วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มองย้อนหลังปี 2553..ดูก้าวย่างของทีมkmศูนย์ฯลำปาง



เริ่มจากการ...พูดคุยกันว่าเขต5 ของเรามีเรื่องราวเล่าขานจากคนเก่าคนแก่..คนจะเกษียณอายุ..คนที่เคยอยู่เคยใช้ชีวิตที่นี่...ล้วนแต่เรื่องน่าสนใจ..น่าประทับใจ..แต่ก็เป็นแค่การเล่าขาน..พูดคุยในวง..เล็กๆ..พวกเราได้แต่ฟัง..คิด..วาดภาพตาม..แล้วก็ลืมเลือนไป..

               ปลายปี พ.ศ.2548  กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล ศพช.เขต 5..(หัวหน้าปัญญา เจนสาริกา/คุณกิจวัฒน์ ผุสดี...)เสนอแผนงานพัฒนาการจัดการความรู้ของบุคลากร ศพช.เขต 5 ลำปางขึ้น..ด้วยแนวคิดที่มาจากการมองเห็นบุคลากรคนสำคัญๆ เช่น พี่นพพร นิลณรงค์ ลาออกจากราชการไป...พร้อมกับความรู้ประสบการณ์มากมายในตัวพี่นพพรก็ติดตามตัวไปด้วย..ไม่ได้มีการบันทึกจัดเก็บไว้ นอกเหนือจากการผ่องถ่าย..ซึมซับ..ผ่านการทำงานร่วมกันฉันท์พี่น้อง..และมันเป็นการถ่ายทอดความรู้/ประสบการณ์จากคนต่อคนที่ใกล้ชิด..ไม่กี่คน...
               พากันไปศึกษาดูงานการจัดการความรู้ที่ โรงพยาบาลบ้านตาก ( 18 มกราคม 2549 )..ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่/คุณหมอ พยาบาลฯลฯ..ทำให้เข้าใจKM มากขึ้น ว่าเป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติงานทุกคน...และเป็นเรื่องการทำงาน..การพัฒนางาน...แล้วเอามาแชร์มาแลกเปลี่ยนกัน..แก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้วยกันของทีมงาน...ทั้งทีมงานเล็กๆ แล้วรวมเป็นทีมงานใหญ่..จนเป็นKMกันทั่วทั้งองค์กร..
               ประสานสถาบันส่งเสริมความรู้สู่ชุมชน(สคส.) โหนดตั้งที่ ม.นเรศวร พิษณุโลก..มาเป็นวิทยากรให้..ในโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้ของบุคลากร ศพช.เขต 5...วันที่ 16 - 17 มีนาคม 2549 
               จัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เอื้ออำนวยการเรียนรู้ (facilitator) ...ที่บ้านต้นไม้..ไร่สะท้านไตรภพ อ.เกาะคา จ.ลำปาง ระหว่างวันที่ 30 - 31 พฤษภาคม 2549



               ....................................
                ปี 2550..การจัดการความรู้ภายในเขต 5 ยังคงมีทีมงานวิชาการของกลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นหลัก..กระบวนงานจะเป็นการวางระบบการจัดการความรู้ของ ศพช.เขต 5 
            *1.การวางระบบการจัดการความรู้ ศพช.เขต 5
            *2.การรวบรวมชุดความรู้
            *3.การเพิ่มศักยภาพการเป็นผู้เอื้ออำนวยกระบวนการกลุ่ม(facilitator)
            *4.สรุปบทเรียนการทำงานผ่านเวทีแลกเปลี่ยน(เวทีวันพุธ)
            *5.สนับสนุนการจัดทำ Best Practice หมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข
              .......................................
              ปี พ.ศ.2551..มีการสรุปบทเรียน..และวางแผนเคลื่อนงานกันต่อไป..ที่อุทยานแห่งชาติขุนตาน..
และเริ่มขยายผล..สนับสนุนทำความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน 6 จังหวัด ผ่านการฝึกอบรมเรื่องการจัดการความรู้...ผ่านการสรุปบทเรียน/การถอดบทเรียน..และการจัดเก็บชุดความรู้ การจัดทำ Best Practice รวมทั้งงานวิจัยในพื้นที่..


              ปรับโครงสร้าง..เป็นศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง...(พ.ศ.2552)..มีงานสนับสนุนการจัดการความรู้ขึ้น..และเราเริ่มตั้งต้นKMศูนย์ฯลำปางขึ้น..
ก้าวที่1.. 22 ตุลาคม 2552...ประชุม..ทบทวน..ทำความเข้าใจ..KM
                            * กร ะบวนการ KM
                            ** แผนปฏิบัติการ KM-53
ก้าวที่ 2...เวที KM-1 ( 25 ธ.ค.52 )

              *กำหนดเป้าหมาย+กระบวนงานรายบุคคล/ ของงาน + ฝ่าย ปี 2553


 ก้าวที่ 3 เวที KM -2 ( 27 ม.ค.53 )

         *จัดตั้งคณะทำงาน KM ของศูนย์ฯลำปาง
         **การบันทึกบทเรียน(ความรู้)จากการทำงาน

ก้าวที่ 4..เวที KM-3 ( 25 มี.ค.53 )
แนะนำเทคนิค...การดึงความรู้ในตัวคนด้วยการเล่าเรื่อง( Storytelling )


ก้าวที่ 5 ..เวที KM-4 ( 18 พ.ค.53 )
*( ฝึกปฏิบัติ...จับคู่เล่าเรื่อง /
**สร้างทีมงาน KMศูนย์ฯลำปาง..ด้วยเครื่องมือStorytelling
*ประยุกต์ใช้...โดยทีมงานศูนย์ฯได้ทดลองจับคู่..สลับกันเล่าเรื่องประสบการณ์ในการทำงานที่ประสบความสำเร็จให้เพื่อนฟัง...แล้วให้ลองบันทึก/เขียน...
**จัดทีมงานฯ 8 จังหวัด/ ประสานบุคคลเป้าหมาย(ผู้รู้/ผู้มีประสบการณ์)...ตัวแทนนักพัฒนา
..เดินทางไปจัดเก็บความรู้กัน..ลำปาง..ลำพูน..เชียงใหม่..เชียงราย..แม่ฮ่องสอน..แพร่..น่าน


ก้าวที่ 6 เวที KM-5 ( 30 มิ.ย.53 )

       *สรุปบทเรียนการจัดเก็บความรู้จากผู้มีประสบการณ์ 8 จังหวัด




 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..