วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

การทำเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง



      การทำเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
เจ้าขององค์ความรู้  
นางจีรภา จันทร์ชื่น                         
ที่อยู่    209 ม.5 บ้านป่าลัน ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
เบอร์โทรศัพท์    061-2679998
ความเป็นมา แรงบันดาลใจ/เหตุผลที่ดำเนินการ
          - ในปี พ.ศ. 2556 พัฒนากร (คุณอาทิตย์ ตาลผัด) ดำเนินการฝึกอบรมโดยเชิญ เจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดิน (ร.อ.พรศักดิ์ บุตรเมือง) มาให้ความรู้เรื่องการทำเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
         
          - ต้องหาเลี้ยงครอบครัว และเลี้ยงดูบุตร
          - ต้องการลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะเคมีในการทำเกษตรกรรม
          - ต้องการลดรายจ่าย เพิ่มการพึ่งตนเองในครัวเรือน
วัตถุประสงค์
          - เพื่อลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต ลดสารพิษในร่างกาย
          - ต้องการเพิ่มผลผลิต มากกว่าการใช้สารเคมี
วัตถุดิบ
          - น้ำสะอาด ห้ามมีคลอรีน และจุลินทรีย์ (น้ำดื่มขวด 6 ลิตร)
          - หัวเชื้อจุลินทรีย์สูตรเฉพาะ (ของตัวผู้นำ)
          - ไข่ไก่ ( 1 ฟอง / 1 ขวด )
          - ผงชูรส (อายิโน๊ะโมโต๊ะ)
อุปกรณ์
          - ขวดน้ำ ( 6 ลิตร ) ใส ที่แสงแดดสามารถผ่านได้
กระบวนการ/ขั้นตอนการทำ (ทำอย่างไร)
          1. เตรียมน้ำสะอาด ไข่ไก่ หัวเชื้อจุลินทรีย์ และผงชูรสให้พร้อม
          2. นำน้ำสะอาดในขวด 6 ลิตร มาเทออกให้เหลือ 3 ลิตร
          3. ตอกใข่ไก่ และตีไม่เหมือนไข่เจียว (ละลายเข้ากัน) โดยควรเป็นไข่ใหม่ หรือจากไก่ที่เลี้ยงโดยวิธีชีวภาพ
          4. ตักไข่ไก่ที่ตีแล้ว 3 ช้อนโต๊ะ ผสมลงในขวด
          5. ใส่ผงชูรส 1 ช้อนชาในขวด
          6. เขย่า ประมาณ 100 ครั้ง ขวดน้ำที่ผสมแล้วจนมีฟอง
          7. ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ (สังเคราะห์แสง) ลงในขวดจำนวน 1 ลิตร
          8. ใส่น้ำที่เทออกมาในขั้นตอนที่ 2 กลับลงในขวด จนฟองถึงปากขวด และปิดฝา
          9. นำขวดน้ำที่ผสมและปิดฝาแล้วไปวางตั้งตากแดด 1-3 เดือน
ผลที่เกิดขึ้น (น้ำแดง)
          - ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง
          - สามารถทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ให้คนในชุมชน
          - ผลผลิตดีขึ้น ลดค่าปุ๋ย ลดต้นทุนการผลิต
          - ส่วนผสมใช้จุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร (ขึ้นกับสูตรในการบำรุงพืชต่างๆ)
          - ทำให้พืชดูดทรัพย์อาหารได้ดีขึ้น ดินมีค่า PH ที่เหมาะสม
          - นำไปใช้กับสัตว์ เช่นวัว แก้ปากเปื่อยเท้าเปื่อย หรือใส่บ่อปลา เป็นต้น
ข้อพึงระวัง
          ระวังไม่ให้น้ำที่ผสมโดนมือ หรือติดเชื้อจากน้ำไม่สะอาด หรือจากไข่ไก่ ซึ่งหากเกิดขึ้นและติดเชื้อจนมีสีเขียว จะต่อเชื้อไม่ได้
ข้อเสนอแนะ
          - ภาชนะ ต้องสะอาด
          - เวลานำการทำเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่เหมาะสม ได้แก่ 6.00 – 14.00 น. (ขยายเชื้อ) ต้องอยู่ในที่แสงแดดส่องถึง
ข้อคิด
          - ไม่เป็นน้ำล้นแก้ว เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ
          - เกษตรควรเปลี่ยนวิธีคิด ไม่อยู่ในวงจรที่ต้องพึ่งคนอื่น
ชื่อผู้สัมภาษณ์   .........นายณัฐนิช รักขติวงศ์................................
ตำแหน่ง          .........นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ.................
วันที่สัมภาษณ์   ................8 ธันวาคม 2559.............................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..