วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เยาวชนเรียนรู้(3)ข้าวแต๋นน้ำแตงโม

เจ้าของความรู้ : นาง เกศกนก  แสงจันทร์ 
                    ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
                    ผู้ผลิตข้าวแต๋นบ้านทุ่งม่านเหนือ

    อ.เมือง จ.ลำปาง 52100
    เบอร์โทรศัพท์ : (054)-360088 081-7067226
 
     




เรื่องเล่า...ข้าวแต๋นเป็น..ขนมพื้นบ้านหรือเป็นอาหารว่างของชาวภาคเหนือในประทศไทย ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นบ้านที่แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองที่บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และนำมาทำเป็นขนมพื้นบ้านเพื่อถนอมอาหาร บอกเล่ากันว่าในอดีตชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ทำสวน มีรายได้น้อย ในแต่ละวันเวลากินข้าวเหนียวเหลือ ก็จะนำไปตากแห้งเก็บเอาไว้ทอดกิน คือ เป็นการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด อีกทั้งยังนำมาราดน้ำอ้อยทำเป็นขนมให้เด็กๆ กิน จากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สืบทอดกันมา จนพัฒนาเป็นข้าวแต๋น และได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ จากที่เคยทำเพื่อเป็นการถนอมอาหารสามารถเก็บมากินได้นานๆ ไม่ค่อยมีรสชาติ ก็สามารถนำมาผสมกับน้ำแตงโม น้ำตาล น้ำอ้อย เกลือ และแต่งหน้า อีกทั้งยังสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ข้าวแต๋นหน้าน้ำตาล ข้าวแต๋นหน้าพริกเผาหมูหยอง ข้าวแต๋นหน้าธัญพืช ข้าวแต๋นแบบคำเดียว เป็นต้น จึงทำให้กลายเป็น “ข้าวแต๋นน้ำแตงโม ” มาจนถึงทุกวันนี้



วิถีชีวิต วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม..  เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณี
          ดั้งเดิม : ข้าว เพราะคนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลักอยู่แล้ว เพราะข้าวเป็น
วัสดุหลักในการผลิต  การเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนในชุมชน :
1. ทำให้ชุมชนมีรายได้
2. คนในชุมชนไม่ว่างงาน
3. หลังฤดูเก็บเกี่ยว สามารถทำเป็นอาชีพเสริม
4. วัตถุดิบที่ใช้สามารถหาได้ในท้องถิ่น

                                                            กระบวนการผลิต

               วัตถุดิบในการผลิต
1. ข้าวเหนียว 5 กิโลกรัม  2. แตงโม 5 ถัวยตวง  3. เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ   4. น้ำอ้อย 300 กรัม
5. น้ำ 5 ถ้วยตวง  6. น้ำตาลปิ๊บ  7. น้ำมัน  8. งาขาว,งาดำ  9. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
10. เมล็ดฟักทอง 11. ถั่วเหลืองผ่าซีก 12. น้ำพริกเผา 13. หมูหยอง 14. ลูกเกด

              วัสดุอุปกรณ์ในการผลิต
1. กระทะทอด 2. ตะแกรงมุ้งลวง 3. กระชอน 4. กะละมัง  5. แบบพิมพ์ 6. ถาดใส
7. เครื่องซิล  8. กระทะไฟฟ้า 9. หม้อนึ่งข้าว 10. ถาด 11. ทัพพี 12. เครื่องปั้น
13. ถุงแก้ว 14. เตาแก๊ส 15. ตาชั่ง





ขั้นตอนการผลิต
1.1 ขั้นตอนการทำแผ่นแห้ง
1. แช่ข้าวเหนียวทิ้งไว้ 1 คืน นึ่งให้สุกผึ่งให้เย็น
2. นำแตงโมที่เตรียมไว้ มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ คั้นเอาแต่น้ำ
3. นำน้ำแตงโม น้ำอ้อยผง เกลือป่น น้ำเปล่า ที่เตรียมไว้ นำมาผสมให้เข้ากัน
4. นำส่วนผสมที่เตรียมไว้และงาขาวพอประมาณมาคลุกเคล้ากับข้าวเหนียวให้เข้ากัน
5.นำข้าวเหนียวที่ได้ กดลงในพิมพ์ที่เตรียมไว้ แล้วตากในแผงมุ้งลวด ประมาณ 2-3 แดด

1.2. ขั้นตอนการทอด

1. เตรียมน้ำมัน ตั้งไฟให้ร้อนจัด ต้องทอดขณะน้ำมันร้อนจัดเท่านั้น
2. นำแผ่นแห้งที่เตรียมไว้มาทอด ต้องสังเกตให้สุกได้ที่ จึงตักใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
3. ทิ้งไว้ให้เย็น เตรียมรอนำมาแต่งหน้า

1.3 ขั้นตอนการแต่งหน้า

1. นำน้ำตาลปิ๊บมาเคี่ยว โดยใช้ไฟปานกลาง เคี่ยวให้เหนียวพอประมาณ
2. ใส่น้ำอ้อยลงไปพอประมาณ แล้วเคียวต่อสักพัก
3. นำช้อนมาตักน้ำตาลราดหน้าข้าวแต๋น ที่ทอดเตรียมไว้ ทีละแผ่น โดยราดให้เป็นเส้นเล็กๆ เป็นวงกลมตามแผ่น
4. นำแผ่นที่ทำไว้เตรียมมาแพ๊กใส่ถุง
5. นำถุงที่แพ็กแล้ว มาปิดปากถุงด้วยเครื่องซีล เสร็จแล้วจีบให้สวยงาม

รูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์


การจดทะเบียนรัฐวิสาหกิจชุมชน รหัสทะเบียน 6-52-01-14/1-0002
- สุดยอดศูนย์การเรียนรู้ อย. ชุมชนต้นแบบ ด้านความเข้มแข็งกลุ่มสุดยอด
- รางวัลชนะเลิศการประกวดคัดสรรสุดยอดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ปี 2549
- ได้รับคัดเลือกการคัดสรรผลงานด้านอาหารพื้นบ้าน ประเภทของคาวหวาน
- ได้รับรางวัลจากกระทรวงสาธารณสุขด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน

รายได้จากการจำหน่าย
              รายได้จากนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมชุมชน โดยการซื้อผลิตภัณฑ์เป็นของฝาก ของกินเล่น รายได้จากการจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง มีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 100,000 บาท

ตลาดหรือแหล่งรับซื้อ
1. ชุมชน 2 .กรุงเทพมหานคร 3.ตลาดทุ่งเกวียน 4.ตลาดอัศวิน  5.ร้านขายของชำทั่วไป

วิธีการทางการตลาด
1. ขายแผ่นแห้งสำหรับทอด                                        
2. ขายทั้งปลีก และส่ง
3. จากการมาเที่ยวชม ศึกษาดูงาน
4. การเป็นวิทยากร

                การส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์
1. งานแสดงสินค้า
2. วิทยากร
3. การศึกษาดูงาน
จุดเด่น เอกลักษณ์ หรือจุดขายของผลิตภัณฑ์

                                         จุดเด่น เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
                             หอม กรอบ อร่อย สามารถรับประทานเป็นอาหารว่าง หรือ รับประทานกับนม กาแฟ ในตอนเช้า และยังสามารถนำเป็นของฝากได้

จุดขายของผลิตภัณฑ์   สด ใหม่ มีให้เลือกหลากหลาย ทั้ง ข้าวแต๋นหน้าน้ำตาล ข้าวแต๋นหน้าธัญพืช ข้าวแต๋น  หน้าพริกเผาหมูหยอง ข้าวแต๋นแบบคำเดียว ข้าวแต๋นรูปทรงโดนัท เป็นต้น


ปัญหาในการผลิต + วิธีการแก้ปัญหา
1. ตอนเริ่มทำ ยังไม่ได้มาตรฐาน  +  ลองผิดลองถูก
2. แผ่นเสีย  +ขายในราคาถูก และนำไปเป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยง
3. ขาดแรงงานในช่วงฤดูกาล + รับสมัครแรงงานจากหมู่บ้านอื่น
4.ธรรมชาติ   + ใช้ตู้อบ
5.วัตถุดิบขาดตลาด  + สอบถามจากเครือข่าย




                                                                               บันทึกภูมิปัญญาโดย....สมาชิกกลุ่มสีม่วง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..