วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ชุดความรู้การทำอาหารปลานิลแบบลดต้นทุน




ชื่อเจ้าของความรู้นายไกรฤกษ์...มูลเมือง...
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้  
หมวดเทคนิคการพัฒนาอาชีพครัวเรือนตามแนวทางสัมมาชีพ
ที่มาและเป้าหมาย..
                ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางได้ดำเนินการโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ ประจำปี 2561 หลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จำนวน 5 รุ่น จาก 8 จังหวัดพื้นที่บริการของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ได้แก่  แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา ลำปาง แพร่และน่าน  รวม  434 คน จากโครงการดังกล่าว ในกระบวนการของหลักสูตร ได้มีการถอดองค์ความรู้จากปราชญ์สัมมาชีพ และทำการคัดเลือกเรื่องราว ที่น่าสนใจไว้ศึกษา  เพื่อทำการต่อยอดและสร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญานั้นๆ  บันทึกไว้ 47 เรื่อง  ซึ่งมี 1 เรื่องสุดยอดของภูมิปัญญาที่สามารถนำมาต่อยอดเป็นนวัตกรรมและสอดคล้องกับจุดเรียนรู้ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางได้ คือ เรื่อง การผลิตอาหารปลานิลจากหญ้าเนเปียพันธุ์ปากช่อง 1
                  เพื่อร่วมกันพัฒนาสร้างสรรค์งานสู่นวัตกรรมที่เป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติราชการตามประเด็นยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนให้พึ่งตนเองได้ และเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือ สื่อ สนับสนุนปราชญ์สัมมาชีพ และศูนย์เรียนรู้ชุมชน ที่มาจากโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ ประจำปี 2561  
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง จึงได้จัดทำกิจกรรมต่อยอดในชื่อว่า “นวัตกรรมอาหารปลานิลถิ่นล้านนา”ขึ้น 
              วัตถุประสงค์
             1.เพื่อผลิตนวัตกรรมใหม่จากการถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชนสู่แผนการสอน และสื่อวีดีทัศน์
             2.พัฒนาองค์ความรู้เป็นผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง
วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้
     ระยะที่ 1  เมษายน 2561
          1.บันทึกเหตุผลเสนอขออนุมัติโครงการพร้อมรายละเอียดประกอบงบประมาณ
          2.ถอดองค์ความรู้การเลี้ยงปลานิลจากหญ้าเนเปียและเรียบเรียงกระบวนการ จากปราชญ์ชุมชน   นายสมชาติ ตันกุนะ  บ้านเลขที่ 227  หมู่ที่ 8 ตำบลแม่ปั๋ง  อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 
          3.ทำการบันทึกถ่ายทำเป็นวีดีทัศน์  ตัดต่อ  ใส่เสียงประกอบและเอ็ฟเฟ็กต่างๆผลิตเป็นแผ่นซีดี
           4.จัดทำชุดการสอนและสื่อมอบให้ปราชญ์ชุมชนนำไปใช้เป็นวิทยากรเพื่อประโยชน์แก่ชุมชนต่อไป




     ระยะที่ 2 พฤษภาคม 2561
          1.นำผลองค์ความรู้มาทดลองปฏิบัติ และปรับใช้กับบ่อปลาในศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง      
  
ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
                  ๑)ได้รับความร่วมมือจากผู้บังคับบัญชาและทีมงานด้วยความกระตือรือร้น

                  ๒)ได้สูตรการทำอาหารปลานิลจากหญ้าเนเปีย ปากช่องหนึ่งและหญ้าฤาษีนั่งยอง
                  ๓) เป็นนวัตกรรมใหม่
เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
                       ๑) ทีมงานต้องได้รับข้อมูล  มีความต้องการและ มีเป้าหมายเดียวกัน
                       ๒) มีการพูดคุย ประสานนอกแบบ

              ข้อพึงระวัง 
                       ควรมีการคำนวณงบประมาณให้รอบคอบเพียงพอต่อการปฏิบัติจริง
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
                       ๑) ความรู้  ความเข้าใจและมีเป้าหมายเดียวกันของทีมงาน
                       ๒) มีงบประมาณเพียงพอในการปฏิบัติจริง
                       ๓) ได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วย
               ปัญหาและวิธีการแก้ไข

                        งบประมาณน้อย แก้ไขโดยการบันทึกขออนุมัติปรับเกลี่ยรายการวัสดุ
                        ในวงเงินงบประมาณเท่าที่มีอยู่อย่างจำกัด
ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น
                        ผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำหน่วย และทีมงานมีความเข้าใจ พร้อมใจกันดำเนินงาน
                        ได้นวัตกรรมอาหารปลานิลสูตรใหม่และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ผลดี


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..