วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการออกแบบการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม



1. ชื่อองค์ความรู้        เทคนิคการออกแบบการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม

2. ชื่อเจ้าของความรู้   นางอัญชลี ป่งแก้ว
                             นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ   
3. หมวดองค์ความรู้ที่บ่งชี้   องค์ความรู้หมวดเทคนิคการเสริมสร้างองค์กรให้มีสมรรถนะสูง                                           
4. ที่มาและเป้าหมายของการจัดการความรู้
          ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางเป็นหน่วยฝึกอบรมของสถาบันการพัฒนาชุมชน และมักได้รับการร้องขอจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่  ให้สนับสนุนวิทยากรหรือออกแบบการเรียนรู้/การฝึกอบรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมโครงการนั้นๆ  การออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างหน่วยงานเจ้าของโครงการกับบุคลากรของศูนย์ฯ และระหว่างบุคลากรของศูนย์เอง จึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการออกแบบ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามโครงการ
5. วิธีการ/ขั้นตอนการจัดการความรู้
          1 เมื่อได้รับการประสานขอรับการสนับสนุนต้องศึกษารายละเอียดโครงการทั้งวัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับ รวมทั้งผลผลิตผลลัพธ์และตัวชี้วัดต่างๆ
          2 นัดหมายพูดคุยในรายละเอียดกับผู้ประสานงานเจ้าของโครงการในเบื้องต้น ทั้งเรื่องของวัตถุประสงค์กลุ่มเป้าหมายเวลาสถานที่วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
          3 ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง จากผลงานประสบการณ์ที่ผ่านมา จากอินเตอร์เน็ตคลิปวีดีโอสื่อต่างๆ และจากเครือข่ายผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ในพื้นที่
เครื่องมือวิเคราะห์สุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วม
วราลักษณ์ ไชยทัพ
ผาสุข แก้วเจริญตา
          4 ออกแบบการเรียนรู้แผนการสอนในเบื้องต้น
          5 ประชุมทีมงาน/ทีมวิทยากรในรายละเอียดและออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน
          6 แบ่งงานแบ่งวิชาให้ผู้รับผิดชอบไปออกแบบการเรียนรู้สื่อเทคนิคต่างๆ
          7 นำเสนอแผนการสอนและการออกแบบร่วมกัน เพื่อซักซ้อมขั้นตอนกระบวนการหรือทดลองใช้ เครื่องมือที่จะนำมาปรับใช้
          8 จัดทำเป็นสคลิปออกแบบ ให้เห็นภาพรวมในทุกขั้นตอนกระบวนการ
          9 ก่อนนำเสนอ/ประสานเจ้าของโครงการในการออกแบบแผนการสอนการเรียนรู้ให้เข้าใจร่วมกันก่อนวันดำเนินการ
          10 ดำเนินการตามแผนการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้
          11 สรุปบทเรียนเพื่อวางแผนปรับแก้ตามสถานการณ์นั้นๆ ในระหว่างการฝึกอบรม
          12 มีการประเมินผลโดยการสังเกตซักถามทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
6. ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้
6.1 เทคนิคและแนวทางในการทำงาน
ต้องชัดเจนในวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งผู้จัดทำโครงการและผู้ออกแบบการเรียนรู้
ใช้เครือข่ายที่ปรึกษาผู้มีประสบการณ์ในพื้นที่ตั้งข้อสังเกตให้คำแนะนำ
สื่อสารออกแบบการสอนการเรียนรู้ร่วมกันทั้งเจ้าของโครงการและทีมบุคลากร/วิทยากรของศูนย์เพื่อเป็นการพัฒนาคนพัฒนางานร่วมกัน
ใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ที่เหมาะสมมากกว่าการบรรยายทำความเข้าใจ
ใช้เครื่องมือออกแบบกระบวนการให้กลุ่มเป้าหมายได้ฝึกปฏิบัติและสรุปบทเรียนจากการปฏิบัติการเรียนรู้ในทุกกิจกรรม
ทีมวิทยากรทดลองใช้เครื่องมือเทคนิคต่างๆก่อนและเมื่อดำเนินการจะทำหน้าที่เพียงผู้เอื้ออำนวยเท่านั้น
การสื่อสารพูดคุยทั้งทีมศูนย์ฯและทีมเจ้าของโครงการจะทำให้กระบวนการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ดีที่สุด
6.2 ข้อพึงระวัง 
การเปลี่ยนตัวของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมต้องปรับวิธีการสื่อสารเทคนิคเครื่องมือให้เหมาะสม
เวลาที่จำกัดในการเตรียมทีมวิทยากร เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมายการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม
6.3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การสื่อสารร่วมกันระหว่างทีมศูนย์กับเจ้าของโครงการ
ประสบการณ์ความพร้อมของทีมวิทยากร
เทคนิคเครื่องมือกระบวนการเรียนรู้ที่ออกแบบได้อย่างเหมาะสม
เวลาที่เอื้อ
กลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อม
พื้นที่ศึกษาดูงาน สามารถสื่อสารถ่ายทอดแลกเปลี่ยนได้ดี
6.4 ปัญหาและวิธีการแก้ไข
กลุ่มเป้าหมายบางส่วนไม่ตรงตามโครงการทำให้ต้องปรับกระบวนการและรูปแบบการเรียนรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
เวลาเตรียมตัวซักซ้อมเครื่องมือของทีมวิทยากรน้อย ใช้วิธีถ่ายเอกสารคู่มือ ให้ศึกษาเพิ่มเติม
พื้นที่ศึกษาดูงานต้องใช้เวลาในการเดินทาง แก้ไขโดยประสานงานออกแบบร่วมกับพื้นที่ในการสื่อสารถ่ายทอดแลกเปลี่ยนในระยะเวลาที่เหมาะสม
6.5 ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องนั้น   
การออกแบบการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วม ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเทคนิคเครื่องมือไปปรับใช้ได้จริง
เป็นการพัฒนาบุคลากร/วิทยากรศูนย์และวิทยากรชุมชน
พัฒนาการออกแบบการเรียนรู้เป็นหลักสูตรแผนการสอนของศูนย์ได้












2 ความคิดเห็น:

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..