วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เทียนหอม(5):เยาวชนสืบสาน

 เจ้าของความรู้ : นางธนิดา วงศ์ศิริ  
                              ร้านจิรภาเทียนหอม ลำปาง

                              โทรศัพท์ : 085-7072525

เรื่องเล่า..  สมัยก่อนมนุษย์ยังไม่มีไฟฟ้า การดำรงชีพจึงลำบาก เพราะมนุษย์ต้องการความอบอุ่น การดำรงชีวิตมานับแต่โบราณ มนุษย์ดึกดำบรรพ์เริ่มด้วยการนำก้อนหินมากระทบกันจนเกิดประกายไฟ และนำมาหุงหาอาหารและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย รวมทั้งทำให้เกิดแสงสว่าง มนุษย์ดำเนินชีวิตมานับหมื่นปีโดยการสืบทอดเป็นอารยะธรรมมาจนถึงปัจจุบัน

                                แนวความคิดในการผลิตเทียน


             คุณธนิดา วงศ์ศิริ เห็นคุณค่าของความงามแห่งเทียน ได้ผสมผสานศิลปะศาสตร์แขนงต่างๆ ในการทำเทียนหอม งานแต่ละชิ้นผ่านกระบวนการถ่ายทอดด้วยความคิดและงานฝีมืออันประณีต งานทุกชิ้นทำด้วยความรัก มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ตลอดเวลา ตามความต้องการของตลาด จนทำให้เกิดร้านจิรภาเทียนหอมขึ้น ในปี พ.ศ. 2547 และได้ผ่านการคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP ได้ระดับ 5 ดาว ในครั้งแรกเลย    ซึ่งภาคภูมิใจกับรางวัลนี้มาก



เอกลักษณ์ /จุดเด่น




1) มีกลินหอม สีสรรสวยงาม
                           2) ระยะเวลาใช้งานได้นาน
                           3) ปลอดภัยในการใช้งาน
                           4) หลากหลายรูปแบบ (ปั้นได้หลากหลาย
                           5) ไม่มีควัน
                           6) จุดเพื่อให้มีกลิ่นหอมไล่กลิ่นอับ ไล่แมลง /
                               กลิ่นหอมทำให้ผ่อนคลาย
                           7) เป็นของใช้ประดับตกแต่ง
                           8) เป็นของฝาก /ที่ระลึก /ของชำร่วย

วิถีชีวิต

เนื่องจากปัจจุบัน วิถีชีวิตของมนุษย์ต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบแข่งขันทั้งกับผู้อื่น และแข่งกับเวลาจึงทำให้เกิดความเครียด และได้เริ่มหันมาใช้กลิ่นหอมเพื่อบำบัดกันมากขึ้น การจุดเทียนให้มีกลิ่นหอม เพื่อช่วยผ่อนคลายจึงได้รับความนิยมกันมากขึ้น

                                                วัตถุดิบที่ใช้ในการทำเทียน
1. พาราฟิน เป็นวัตถุดิบ ได้มาจากขบวนการกลั่นน้ำมัน พาราฟินส่วนใหญ่นำเข้ามาจากญี่ปุ่น
และจีน โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 Normal Paraffin พาราฟินชนิดนี้มีสีขาวขุ่น บางครั้งจะมีสีเหลือง มีกลิ่นคล้ายน้ำมันก๊าด พาราฟินชนิดนี้มีควันมาก
1.2 Fully Paraffin พาราฟินชนิดนี้ มีสีขาวใสไม่มีกลิ่น โดยนิยมนำมาทำเทียนแฟนซีประเภทสวยงาม
2. Stearic Acid มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น ใช้ผสมในการทำเทียน ประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ
สำหรับเทียน ครึ่งกิโลกรัม ช่วยทำให้เทียนเหนียวแน่น ไม่แตกหักง่าย และแกะออกจากพิมพ์ง่าย ทำใหผิวเทียนมีความมันเงา
3. Polyester Esterrin ( P.E. ) มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น เกล็ดจะมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ
เล็กกรอบ ใช้ผสมในการทำเทียนประมาณ 3-10 % ของน้ำหนักพาราฟิน ช่วยทำให้เทียนแข็งและจุดได้นานมากขึ้น
4. Micro Wax มีลักษณะเป็นแผ่นสีขาวนวลหรือสีเหลือง แล้วแต่คุณภาพ ใช้ผสมในเทียน     ประมาณ 30 % มีคุณสมบัติช่วยทำให้เนื้อเทียนไม่มีฟองอากาศ และเนื้อเทียนจะเนียนสวยงามและใช้กับเทียนที่ดึงจะทำให้เทียนดึงได้ง่ายขึ้น
5. ไส้เทียน ต้องทำจากเส้นด้าย 100% ไม่มีใยสังเคราะห์ใด ๆ เจือปน เวลนำเส้นฝ้ายขนาดตาม
ความเหมาะสมของขนาดตามเส้นผ่าศูนย์กลางเทียน ชุบน้ำเทียนร้อนแล้วดึงให้ตึงผึ่งลมประมาณ 3-5 นาที  ไส้เทียนจะแข็งใช้ปักลงในเทียน การคำนวณขนาดไส้เทียน ให้ใช้สูตร 1/15 x เส้นผ่าศูนย์กลางของแบบเทียน
6. Oil color สีเฉพาะสำหรับการผสมเทียนเท่านั้น แบ่งออกเป็น ชนิดผง ชนิดแท่ง ชนิดครีม
7. Essential oils หรือ Fragrance oil หรือ เรียกว่า น้ำมันหอม สกัดจากวัตถุดิบทางธรรมชาติหรือบางชนิดได้จากการสังเคราะห์ การทำเทียนที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม จะไม่ใช้น้ำหอมที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และน้ำเพราะจะเป็นไขมัน

             
                

                                      กระบวนการผลิต


อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเทียน
1. หม้อต้มเทียนมีด้ามจับ เวลาเทเทียนจะได้ไม่ร้อน
2. กะละมัง หรือ กระป๋องนมเก่าใบเล็ก ๆ หรือแก้วที่ทนความร้อน ใช้สำหรับแบ่งน้ำเทียน
3. ทัพพี สำหรับตักน้ำเทียน
4. คีมเหล็กสำหรับจับวัสดุอื่นในการทำเทียน
5. ถุงมือสำหรับจับของร้อน
6. กาต้มน้ำเล็กสำหรับเทน้ำเทียน
7. เกรียงเหล็ก
8. แผ่นกระจก
9. มีดเล็กสำหรับขูดน้ำเทียนออกเวลาเทียนเลอะ
10. กรรไกร
11. ถ้วยพลาสติกใช้แล้ว สำหรับใส่น้ำเปล่า
12. ไส้เทียนทำจากฝ้ายดิบ 100%                                                                                                 
 สูตรน้ำเทียน

- พาราฟิน 500 กรัม
- พี.อี. 25 กรัม
- ไมโครแว๊กซ์ 25 กรัม
- สเตียริค 10 กรัม
- สีน้ำมัน
- น้ำมันหอม
- ไส้เทียน                               

                         ขั้นตอนการทำเทียนโดยละเอียด


1. ต้มเทียนโดยใส่ส่วนผสมในหม้อ ตั้งบนเตา ซึ่งประกอบด้วย พาราฟิน 1 กก. สเตียริค 4 ช้อนโต๊ะ พี.อี 4 ช้อนโต๊ะ ให้ใส่ส่วนผสมทั้ง 3 ชนิดก่อน ต้มจนละลายเป็นเนื้อเดียวกันจนใส ปิดเตาทิ้งไว้ให้อุณหภูมิลดลงประมาณ 10 องศาเซลเซียส เติมสเตียริค คนจนละลาย รอจนน้ำเทียนขึ้นสีขุ่นขาว จึงนำมาใช้เทต่อไป
2. ระหว่างการเติมน้ำเทียนและรอให้น้ำเทียนได้ที่ นำเซรามิกมาทำความสะอาดและเตรียมไส้
เทียนโดยนำฝ้าย 100 % มาตัดให้มีความยาวประมาณ 50-80 ซม. นำไปจุ่มในน้ำเทียนที่ต้มเสร็จแล้ว ดึงไส้เทียนให้ตรงแล้ววางบนหนังสือพิมพ์ทิ้งไว้จนไส้เทียนแข็งตัว แล้วนำไปตัดตามความยาวที่ต้องการ
3. นำไส้เทียนที่ตัดแล้วนำมาใส่เหรียญเทียน ใช้คีมหนีบใส้ให้ติดกับเหรียญก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง
4. การเตรียมสี ให้ตักน้ำเทียนแยกออกมา 2 ทัพพี ใส่กระป๋องนมเก่า ทิ้งไว้ให้เย็นจนเกือบแข็งตัว
จึงใส่สีผสมเทียนลงไปและใช้ซ่อมคนจนสีแตกตัวแล้วนำไปตั้งไฟอีกครั้งจนน้ำเทียนละลาย ต่อจากนั้น แบ่งไปผสมในน้ำเทียนให้มีสีอ่อนหรือเข้มตามต้องการ แล้วให้เติมน้ำมันหอมระเหย 7 ซีซี ต่อ 1 กก. ก่อนนำไปเทในแม่พิมพ์ หรือนำไปทำชิ้นงานต่างๆ
5. การเตรียมถ้วยเซรามิกก่อนเทเทียน ให้นำถ้วยเซรามิกมาวางบนโต๊ะและนำไส้เทียนที่ใส่
เหรียญเทียนมาแล้ว มาวางตรงกลางของถ้วยเซรามิก แล้วใช้ไม้เสียบลูกชิ้นที่ผ่าลงครึ่งหนึ่งนำมาหนีบกับไส้เทียน วางพาดปากถ้วยเซรามิก ดูให้ไส้เทียนตั้งตรง รักษาระดับให้ไส้เทียนอยู่ตรงกลางถ้วยเซรามิกพอดี
6. การเทเทียน ให้ตักน้ำเทียนที่ผสมทุกอย่างแล้วใส่ในกาต้มน้ำเล็ก ๆ จะใช้กระป๋องนมเก่าก็ได้
แล้วเริ่มเทลงในถ้วยเซรามิค โดยจะต้องแบ่งการเทออกเป็น 4 ครั้ง แต่ละครั้งต้องทิ้งไว้ให้เทียนเย็นก่อนเสมอจึงเทรอบต่อไป สำหรับการปิดหน้าครั้งสุดท้ายจะต้องรอให้เทียนเย็นสนิท อย่างน้อยต้องรอประมาณ 3 ชม. ก่อนที่จะเทปิดเสมอ
7. หลังจากที่เทียนแข็งตัวแล้ว ให้ดึงไม้เสียบลูกชิ้นออก แล้วตัดให้ไส้เทียนเหลือประมาณ 1.5-2
ซม. และทำความสะอาดด้านนอกของเซรามิกให้สวยงาม เทียนพร้อมใช้งานหรือนำไปจำหน่ายต่อไป
8.ตกแต่งและบรรจุภัณฑ์
         


ตลาดในประเทศ ส่วนแบ่งทางการตลาดภายในประเทศ 30 %
ตลาดต่างประเทศ ประเทศหลักๆ ในการส่งออก มี 5 ประเทศ คือ  จีน ญี่ปุ่น อเมริกา ออสเตเรีย และฝรั่งเศส คิดเป็น 70 %

การส่งเสริมการขาย   มีบริการหลังการขาย เปลี่ยนคืนสินค้าที่ชำรุดในระหว่างการขนส่งให้ลูกค้า

                                                                         บันทึกข้อมูลภูมิปัญญาโดย... กลุ่มเยาวชนสืบสานฯ


1 ความคิดเห็น:

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..