วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

หมู่บ้านปิดทองหลังพระ...หมู่บ้านพึ่งตนเอง..รูปแบบการขับเคลื่อนเครือข่ายขององค์กรชุมชน



รูปแบบการขับเคลื่อนเครือข่าย
ขององค์กรชุมชน...
หมู่บ้านปิดทองหลังพระ...หมู่บ้านพึ่งตนเอง...
ผู้นำเสนอ/เล่าเรื่อง..นายเสน่ห์ ซองดี
ตำแหน่ง..  ผู้ใหญ่บ้านปงถ้ำ
ที่อยู่   บ้านปงถ้ำ หมู่ที่ 3 ตำบลวังทอง อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
                บ้านปงถ้ำ มีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นและป่าเต็งรังปะปนกัน จึงมี
เป้าหมายทำบ้านปงถ้ำให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว  แต่เนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ที่บางส่วนยังต้องมีการฟื้นฟู จึงเริ่มจากการรณรงค์ให้ชาวบ้านร่วมใจกันปลูกป่าทดแทน และสร้างฝายกั้นน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรและอุปโภคบริโภค เริ่มจากเงินกองกลางของหมู่บ้านเพียง ๗๐๐ บาท ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเพื่อมุ่งหวังให้เป็นหมู่บ้านที่มีความอยู่ดีกินดี (๒๑๗ ครัวเรือน) มีความสุข และไม่เบียดเบียนธรรมชาติ แต่ปัญหาของหมู่บ้านที่สำคัญคือ การพัฒนาคน และการแพร่ระบาดของยาเสพติด ที่มีอัตราร้อยละ ๙๐ ของคนในพื้นที่  แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงเริ่มต้นจาก การจัดทำโครงการควาญช้างขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยให้โอกาสผู้หญิงมีอำนาจเต็มที่ในหมู่บ้าน เป็นการกระจายอำนาจการทำงานและการตัดสินใจ  สามารถตรวจค้นบ้านได้โดยไม่ผิดใจกัน สนับสนุนให้มีความร่วมมือของคนในหมู่บ้าน และรายงานความคืบหน้าของการทำงานเป็นโซน A B C D  ใช้เวลาในการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน สร้างการยอมรับของคนในชุมชนกว่า ๑ ปี ๖ เดือน หลังจากเข้ารับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน แปลงศัตรูคู่แข่งจากการเลือกตั้งให้เป็นมิตร  โดยให้สามารถตรวจสอบการทำงานของกรรมการหมู่บ้านได้ตลอด  เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างคู่ขนานและสันติ

                            วิธีคิด..วิธีปฏิบัติที่ได้ผล...
          -ปรึกษาผู้มีประสบการณ์..การทำงานกับชุมชน
          -ยึดต้นแบบการทำงาน...ดูการทำงานของในหลวงเป็นแบบอย่าง
          -เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน (ห้วยฮ่องไคร้)  และกัลยาณมิตร...
                  ( อ.สกล ศรีนุตร สำนักงานพัฒนาชุมชนลำปาง)  
          -วางเป้าหมายการทำงาน..
          เพื่อสร้างความเป็นกลุ่มก้อนในชุมชน เนื่องจากเป็นคนหนุ่มและเพิ่งจะรับตำแหน่งเผู้ใหญ่บ้าน จึงตั้งโจทย์การทำงานไว้ว่า จะทำอย่างไรให้กรรมการหมู่บ้าน ซึ่งมีประสบการณ์และอาวุโสกว่ายอมรับ
..และจะฟื้นฟูทรัพยากรมนุษย์อย่างไร ด้วยแนวคิดที่ว่า แม้ทรัพยากรธรรมชาติ/ป่าไม้จะถูกทำลายไป ก็ยังสามารถฟื้นฟูขึ้นมาได้ แต่เนื่องจากผู้ทำลายคือคนในชุมชน จึงต้องหาแนวทางแก้ปัญหาที่คนก่อน..
ทำบ้านปงถ้ำ..เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว..
          -วางกลยุทธ์ในการทำงาน
                    -ใช้ผู้หญิงขับเคลื่อนการทำงาน ให้อำนาจผู้หญิงเต็มที่..ในโครงการควาญช้าง
                              (เอาผู้หญิงเป็นควาญช้าง)
                   -ประสานภาคีเครือข่ายการทำงาน..แบบเข้าถึง..แบบเข้าหา..
                    ประสานตำรวจ/โรงพยาบาล โดยการเข้าไปให้ข้อมูลพูดคุยถึงปัญหาความต้องการและเขียนด้วยลายมือสำหรับหนังสือประสานงาน/ขอรับการสนับสนุน
                   -บริหารจัดการป่าโดยชุมชน..
                    ทำฝาย 113 ฝาย โดยไม่ใช้งบราชการ (ส่วนใหญ่มาจากเงินที่ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นศิลปินนักร้องนักดนตรี..ได้รับจากการร้องเพลง)
                   ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการป่าไม้...สำรวจพื้นที่ป่าด้วยระบบ GPS
                    ขอคืนพื้นที่ป่า 1,850 ไร่จากชาวบ้านที่บุกรุก โดยข้อตกลงและทำความเข้าใจร่วมกันของชุมชนและเจ้าหน้าที่ฯ..“พื้นที่เป็นของหลวง...ป่าเป็นของชาวบ้าน”
                   -สร้างพระพุทธรูป พระพุทธเจ้า 29 พระองค์ อ้างอิงจากพระไตรปิฏก ฉบับที่ 33 ที่ได้มาจากจังหวัดลำพูน
                   -ขับเคลื่อนชุมชน(บ้านปงถ้ำ) ให้เป็นศูนย์รวมข้อมูลครอบคลุมทุกเรื่อง..เป็นหมู่บ้านสารสนเทศชุมชน
                   -รวมกองทุนในชุมชนเป็นหนึ่งเดียว (7 ล้านกว่าบาท)




ดร.ปรีดีสรุปเพิ่มเติมว่า..ท่านเป็น Leadership...ประสาน 10 ทิศ และมีกลยุทธ์ในการทำงานมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จะประสานเครือข่ายทันที และมีแนวคิดการทำงานคือ..จัดบ้านของตนเองก่อน...
ต้นทุนที่สำคัญของบ้านปงถ้ำ  คือ ประสบการณ์ของผู้นำที่เห็นโลกกว้างมีวิสัยทัศน์ และมีแรงบันดาลใจ
ที่อยากจะกลับมาพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง 


                                                   ผู้บันทึก... นางอัญชลี ป่งแก้ว นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
                                                                     นางสาววชิรญาณ์ แย้มเยื้อน นักทรัพยากรบุคคล

( เวทีแลกปลี่ยนประสบการณ์งานพัฒนาชุมชน..สู่การสร้างเครือข่ายผู้นำการพัฒนา/โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ   ”เครือข่ายผู้นำการพัฒนา:พลังขับเคลื่อนชุมชน” ประจำปี 2558 วันที่ 2 – 4 มิถุนายน 2558 ห้องประชุมศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง )





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..