วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

ฤางานของโบรกเกอร์การพัฒนา จะมีความหมายแค่คนเป็นนักการเมืองและนักธุรกิจ ?

                  ในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน การสร้างและพัฒนาเครือข่ายหรือการพัฒนาภาคีการพัฒนา นับเป็นเทคนิค หรือวิธีการอย่างหนึงของการทำงานพัฒนาชุมชนยุคใหม่ที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากว่า ในการพัฒนาสังคมและชุมชน เราไม่สามารถทำงานต่างๆ ให้สำเร็จด้วยดีได้โดยลำพังหน่วยงานเดียว แต่อาจต้องทำงานร่วมมือกันอย่างบูรณาการ เพื่อให้งานการพัฒนาถึงเป้าหมายร่วมกัน การพัฒนาสมัยใหม่ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ในบางครั้งจึงต้องทำหน้าที่เป็น “Broker” หรือเป็น “Lobbyist”.ด้วย ซึ่งคำนี้ มีนัยความหมายที่กว้างลึกกว่าบทบาทการเป็น “นักเชื่อมประสาน” ดังที่เราเคยปฏิบัติกันสืบมา



                   ที่นำเสนอต่อไปนี้ เป็นวงจรของการทำงาน ลักษณะนักเชื่อมประสานแบบหนึ่ง ที่เรียกง่ายๆ ติดปากเป็นภาษาไทยแล้วว่า “โบรกเกอร์” หรือ “ล็อบบี้ยิสต์” การพัฒนา ซึ่งได้แปล/เรียบเรียงจากบางส่วนของหนังสือชื่อ “The Brokering Guidebook Navigating Effective SustainableDevelopment Partnerships”ที่มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ โดยองค์กรระหว่างประเทศ

                    ลองดูกระบวนการ ขั้นตอน หรือวงจรของการสร้างและพัฒนาเครือข่ายหรือสร้างภาคีการพัฒนาเหล่านี้ดูสิ ว่าแตกต่างจากสิ่งที่เราเคยทำหรือไม่

ขั้นตอนที่ ๑ กำหนดขอบเขตงาน ทบทวนปัญหา หรือสิ่งที่ต้องการทำ เก็บรวบรวมข้อมูล ปรึกษาผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกับหน่วยงานสำคัญภายนอกท่าดว่าจะร่วมภาคี พร้อมกำหนดแนวคิดกว้างๆ ที่จะทำหรือขับเคลื่อน

ขั้นตอนที่ ๒ ค้นหาและกำหนดผู้ที่จะเข้าเป็นภาคี ด้วยการเชิญชวน จูงใจให้เข้าร่วมทำงานขั้นตอนที่ ๓ สร้างหลักการร่วม ให้สมาชิกจากแหล่งต่างๆ ช่วยกันเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หลักการสำคัญ ที่จะทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน

ขั้นตอนที่ ๔ วางแผนงาน ให้ภาคีร่วมวางแผนกิจกรรม และกำหนดแนวทางความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ

ขั้นตอนที่ ๕ บริหารจัดการ ในขั้นตอนนี้ ให้สมาชิกภาคีพัฒนาจัดโครงสร้างคณะทำงาน และแนวทางความร่วมมือต่อกัน จากระยะสั้น สู่ระยะยาว

ขั้นตอนที่ ๖ จัดหาทรัพยากรทำงาน สมาชิกภาคีและผู้สนับสนุนอื่นๆ ร่วมระดมเงิน และสิ่งที่มิใช่ตัวเงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ ๗ ปฏิบัติการการอยู่ร่วมภาคี เมื่อมีทรัพยากร และทุกคนได้ทราบถึงรายละเอียดของกิจกรรมที่ได้ตกลงทำร่วมกันแล้ว ให้ดำเนินการตามห้วงเวลาที่กำหนดร่วมกัน และควรทำกิจกรรมเริ่มแรก ที่มีความเป็นไปได้สูง

ขั้นตอนที่ ๘ ตรวจสอบความสำเร็จ วัดและประเมินความสำเร็จการทำงาน ดูผลกระทบ และประสิทธิภาพของการทำงาน พร้อมตรวจสอบว่า แต่ละภาคีได้บรรลุเป้าหมาย ที่ต้องการ หรือไม่

ขั้นตอนที่ ๙ ตรวจสอบผลการทำงาน ขั้นตอนนี้เพื่อดูว่าการทำงานร่วมภาคี มีผลกระทบต่อองค์กรของสมาชิกที่เข้าร่วมภาคี หรือไม่ เพียงใด เพื่อดูว่ามีหน่วยงานภาคีใดที่จำเป็นต้องถอนตัวออกไป หรือหน่วยงานภาคีใด ที่จะเข้าร่วม

ขั้นตอนที่ ๑๐ ทบทวนบทบาทภาคีพัฒนา พิจารณาแผนงาน โครงการต่างๆ โดยใช้พื้นฐานประสบการณ์ของแต่ละฝ่าย หรือแต่ละภาคี

ขั้นตอนที่ ๑๑ สร้างความเข้มแข็งสู่ความเป็นสถาบัน สร้างและพัฒนาโครงสร้าง หรือกลไกทำงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้มั่นใจมีความร่วมมือที่ดี แข็งขันต่อเนื่อง

ขั้นตอนที่ ๑๒ สร้างความยั่งยืนหรือต่อเนื่อง ทั้งนี้จะยุติกิจกรรม หรือทำต่อก็ได้ บนพื้นฐานข้อตกลงที่ทุกฝ่ายพอใจ และ/หรือทบทวนบทบาท กำหนดบทบาทใหม่อีก เพื่อเข้าสู่วงจรการทำงานใหม่

           ถึงเพื่อนๆ... ผมส่งบทเขียน...แปลและเรียบเรียงมาพร้อมนี้ เป็นเรื่องของเทคนิคการสร้างเครือข่ายและภาคึการพัฒนาของฝรั่ง ซึ่งแสดงให้เห็นวงจรของการดำเนินงานว่าเขามีเทคนิค วิธีการทำอย่างไร เป็น หนังสือของเจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติ ที่ไปอบรมที่เจนีวา เพื่อนส่งมาให้อ่านศึกษา เลยถอดความบางส่วนมา เห็นเขตกำลังจะอบรม พูดถึงเรื่องนี้อยู่บ้าง จึงส่งเรื่องนี้มาให้พิจารณาครับ เขียนไว้ เพื่อลงเคเอ็ม...
                                                                                           บุญส่ง เวศยาสิรินทร์
                                                                                                 28 ก.พ.2554




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ช่วยแลกเปลี่ยนด้วย..