วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

บททดลองวิเคราะห์ประสบการณ์ ในการร่วมกันทำงานเป็นทีม

ชื่อเรื่อง:บททดลองวิเคราะห์ประสบการณ์ ในการร่วมกันทำงานเป็นทีม ที่ผ่านมา....
(โดยอาศัยแนวทางการเล่าเรื่อง/เขียนเรื่อง (Capturing Stories) โดยอาศัย 7 องค์ประกอบในงาน KM.)
ชื่อผู้เล่าเรื่อง: ....................................................................
1. ฉาก พื้นที่เกิดเรื่องนี้ ได้แก่ที่จังหวัดลำปาง เมื่อราวๆ 5 ปี มาแล้ว
2. สถานที่ที่เรื่องนี้เกิดขึ้น ; ในศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ ……
3. ตัวละครที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการด้านพัฒนาชุมชนและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน มากกว่า 40 ซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อน อีกกลุ่มหนึ่ง ที่มักมีกิจกรรมการใช้ชีวิตร่วมกันแบบเพื่อน
4. การกระทำของพวกเรา ตอนพวกเราทำงานอยู่เขตฯ ด้วยกัน พวกเรามักร่วมกันคิดในกลุ่มเพื่อนจำนวนหนึ่ง อย่างสม่ำเสมอ ว่าทำอย่างไร จึงจะทำให้เขตฯ ซึ่งเป็นที่ทำงานของพวกเรา น่าอยู่/น่าทำงาน มีสิ่งดีๆเกิดขึ้น เพื่อให้พวกเราทำงานแบบมีความสุข ปรกติพวกเรามักพูดคุยกันเสมอ หรือทานอาหารเที่ยงด้วยกัน จนกลายเป็นเรื่องปรกติ
5. สิ่งท้าทาย หรือปัญหาที่นำไปสู่การกระทำ พวกเรามักพบว่า ผู้บังคับบัญชาในยุคนั้น มักบริหาร หรือกระทำการต่างๆ ตามใจตนเองเสมอๆ และยังเป็นบรรยากาศการทำงาน ที่ดูเหมือนมีความเครียด และความกดดันในการทำงานอยู่มาก อีกทั้งทรัพยากร ในการทำงาน ก็ยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด ส่งผลให้การทำงานในแต่ละเรื่อง แต่ละครั้ง เต็มไปด้วยความยากลำบาก

              จุดพลิกผัน เรื่องนี้ก็คือ เมื่อเพื่อนๆ หลายคนมีโอกาสพบกันคุยกัน โดยเฉพาะการพูดคุย หรือมีความรู้สึกต่อเหตุการณ์ หรือเรื่องที่ทุกคนประสบในสถานการณ์การทำงานแบบเดียวกัน ทำให้เพื่อนๆหลายคนเกิดความรู้สึกกว่าการพบปะเป็นสิ่งดี ไม่เพียงแต่จะนั่ง หรือออกไปทานอาหารร่วมกันเป็นหมู่ แต่ยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ แม้ดูจะเป็นการระบายออกทางอารมณ์อย่างหนึ่ง แต่ในที่สุดเพื่อนหลายคนก็เห็นว่า การประชุม พบปะกันโดยเฉพาะในหมู่เพื่อนที่มีความสนิทชิดเชื้อกัน เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เพราะทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกเห็นใจกันและกัน และยังอาสาที่จะช่วยเหลือกันทำงานที่ต้องรับผิดชอบในสำนักงาน


                                                                             


                                                                               6.                        บทสรุป... แม้ว่าพฤติกรรม การอยู่ หรือทำงานของเพื่อนในเขตยุคสมัยนั้น ยังไม่มีใครสรุปเป็นหลักการ หรือทฤษฎี แต่เพื่อนๆหลายคน ก็เริ่มรู้สึกว่าการอยู่ เห็นหน้ากัน หรือทำงานร่วมกันเป็นสิ่งดี มีประโยชน์ เนื่องจากทำให้งานที่ยากๆ หรืองานที่ถูกมองว่าหนัก กลับกลายเป็นสิ่งไม่ลำบากไปทันที เพราะความเก่ง และความรับผิดชอบอย่างเต็มใจ ได้ถูกแสดงออกมาอย่างเต็มที่โดยไม่มีใครมาคอยสั่งการ เพียงแต่จะมีใครสักคน บอกให้เพื่อนๆ ทราบปัญหา/ความต้องการของตน เท่านั้นเอง โดยไม่ต้องยุ่งยาก ไม่ต้องมีหนังสือ เป็นลายลักษณ์อักษร แต่อย่างใด แต่ทุกคนอาสามาช่วยงานชิ้นนั้นๆ ทันที ทันใด นั่นคือ เพื่อนหลายคน ได้เรียนรู้โดยอัตโนมัติในเวลาต่อมาว่า การอยู่และทำงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ Peer group ในบรรยากาศของการทำงานที่มีความกดดันนั้น ช่วยแก้ปัญหาได้มาก บางที อาจนำไปสู่การสร้างวิธีการทำงานในเรื่องอื่นๆ ต่อไปได้ด้วย ประจักษ์พยานในเรื่องนี้ แม้ข้าพเจ้า รวมถึงเพื่อนๆ อีกหลายคนจะออกจากที่แห่งนั่นไปนานแล้ว แต่ยังมีเพื่อนอีกจำนวนมาก ที่ยังมีความทรงจำ พูดอากัปกริยาของเพื่อนอีกคนหนึ่งที่สร้างความตลกขบขัน และเป็นการทำงาน ที่ดูออกประหลาดๆ แต่ช่วยแก้ปัญหา และทำให้กลุ่มเพื่อนได้เรียนรู้ ด้วยความสุข สนุกสนาน....
                                                                                                      บุญส่ง เวศยาสิรินทร์