วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

เครือข่าย : เครื่องมือการทำงานในบริบทที่เปลี่ยนแปลง



                    นายนพพร นิลณรงค์ นักวิชาการอิสระ อดีตนักวิชาการศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 5  พูดคุยสร้างบรรยากาศแบบพี่แบบน้อง แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของพัฒนากรตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา เพื่อสรุปเชื่อมโยงให้เห็นว่า เครือข่ายของพัฒนากรก็คือ คนที่พัฒนากรรู้จัก เครือข่ายเป็นกระบวนการทางสังคม เป็นกระบวนการสร้างเพื่อน สร้างพันธมิตรในการทำงานของพัฒนากร..
                   พัฒนากรมีอาวุธสำคัญคือ คำพูด เนื่องจากไม่มีงบประมาณอะไรสนับสนุน กว่าที่จะทำงานสำเร็จแต่ละเรื่อง จึงไม่ได้ทำสำเร็จด้วยตัวคนเดียว ต้องไปหมู่บ้านนั้น ตำบลนี้ ประสานคนมาทำงาน กว่าจะสำเร็จ เรียกว่าเป็นการระดมคนให้ลุกขึ้นมาจัดการตนเอง...เรียกว่า “ผู้ทำกับมือ” ต้องขอคารวะ..



                                           “พัฒนากร”
ทำกับมือ ถือหลัก ปักฐานลึก
                                                         จึงก่อเป็น สำนึก ผนึกฝัน
           สองมือกำ  หลายมือก่อ ต่อสัมพันธ์
       ชุมชนนั้น จึงเป็นหนึ่ง พึ่งตนเอง..


                   วิทยากรสร้างพลังคนทำงานโดยชวนร้องเพลงมาร์ชพัฒนาชุมชน และชี้ให้เห็นจากเนื้อเพลงว่าการทำงานของพัฒนากรนั้น 1.สร้างหลักฐานและมีงานทำประกอบกิจกรรมร่ำรวยเพราะช่วยตนเอง 2.ช่วยปกครองท้องถิ่นเราหนักแรงแบ่งเบาเพราะเราสามัคคี ก็คือวิสัยทัศน์ของกรมการพัฒนาชุมชน“1.ชุมชนเข้มแข็ง 2.เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ”




บทสรุป คนถูกทำให้รู้สึกว่าไร้ศักยภาพ และไร้ศักดิ์ศรี ด้วยโครงสร้างอำนาจและ โครงสร้างเงิน ที่กดทับคนทั้งหมด โครงสร้างอำนาจก่อให้เกิด การบีบคั้น ความไร้ศักยภาพ ความหงุดหงิด รำคาญใจ และความรู้สึกสิ้นหวัง ทำลายสุขภาพจิต ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และศักยภาพแห่งความ สร้างสรรค์   และ...เครือข่ายเป็นโครงสร้างที่ทำให้หลุดจากความบีบคั้นดังกล่าว ไปสู่ความสุข และความสร้างสรรค์

บันทึกย่อจาก..  การฝึกอบรมพัฒนากรระหว่าง ประจำการ หลักสูตรการบริหารการเปลี่ยนแปลง
                              รุ่น 1 - 3  มิถุนายน 2557    
                  




วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

พัฒนากรกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง(2)


ในวันที่ 4 มิถุนายน 2557 นายพิสันต์ ชวโน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง และให้เกียรติพบปะฝากข้อคิดการทำงานแก่พัฒนากรระหว่างประจำการ สรุปได้ดังนี้

พัฒนาการการทำงานของพัฒนากรตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน แยกเป็นพัฒนากร 3 ยุค ที่ทำให้เห็นถึงการทำงานของพัฒนากรที่เปลี่ยนไปนั้น เปลี่ยนไปอย่างไร และปัจจุบันหลงเหลืออะไรอย่างไรบ้าง

พัฒนากรยุคแรก ยังไม่มีเรื่องยุทธศาสตร์มาเกี่ยวข้อง พัฒนากรต้องเกาะติดหมู่บ้าน ต้องมีหมู่บ้านในดวงใจ เป็นหมู่บ้านเน้นหนักที่ต้องเข้าไปนอนในหมู่บ้าน   เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ในการทำงานของพัฒนากรในสมัยนั้น  อีก
กลยุทธ์ คือ ใช้แผนงานโครงการในการทำงาน ดังนั้น พัฒนากรยุคแรก จะเก่งในการทำโครงการ การเขียนโครงการ การประเมินผล และการจัดตั้งกลุ่ม  การของบประมานต่างๆผ่านแบบ พช.3  ในการทำกิจกรรมโครงการ ทั้งแบบใช้เงิน(อดหนุน) และไม่ใช้เงิน ซึ่งพัฒนากรยุคแรกนั้น จะพยายามทำโครงการที่ชาวบ้านพึ่งตนเองเป็นหลักและเป็นเอกลักษณ์ของงานพัฒนาชุมชน

พัฒนากรยุคที่ 2 เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชัดเจนขึ้น การพัฒนาชนบทได้รับความสนใจจากรัฐบาล มีการประกาศพื้นที่ยากจน และการพัฒนาจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ยากจนก่อน เป็นยุคที่ใช้ระบบ กชช. (กชช.1,กชช2,กชช3) โดยคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ
กชช.2ก เป็นแบบจัดเก็บข้อมูลหมู่บ้านในเขตพื้นที่ยากจนทั่วประเทศ เพื่อเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ จัดลำดับหมู่บ้าน โดยมีสภาพัฒน์ฯ เป็นคนจัดทำ
กชช.2ข  เหมือนแบบกชช2ก. แต่จะจัดเก็บเฉพาะหมู่บ้านล้าหลังทั่วประเทศ นำมาวิเคราะห์ ออกเป็นมติ
เป็น     กชช.2ค เก็บเต็มพื้นที่ทั่วประเทศ โดยจัดเก็บทุก ๆ 2ปี เพื่อบ่งบอก /ชี้วัดว่า เป็นหมู่บ้านระดับล้าหลัง ปานกลาง หรือก้าวหน้า
ในยุคนี้มีองค์กรมหัศจรรย์เกิดขึ้นในตำบล เรียกว่า  คณะทำงานปฎิบัติการระดับตำบล (คปต.)  เน้นการ
บูรณาการทำงานของ 4 ทหารเสือจาก 4 กระทรวง (พัฒนาชุมชน /เกษตร/ สาธารณะสุข/ ปกครอง) จับมือกันทำงานร่วมกับผู้นำในพื้นที่ของตำบล ถ้ายุคแรกๆ เป็นยุคของเงินผัน ในยุคที่สองนี้งบประมาณทุกอย่างจะผ่าน คปต. กลั่นกรองก่อนเข้าสภาตำบล กชช.2ค/จปฐ. ทุกกระทรวงจะรู้จัก เพราะช่วยกันจัดเก็บ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เข้าสู่สภาตำบล

พัฒนากรยุคที่ 3  พบว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลต่องานพัฒนาชุมชนอย่างมาก เข้าสู่ระบบแท่ง และการทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องของ ยุทธศาสตร์  ระบบKPT คำรับรองการปฎิบัติราชการ ฯลฯ มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการทำงานของพัฒนากร  อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องมือสื่อสารยุคใหม่อย่างเดียว โดยไม่เข้าหมู่บ้าน ไม่ไปพูดคุยกับผู้นำกับชาวบ้าน จะทำให้กระบวนการพัฒนาชุมชน และวิธีคิดหายไปหมด  อย่าลืมว่าเทคนิคการทำงานกับประชาชนนั้น เคล็บลับอยู่ที่เรา กรมฯเดียว...กรมพัฒนาชุมชน เราต้องภูมิใจในคำว่า “พัฒนากร” เพราะเป็นคำที่มีศักดิ์ศรี มีเกียรติในสังคม ต้องทำให้เด็ก ๆ ในชุมชนมีแรงบันบาลใจอยากเป็น “พัฒนากร”

ฝากข้อคิด การทำงานของพัฒนากรให้สำเร็จ  1. ทำงานกับผู้นำและเครือข่าย 2. ทำตัวให้เป็นช่างเสริมสวย เนื่องจากมีเทรนเปลี่ยนตลอด  ต้องตามเทรนให้ทัน พัฒนากรยุคนี้จึงต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงได้

                                                                                                ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง

















พัฒนากรกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง



พัฒนากรเป็นผู้ปฏิบัติงานแนวหน้าของกรมการพัฒนาชุมชน ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ชิดหมู่บ้าน/ชุมชน ในการเสริมสร้าง “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” สถานการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาในพื้นที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงต้องพัฒนาเสริมสร้างขีดสมรรถนะให้กับพัฒนากร เพื่อสามารถปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกรมการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
ฝากข้อคิดในการทำงานของพัฒนากร ต้องทันโลก ทันการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างเสน่ห์ในการทำงาน ที่สำคัญคือ การเรียนรู้งาน rethinking และ renovateการทำงาน การปรับวิธีคิด วิธีทำงาน ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า/กลุ่มเป้าหมาย  และการใช้ IT จะทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น

          เสน่ห์ในการทำงานของพัฒนากร อยู่ที่การให้ความรู้ ความเข้าใจ ความมุ่งมั่นในการทำงาน การทำงานอย่างเป็นกระบวนการ สามารถนั่งอยู่ในหัวใจประชาชน คือทำอย่างไรก็ได้ให้ชาวบ้านมาทักทาย ไว้วางใจ ชวนทำกิจกรรมต่าง ๆ  ทำงานที่รับผิดชอบให้ดีขึ้น โดยเฉพาะงานหลักของกรมฯ ใช้เครือข่ายในการทำงานสุดท้ายคือการดูแลรักษาครอบครัวและอยู่ในที่ที่ตนเองชอบที่สุด                                                


                         นายขวัญชัย วงค์นิติกร อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมพัฒนากรระหว่างประจำการ รุ่นที่ 1  โดยได้ให้โอวาทแก่พัฒนากรระหว่างประจำการ โดยสรุป ในวันที่ 3 มิถุนายน 2557

                       ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

กระบวนการขับเคลื่อนชุมชน..ด้วยกระบวนการแผนชุมชน

การสร้างและพัฒนาหลักสูตรเฉพาะทาง เพื่อสนับสนุนกระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชนในพื้นที่เป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของศูนย์ฯ ที่ได้จัดทำมาอย่างต่อเนื่อง และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสู่สถาบันแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาและบูรณาการแผนชุมชน ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง จึงได้จัดทำหลักสูตรกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนตามมาตรฐานแผนชุมชน ขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้นำชุมชน/แกนนำหมู่บ้าน ให้มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการขับเคลื่อนชุมชน และจัดทำแผนของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานแผนชุมชน





เรียนรู้และลงมือทำ..
ต้อนรับคณะทีมวิจัยชาวบ้าน บ้านทุ่งผา ม.1 ตำบลวอแก้ว ศึกษาดูงานร่วมแลกเปลี่ยนกระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชนของบ้านวอแก้ว 

          วันนี้..บ้านวอแก้ว หมู่ที่ 3 ตำบลห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง นำทีมโดยกำนันดำริห์ สุวรรณสุระและกรรมการหมู่บ้าน แกนนำชุมชน..ได้ทำหน้าที่ให้ข้อมูล แลกเปลี่ยนประสบการณ์การขับเคลื่อนหมู่บ้านชุมชนผ่านกระบวนการแผนชุมชน ทั้งในส่วนที่ประสบความสำเร็จ และยังคงมีปัญหาอุปสรรคที่ชุมชนจะต้องร่วมกันวางแผนและร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนต่อไป..
                                                                        
                                                                           บันทึก  19 กันยายน 2557