วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการเขียนแผนที่ความคิด (Mind Mapping)




เจ้าขององค์ความรู้      นางสาววชิรญาณ์ แย้มเยื้อน


ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคล  ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง

ความเป็นมาและสถานการณ์       
            Mind Mapping  เป็นเครื่องมือหนึ่งในการถอดบทเรียนของตนเองเเละผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นความคิดเเละการจดจำในการเรียนรู้ ให้เป็นความรู้ที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น พัฒนาสมองส่วนตรรกะเเละส่วนจินตนาการ (สมองทั้ง ๒ ซีก) ไปพร้อมๆกัน สมองเกิดกระบวนการ Reflection สะท้อนผลการเรียนรู้ของตนเองด้วยตนเอง ทั้งยังช่วยฝึกตรรกวิทยาในการมองหลายอย่างให้เชื่อมโยงหรือ   เเยกส่วนหรือเส้นขนานหรือผสมผสานกัน ฝึกทักษะทางการคิด ได้แก่ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ได้ดีเยี่ยม ซึ่งหลักในการเขียน Mind Mapping ต้องเข้าใจรูปแบบวิธีการ ดังนี้ 
วิธีการ/ขั้นตอนการปฏิบัติ
ตัวอักษร ศิลปะ เเละข้อความ

ตัวอักษร กำหนดขนาดตามลำดับความสำคัญ หากหัวข้อก็ตัวใหญ่เเละรายละเอียดก็ตัวเล็กลง เเต่รายละเอียดก็ตัวใหญ่กว่าหัวข้อได้
ศิลปะ ใช้ตัวอักษรศิลป์ที่สวยงาม น่าสนใจ โดยใช้สีสันเพื่อความเข้าใจและการจดจำ จัดองค์ประกอบศิลป์เพื่อความสวยงาม เเละการจัดวางที่น่าอ่านทบทวน
ข้อความ สรุปประเด็นให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องอะไร เเละเป็นอย่างไร ใช้คำสั้นๆเข้าใจง่าย ไม่ควรใช้คำที่ยาวเเละเข้าใจยาก


 ตรรกวิทยาเเละความคิดสร้างสรรค์ 

ตรรกวิทยา ลำดับความสำคัญ ได้แก่ หัวข้อหลัก ประเด็น เหตุผลมาสนับสนุน เเละ หลักฐาน ใช้ความเชื่อมโยงไปสู่กันเเละกัน คำนึงถึงความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันเเละกัน หากไม่เชื่อมโยงกันให้เเยกส่วนกัน ความคิดสร้างสรรค์ รากไม้มีไม่จำกัด จะลากเท่าไหร่ก็ได้เเล้วเเต่เหตุผล


 รูปแบบที่หลากหลาย
  
ควรประเมินว่าเนื้อหาที่จะบันทึกสอดคล้องกับแบบใด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด สามารถผสมผสานกันได้ตามความเหมาะสม โดยมีรูปแบบต่างๆ ดังนี้
       - แบบรากไม้ เน้นการเชื่อมโยงเป็นสำคัญ
       - แบบ Concept map คือ การใช้รูปทรงเป็นทางการ วิชาการ เช่น ตาราง สี่เหลี่ยม เป็นต้น
       - แบบ Flow chart คือ เขียนรูปทรงเเล้ว ใช้ลูกศร เน้นแผนผังกระบวนทัศน์
       - แบบ Timeline คือ เน้นมิติเวลาเเละเหตุการณ์

           
              นอกกรอบที่ควรรู้
             
              การเขียนที่ดี ไม่ควรตีกรอบ ให้อิสระเพื่อให้การเขียนออกมาตามความคิดและความเข้าใจ
                 1.ควรเขียน mind mapping ในรูปแบบตนเอง
                 2.ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกันได้ด้วยเหตุผล เเละเชื่อมโยงกันไม่ได้ด้วยเหตุผล
                 3.ทุกรูปแบบการเขียนควรผสมผสาน เพราะรูปแบบเดียวอาจไม่สามารถเขียนสรุปเพื่อความเข้าใจได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..