วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

จัดการความรู้..คนศูนย์ลำปางปี2556


การจัดการความรู้ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ปี 2556
     จากนิยามในภาพรวม..หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในศูนย์ฯ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคลากรของศูนย์ฯ หรือในเอกสารตำรา รายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน การวิจัย งานพัฒนาและประเมินผลฯลฯ มาพัฒนาให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้บุคลากรในศูนย์ฯเข้าถึงความรู้เหล่านี้และสามารถนำความรู้มาพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ..ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาทีมงานในศูนย์ฯให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ..เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในที่สุด..
     ในช่วงปี 2553-2556 ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง กำหนดเป้าหมาย/วิสัยทัศน์มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาและบูรณาการแผนชุมชน แผนการจัดการความรู้ของศูนย์ฯในปีนี้ จึงเป็นกระบวนการจัดการความรู้ในทุกๆเอง ที่มีเป้าหมายมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ของศูนย์ฯ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในศูนย์ฯภายนอกศูนย์ฯ การพัฒนาผู้นำ การพัฒนาเครือข่าย ตลอดทั้งการพัฒนาระบบสารสนเทศ/ช่องทางการสื่อสาร
    1. สืบค้น..ค้นหาความรู้..เพื่อ"ให้รู้"
     เมื่อจะทำงาน..ทำกิจกรรม/โครงการอะไร คงต้องรู้ว่าผลลัพธ์สุดท้ายต้องการอะไร..จะพัฒนาผู้นำ..คือต้องการให้ผู้นำมีบุคลิกภาพที่ดี มีภาวะผู้นำ สามารถเป็นแกนนำขับเคลื่อนกระบวนการในชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็งผ่านกระบวนการ/เครื่องมือแผนชุมชน เป็นต้น ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการ"ค้นหาความรู้"เหล่านั้น..โดยการ
-ค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน๊ต
-เอกสาร/คู่มือ/ตำรา/รายงานการวิจัย
-จัดกลุ่มเรียนรู้/แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในศูนย์ฯ
-ความรู้จากผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ในพื้นที่ ทั้งจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนของจังหวัดอำเภอ/จากผู้นำ/แกนนำในชุมชน /เครื่อข่ายแผนชุมชน และภาคีการพัฒนา สถาบันการศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับชุมชน
         *ผ่านช่องทางสื่อสารทางโทรศัพท์/การขอคำปรึกษา/ผ่านเวทีพิจารณาหลักสูตร
ร่วมกัน เป็นต้น
    2.ค้นหาได้แล้ว..นำความรู้ไปใช้อย่างไร..กับใครบ้าง?
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปางมีงาน/กิจกรรม/โครงการ ที่ได้ดำเนินการในช่วงปีงบประมาณ 2556 แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ..
-งานตามแผนยุทธศาสตร์กรมฯ
       *การฝึกอบรมหลักสูตรผู้นำการพัฒนา จำนวน 16 รุ่น
       *การฝึกอบรมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จำนวน 42 รุ่น
       *การฝึกอบรมนักบริหารจัดการชุมชน
       *พัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
       *การฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน
       *การฝึกอบรมเยาวชนโอทอปด้านแผนธุรกิจ
-งาน/กิจกรรมตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสู่สถาบันแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาและบูรณาการแผนชุมชน
       *โครงการเงินคืองาน งานคือเงิน
       *โครงการcdd english camp and neighbor language
       *โครงการตลาดนัดแผนชุมชนสัญจร
       *โครงการสร้างและพัฒนาหลักสูตร
          -กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่มาตรฐานแผนชุมชน"
          -ฝึกอบรมหลักสูตรเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 8 จังหวัดรับผิดชอบ
       *โครงการเครือข่ายแผนชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- งานที่ศูนย์ฯให้บริการ ตามที่หน่วยงาน/องค์กรและพื้นที่รับผิดชอบขอรับการสนับสนุน
       *โครงการเพิ่มประสิทธิภาพผู้นำหมู่บ้านชุมชนต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดินใหม่
        (ปปส.)
       *โครงการscgรักษ์น้ำตามแนวพระราชดำริ(SCG+สถาบันแสนผะญ๋า)
       *โครงการเพิ่มศักยภาพศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินระดับอำเภอ(ปปส.)
       *ฝึกอบรมบุคลิกภาพผู้นำสตรีตำบลนาครัว(อบต.นาครัว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง)
       *เวทีจัดการความรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินอำเภอวังเหนือ(สพอ.วังเหนือ)
       *ฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีและที่ปรึกษา
        อำเภอเด่นชัย จ.แพร่(กคส.จ แพร่)
               ฯลฯ
*****บทบาทหลักๆของบุคลากรศูนย์ฯคือการเป็นวิทยากรกระบวนการ โดยในทุกกิจกรรม/โครงการได้ใช้กระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เริ่มตั้งแต่รวบรวมค้นหาความรู้มาจัดเตรียมทีมงาน วางแผนการสอน ฝึกซ้อม/ทดลองปฎิบัติ ลงมือปฎิบัติงาน แล้วสรุปบทเรียนการทำงานเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการทำงานในรูปแบบต่างๆ..
    3.การสร้างความรู้..จากการเรียนรู้และลงมือทำ..
      รูปแบบที่ศูนย์ฯลำปางใช้สร้างความรู้ มีทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น หลังการทำกิจกรรม/โครงการ จะมีเวทีสรุปบทเรียนการทำงานร่วมกัน เพื่อทบทวนปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่างๆ และเตรียมงานครั้งต่อไป
         เช่น -เวทีสรุปบทเรียนวิเคราะห์ผลการจัดการความรู้ของศูนย์ฯ
             -เวทีสรุปบทเรียนการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
             -เวทีสรุปบทเรียนจากการอบรมผู้นำการพัฒนา
      รูปแบบการสร้างความรู้อย่างไม่เป็นทางการของบุคลากรศูนย์ฯ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของการทบทวนการทำงานของทีมงานในแต่ละวัน ได้แก่การประชุมstaff/ประชุมพี่เลี้ยง
หรือการทบทวนวันวาน/สรุปบทเรียนในกิจกรรมภาคเช้าของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกิจกรรม/โครงการ
      การสร้างความรู้ของศูนย์ฯ อาจอยู่ในรูปของการส่งบุคลากรของศูนย์ฯเข้ารับการอบรมสัมมนาหรือเข้าร่วมการประชุม ทั้งในส่วนกลางหรือสถาบันการศึกษาอื่นๆ
         ได้แก่ ..การอบรมวิทยากรมืออาชีพฯ
               การอบรมบุคลากรด้านการจัดการความรู้
    **เป็นข้อสังเกตว่า..บุคลากรศูนย์ฯลำปาง ไม่เคยมีโอกาสเข้ารับการอบรมหรือเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการหรือรับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแผนชุมชน จากกรมการพัฒนาชุมชนเลย..แต่กระบวนการจัดการความรู้ โดยเฉพาะการสร้างความรู้จากการลงมือปฏิบัติร่วมกับชุมชน/หมู่บ้าน..ก็เป็นโอกาสที่ดีกว่า..ดังคำที่ผู้รู้กล่าวไว้ "ในการจัดการความรู้นี้..การเรียนรู้สำคัญกว่าตัวความรู้ เพราะตัวความรู้นั้นอาจหยุดนิ่งตายตัว แต่การเรียนรู้มีลักษณะมีชีวิต..ดิ้นได้..และการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ..
      4.การสะสมองค์ความรู้ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง มีอยู่หลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นชุดเอกสารอ่านประกอบ แผนการสอน สื่อการเรียนการสอนในรูปของเพาเวอร์พ้อย คลิปวีดีโอ ชุดความรู้ บทความ เป็นต้น
       5.รู้แล้วเผยแพร่..แบ่งปัน..แลกเปลี่ยน
   ผ่านช่องทางการสื่อสารใน..คลังความรู้เรื่องแผนชุมชนของศูนย์ฯ เว็บไซด์ศูนย์ฯ(www.org.th) เว็บบล๊อกๅKMศูนย์ฯ(knowledgecdd5.blogspot.com) facebookศูนย์ฯ ผ่านระบบOA เอกสารคู่มือประกอบ วีดีทัศน์ DVD
รวมทั้งเผยแพร่ผ่านการประชุม พูดคุยแลกเปลี่ยน และในเวทีทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

ข้อคิดบทเรียน...ที่ได้จากการจัดการความรู้..ในการทำงานร่วมกัน
-ผู้บริหารต้องใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบาย กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนการทำงานของศูนย์ฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายกรมฯ.
-ในการจัดการความรู้ของศูนย์ฯ เราต้อง"รู้จริง"ในเรื่องที่เป็นบทบาทภารกิจ(กระบวนการแผนชุมชน) ซึ่งต้องลงมือปฏิบัติจริง จึงจะเกิดประสบการณ์(ความรู้)
-การได้มาซึ่งความรู้..ทั้งที่เป็นข้อคิด/ข้อสรุปจากการทำงานร่วมกัน สามารถเกิดขึ้นได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
-ในข้อจำกัดของศูนย์ฯเรื่องบุคลากรมีจำนวนน้อย..การทำงานให้บรรลุเป้าหมายของศูนย์ฯจึงต้องสร้างเครือข่ายการทำงานทุกรูปแบบ เพื่อให้ได้ข้อคิด/ได้ความรู้มาใช้ในการทำงาน