วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

เวทีเครือข่ายนักพัฒนาชุมชนภาคเหนือตอนบน(2)

        ภาคบ่าย...
            ในบรรยากาศสบายๆ  แต่มีสาระอยู่ในวงการพูดคุย เราจำต้องทิ้งประเด็นในภาคเช้าไว้ ทั้งที่เสียดาย หากมีเวลามากกว่านี้ เราจะได้รับรู้เรื่องราวการทำงานของคนในพื้นที่มากขึ้น ภาคบ่ายจึงเป็นการหาข้อคิดเห็นร่วมกัน ที่จะขับเคลื่อนเครือข่าย ให้มีก้าวแรกและก้าวต่อไป โดยมีข้อสรุปและเรื่องดีดี มาฝากไว้ตามประเด็นต่อไปนี้ ครับ

การพูดคุยในประเด็น “อยากเห็นเครือข่ายนักพัฒนาชุมชนภาคเหนือตอนบน เป็นอย่างไร”

 สะท้อนปัญหาการทำงานของคนพัฒนาชุมชน
    ในพื้นที่
 เครือข่ายฯ ต้องทำงานต่อเนื่องและมีการ
    เคลื่อนไหว เติบโตช้าๆแต่ยั่งยืน
 เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ๘ จังหวัดภาคเหนือ
    ตอนบน ควรสมัครเป็นสมาชิกและอยากให้เป็น
    สมาชิกทุกคน
 ไม่ยึดปริมาณ ควรเน้นคุณภาพ
 เริ่มจากจิตวิญญาณ สร้างจิตสำนึก
 ไม่ยึดติดระบบราชการมากเกินไปนัก
 มีการเชื่อมโยง ประสานงานในแนวราบ
 เป็นชมรมของนักพัฒนา
 ควรให้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง เป็น
    แกนหลักในการประสานงาน
 ควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
 มีการเชื่อมโยงงาน ช่วยเหลือกัน แลกเปลี่ยน
    ศึกษาดูงานในพื้นที่ร่วมกัน
 มีงาน กิจกรรมของเครือข่ายอย่างชัดเจน
 ควรหลอมรวมงานพัฒนา สร้างเสน่ห์ในงาน
    พัฒนาชุมชนออกมาให้ได้
 ควรสร้างทายาทนักพัฒนารุ่นใหม่
 ควรใช้งานหรือกิจกรรมตามประเด็นงาน ขับ
    เคลื่อนเครือข่าย เช่น งานวิจัย งานสถาบันการ
    จัดการเงินทุนชุมชน
 มีตัวแทนเครือข่ายระดับจังหวัด คล้ายๆสหกรณ์
    กรมการพัฒนาชุมชน
 ต้องมีผลประโยชน์ให้สมาชิกที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม
 มีวัตถุประสงค์ชัดเจน แน่นอน
 สะท้อนปัญหา ข้อเสนอแนะการทำงาน ถึงกรม และผู้บริหาร อย่างต่อเนื่อง
 พัฒนาการจังหวัด พัฒนาการอำเภอ ผู้บริหารทุกระดับ ควรสนับสนุนเครือข่ายฯ

การพูดคุยในประเด็น “ก้าวแรกของการทำงานเครือข่ายฯ ควรเป็นอย่างไร”

 ***มีการจัดทำปฏิทินการทำงานของเครือข่าย
***กิจกรรมของเครือข่าย ควรจัดทำตามประเด็น
      งาน เช่น การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงาน
      พัฒนาชุมชน เป็นเรื่องๆไป
***มีการเชื่อมประสานการทำงานระหว่างแม่ข่าย ลูก
      ข่าย ที่ชัดเจน ต่อเนื่อง
***ค้นหาปัญหา ความต้องการของสมาชิก
***สนับสนุนเผยแพร่ผลงานในพื้นที่ของสมาชิก
***รวบรวมองค์ความรู้ของสมาชิก เป็นคลังความรู้ พช. เพื่อเผยแพร่
***ตัวแทนเครือข่ายระดับจังหวัด ควรขยายผลแก่สมาชิกในพื้นที่
***มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดตลาดวิชาการ
***ประชาสัมพันธ์ให้ต่อเนื่อง
***ขยายผลการรับสมัครสมาชิกเพิ่มเติม
***จัดกิจกรรมพบปะในมวลหมู่สมาชิก

การพูดคุยในประเด็น “การสร้างช่องทางติดต่อสื่อสารของเครือข่ายฯ”

 จัดทำเว็บไซต์/เว็บบอร์ดเครือข่าย
 ใช้ระบบ OA ติดต่อสื่อสาร
 ใช้ช่องทางติดต่อหลากหลายรูปแบบให้มาก
     ที่สุด เช่น e-mail,msn,sms,skype,mobile phone
 จัดทำจุลสาร สื่อสิ่งพิมพ์ของเครือข่าย
 มีกิจกรรมร่วม หรือ จัดเวทีเครือข่ายสัญจร

       ทั้งหมดของวันนี้(๒๑ ก.ค.๕๓) คือ จุดเริ่มต้นของการรวมเพื่อสร้างพลังนักพัฒนา เราไม่อยากให้เกิดปรากฏการณ์เกิด-ดับ ในวันเดียวกัน แต่เส้นทางข้างหน้า ย่อมต้องพบกับอะไรอีกหลายสิ่งหลายอย่างเกินจะคาดเดา แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดพลัง ที่จะเดินต่อ คือ ความมุ่งมั่น ตั้งใจของผู้แทนที่เข้าร่วมเวที และคิดว่า สมาชิกทุกท่านทุกคน จับตารออยู่ว่า เราจะทำอะไร อย่างไร ต่อไป.........

               ก่อนเวทีจะยุติ ก่อนจะเดินทางกลับ หัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ได้สร้างความมั่นใจว่าศูนย์ฯ ขอรับอาสาเป็นแกนกลางประสานงานเครือข่าย โดยมี ๘ จังหวัดร่วมขับเคลื่อน และจะพยายามทุกวิถีทางที่จะสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายฯ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ที่จะเป็นคำตอบแห่งความสำเร็จ คือ ความร่วมแรงร่วมใจจากสมาชิกทุกคน และเห็นร่วมกันว่า ...เครือข่ายแห่งนี้ สามารถสร้างพลังในการทำงานพัฒนาชุมชน ของคนพัฒนาชุมชน ได้อย่างสมเกียรติ สร้างภาคภูมิใจร่วมกัน ในฐานะ คนบ้านเดียวกัน.... “พัฒนาชุมชน”
               ขอขอบคุณผู้แทนเครือข่าย ๘ จังหวัด....ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมให้ข้อคิดดีดี ให้และสร้างกำลังใจ 
นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง/สรุปและถอดประเด็นทีมงาน ศพช.ลำปางทุกคน....ร่วมงาน ร่วมเดินเวที ร่วมสนับสนุน จับประเด็น ให้ข้อเสนอแนะ และกำลังใจ

                                                                                            สรุปครั้งที่ ๑ : วันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
                                                                                                     พิเชฎฐ์ อาจสามารถ/เขียน...บันทึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..