ/หรือ ใช่..สิ่งที่อยากบอก หรือไม่...จริงไม๊จ๊ะ

    ตอบลบ
  2. "แผนชุมชน" เป็นเครื่องมือที่ดีมีประสิทธิภาพในการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชนของคนในชุมชนเอง ตั้งแต่ทำให้คนในชุมชนรู้จัก เรียนรู้ชุมชนตัวเองมากขึ้น รู้จัดจุดอ่อน จุดแข็งของชุมชน ปัญหาของชุมชน ทุนของชุมชน เห็นทิศทางการพัฒนาของชุมชน เห็นแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยวิธีการต่างๆ ฝึกการบริหารจัดการกิจกรรมแก้ไขปัญหา/พัฒนาชุมชน ในกิจกรรมที่ทำได้เอง การขอความร่วมมือจากภายนอก มาร่วมกันบริหารจัดการกิจกรรมแก้ไขปัญหา/พัฒนาชุมชน ในกิจกรรมที่ทำกันเองตามลำพังไม่ได้ เมื่อทำบ่อยๆ เข้า จะเกิดทักษะ มีความชำนาญ และมีความรอบรู้เพิ่มขึ้น ในที่สุดก็จะสามารถพึ่งตนเองได้ และพึ่งพากันได้ โดยจะไม่ปฏิเสธเพื่อนภาคีอื่นๆ

    ตอบลบ

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..