วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคควรรู้การเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ




1.      ความรู้  ............เทคนิคควรรู้การเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ.............


2.      ชื่อเจ้าขององค์ความรู้..... นางบุษกร   หมอมูล....เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน...... 
3.      หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้  หมวดเทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง
4.      ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้
4.1   ที่มา  พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 /  ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 /  กฏกระทรวงตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560    
4.2   เป้าหมาย  ให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานจ้าง  มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่การเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ                 
5.       วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้ (อธิบายพอสังเขป)
5.1 ระเบียบฯ กำหนดให้ในงานซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ (ในที่นี้คือผู้อำนวยการศูนย์ฯ ผู้รับมอบอำนาจจากอธิบดีฯ) แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ฯ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ
5.2 กฎกระทรวงฯ ข้อ 5 ระบุว่าในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเล็กน้อยไม่เดิน 100,000 บาท จะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ตรวจรับพัสดุก็ได้ 
5.3  หน้าที่ของผู้ตรวจรับพัสดุ   ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุ/สถานที่ที่กำหนดในสัญญาหลักเกณฑ์การตรวจรับ  ตรวจให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่ตกลงในสัญญา  ระยะเวลาการตรวจรับ  ตรวจวันที่ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง/ตรวจให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด (ภายใน 5 วันทำการ)
5.4  กรณีตรวจรับถูกต้อง  รับพัสดุไว้ ถือว่าผู้ขาย ผู้รับจ้าง ส่งมอบถูกต้องครบถ้วน ณ วันที่นำพัสดุมาส่งมอบ และส่งมอบพัสดุให้เจ้าหน้าที่พัสดุ   ทำใบตรวจรับโดยลงชื่อเป็นหลักฐาน 2 ฉบับ ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ    รายงานผลให้หัวหน้าหน่วยงานผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบและสั่งการ
5.5  กรณีพัสดุที่ส่งมอบ ไม่ครบถ้วน/ไม่ถูกต้อง  รับเฉพาะพัสดุที่ถูกต้อง  มอบให้เจ้าหน้าที่พัสดุ  /ทำใบตรวจรับ 2 ฉบับ ส่งผู้ขายและเจ้าหน้าที่พัสดุ/ รีบรายงานหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อแจ้งผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ทราบภายใน  3  วันทำการ นับถัดจากวันตรวจพบ / สงวนสิทธิ์ปรับ (ส่วนที่ไม่ถูกต้อง) 
5.6  กรณีกรรมการตรวจรับบางคน/ผู้ตรวจรับพัสดุ ไม่ยอมรับพัสดุ  ให้ทำความเห็นแย้งไว้เสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อสั่งการ  ถ้า หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ สั่งการให้รับพัสดุไว้ ให้ดำเนินการออกใบตรวจรับให้ผู้ขาย ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ 
      6.  ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
6.1 เทคนิคและแนวทางในการทำงาน  ศึกษา  พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ 
ภาครัฐ พ.ศ.2560 /  ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ.2560 / กฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
ภาครัฐ พ.ศ.2560 / หนังสือเวียนคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร
พัสดุภาครัฐ

6.2 ข้อพึงระวัง  ต้องศึกษา  ตีความ พรบ. กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อสั่งการ หนังสือเวียนให้ถูกต้อง
6.3  ปัจจัยแห่งความสำเร็จ  ปรึกษาผู้รู้  เช่น คลังจังหวัด  กองคลัง กรมฯ  
6.4 ปัญหาและวิธีการแก้ไข  ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ ยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่  แก้ไข   
      โดยการจัดทำบันทึกองค์ความรู้แบบเฉพาะเจาะจงเกี่ยวข้องกับปัญหาโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการ 
      ปฏิบัติจริง
6.5 ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น  สามารถให้ผู้ได้รับการแต่งตั้ง มีความรู้ ความ
      เข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ผู้ตรวจรับพัสดุมากขึ้น 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..