วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนรู้..กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนกับคนวอแก้ว..

             ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ร่วมกันสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมขึ้นมาหนึ่งหลักสูตรในปีนี้ สำหรับฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในชุมชน  ด้านกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนตามมาตรฐานแผนชุมชน  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้กระบวนการแผนชุมชนและขับเคลื่อนชุมชนตามมาตรฐานแผนชุมชน
             ศูนย์ฯ คาดหวังว่า..หลังจากที่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นแกนนำในหมู่บ้านชุมชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรฯ จะสามารถขับเคลื่อนกระบวนการในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ..คือสามารถสร้างการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในชุมชน และเพิ่มศักยภาพของทีมแกนนำของชุมชน
กรอบหลักสูตร
เป็นNEED..หรือเป็นWANT ?
1.เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานหรือไม่..
     - หลักสูตรฯ ที่ยกร่างขึ้นมานั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานโดยตรง เพราะศูนย์ฯลำปางถูกวางเป้าหมายองค์กรสู่สถาบันแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาและบูรณาการแผนชุมชน
2.จำเป็นต้องรู้..ไม่รู้ทำงานไม่ได้ หรือทำได้ไม่ดี และ
3.เป็นความจำเป็นของงาน ไม่ใช่ความต้องการส่วนตัวของใคร
(ข้อพิจารณา 3 ข้อนี้ อ้างอิงมาจาก อ.สมศักดิ์ วิวัฒน์ไพศาล..การบริหารโครงการฝึกอบรมอย่างมืออาชีพ)

คำตอบ!!..เข้าไปค้นหาที่บ้านวอแก้ว ม.3 ตำบลวอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ศึกษาความต้องการฝึกอบรม  **เป็นความจำเป็นของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง+เป็นความต้องการของแกนนำ..คนวอแก้ว..ผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับแกนนำชุมชนบ้านวอแก้วในหลายๆเวทีและการประชุมร่วมกัน..ศูนย์์ฯขอใช้บ้านวอแก้วเป็นพื้นที่ทดลองหลักสูตรฯ ..ส่วนแกนนำบ้านวอแก้วโดยเฉพาะท่านกำนันดำริห์ สุวรรณสุระ กำนันคนใหม่ของตำบลวอแก้วและทีมแกนนำ ก็กำลังวางแผนพัฒนา/ขับเคลื่อนชุมชนวอแก้วทั้งที่เป็นปัญหาความต้องการ    และพัฒนาต่อยอดทุนในชุมชนที่มีอยู่..

ทีมงานอาสา....ยกร่างหลักสูตร 
ทีมงานศูนย์ฯ ร่วมกันพิจารณาร่างหลักสูตรและรายละเอียดตามแผนการสอนที่ร่วมกันยกร่างขึ้นมา ในประเด็นเรื่องตัวชี้วัดหลักสูตร..ที่ต้องวัดได้ว่า แกนนำชุมชนที่ผ่านหลักสูตรฯนี้ สามารถนำกระบวนการจากหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างไร..การเลือกใช้เครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของแกนนำชุมชน ให้เหมาะสม..โดยเฉพาะการนำเรื่องบัญชีครัวเรือนมาเป็นเครื่องมือหนึ่งของแกนนำชุมชน..








ผู้มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาชุมชน..
ให้คำปรึกษา
...หลักสูตรกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนตามมาตรฐานแผนชุมชน ที่ทีมงานศูนย์ฯยกร่างขึ้นมา โดยได้รับความอนุเคราะห์ให้คำปรึกษาและชี้แนะจากอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง อ.ปุณิกา อภิรักษ์ไกรศรี ..จากปราชญ์ชาวบ้าน/แกนนำชุมชนบ้านสามขา พี่หนานชาญ อุทธิยะและจาก อ.เทพ วงศ์สุภา พัฒนาการอำเภอผู้มีประสบการณ์ในการทำงานกับชุมชนและ
ภาคีเครือข่าย ทั้งเคยเป็นอดีตนักวิชาการพัฒนาชุมชนของศูนย์ฯลำปางด้วย
















การทดลองหลักสูตร 
กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนตามมาตรฐานแผนชุมชน
ณ บ้านวอแก้ว หมู่ที่ 3 ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำ
ชุมชนฯ ( 10-11 ส.ค.56) ประเด็นหลักในการสร้างความรู้ความเข้าใจกับแกนนำ ที่เป็นกรรมการหมู่บ้าน กรรมการคุ้ม และกรรมการกลุ่มต่างๆในชุมชน..
             -เปิดโลกทัศน์กระบวนการชุมชน..กระบวนการแผนชุมชน
             -มาตรฐานแผนชุมชน
             -ทักษะพื้นฐานของแกนนำชุมชน/ทักษะวิทยากรกระบวนการ
             -เครื่องมือการวิเคราะห์ชุมชน
             -การวางแผนปฏิบัติการ






กิจกรรมที่ 2    กิจกรรมการจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของแกนนำชุมชน 
( 13 ส.ค. -1 ก.ย.56 )
             2.1 ประชุมเตรียมความพร้อมแกนนำชุมชน ( 13 ก.ย.56 )
                   -ทำความเข้าใจการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน

               

             2.2 ดำเนินกิจกรรมร่วมกันในชุมชน(กลุ่มแกนนำเจ้าภาพรับผิดชอบประเด็น+ชาวบ้าน จัดเก็บข้อมูลชุมชน)
                   14-30 ส.ค.56
10 ประเด็นหลักที่แกนนำชุมชนเป็นผู้กำหนด
                         การท่องเที่ยว/โฮมสเตย์
                         * การจัดการทรัพยากร/สิ่งแวดล้อม 
                         การพัฒนาเยาวชน  
                         การส่งเสริมอาชีพ(กลุ่มอาชีพ/กองทุนต่างๆ) 
                        * วัฒนธรรมประเพณี/ศาสนา/ภูมิปัญญา/ปราชญ์ชาวบ้าน 
                         * สุขภาพคนในชุมชน(ด้านสาธารณสุข) 
                         * การศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ 
                         * การปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย/งานพัฒนา                          
                         * แผนผังหมู่บ้าน (10 คุ้ม)  
                         * ประวัติศาสตร์ชุมชน  
                         * ปฏิทินฤดูกาล (ด้านอาชีพ -แกนนำด้านส่งเสริมอาชีพ
                           +ด้านวัฒนธรรม-แกนนำด้านวัฒนธรรม)

             2.3 เวทีวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนโดยแกนนำชุมชน(จำนวนเวทีตามประเด็นในชุมชน)
                   14-30 ส.ค.56


          

2.4 เวทีวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีครัวเรือน
 ( 31 ส.ค.56)


          



วันที่ 27-29 ส.ค.2556 ตัวแทนแกนนำชุมชนบ้านวอแก้ว ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงานที่
ศูนย์ศึกษาวิทยาการชุมชนบ้านหนองกลางดง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตามโครงการเครือข่ายแผนชุมชนภาคเหนือกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ..



             2.5 เวทีสรุปนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลของแกนนำชุมชน ( 1 ก.ย.56)


        ตัวแทนแกนนำแ่ต่ละประเด็น นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล..สถานการณ์ปัจจุบัน จุดอ่อน จุดแข็ง 
โอกาส ปัญหาอุปสรรค..พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขหรือข้อเสนอแนะในการทำงานแต่ละประเด็น..
กิจกรรมที่ 3  เวทียกร่างแผนชุมชน 

             


กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์การทำงาน
ร่วมกัน ใน 1-3 ปีข้างหน้า
-กำหนดวิธีการ และแผนงานกิจกรรม/โครงการ ที่จะไปสู่เป้าหมายใน 1- 3 ปี (ทำแผนยุทธศาสตร์ของชุมชน)โดยตัวแทนแกนนำแต่ละประเด็นนำเสนอกิจกรรม/โครงการ..(กิจกรรม/โครงการ/เป้าหมาย/ระยะเวลา/งบประมาณ/แหล่งงบประมาณ/ผู้รับผิดชอบ)..ซึ่งเป็นกิจกรรม/โครงการที่มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันในเวทีครั้งก่อน

กิจกรรมที่ 4  เวทีบูรณาการแผนชุมชน 

*แกนนำชุมชนร่วมกับกลุ่มองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในชุมชน ร่วมกันประสาน
          แผนงาน/กิจกรรม/โครงการและการทำงานร่วมกัน


กิจกรรมที่ 5  กิจกรรมการประชาพิจารณ์แผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน
  *จัดประชุมหมู่บ้าน นำเสนอแผนงาน/กิจกรรม/โครงการ ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการ
   ตั้งข้อสังเกตและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 


สรุปการเรียนรู้..กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนกับคนวอแก้ว..ด้วยกระบวนการแผนชุมชน

•1.การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชน..เรื่องแผนชุมชน
•2.สร้างทีมงาน..กรรมการหมู่บ้าน/กรรมการคุ้ม/ผู้ทรงคุณวุฒิ/ฯลฯ
•3.สร้างความเข้าใจทีมงาน..เรื่องกระบวนการแผน
•4.การรวบรวมข้อมูล
•5.การวิเคราะห์ข้อมูล..ปัญหาอุปสรรค จุดอ่อนจุดแข็ง..แนวทางแก้ไข..
•6.ทำยุทธศาสตร์ของชุมชน..กำหนดเป้าหมายร่วมกัน(วิสัยทัศน์)/จะต้องทำอะไรบ้างให้บรรลุเป้าหมาย(พันธกิจ)/กลยุทธ์/..เอาแนวทางมาทำเป็นกิจกรรม/โครงการ
•7.ร่างแผนชุมชน...
       แผนที่/แผนผังชุมชน
       ประวัติศาสตร์ชุมชน
       ภูมิประเทศ
       ข้อมูลทั่วไป(ประชากร/การศึกษา/พื้นที่การเกษตร/ฯลฯ)
       ข้อมูลด้านศักยภาพชุมชน(ข้อมูล+ผลการวิเคราะห์ทั้ง 10 ประเด็น)
       แนวทางแผนยุทธศาสตร์ชุมชน(วิสัยทัศน์/แผนงานกิจกรรมโครงการฯ)
8.บูรณาการแผน...เชิญหน่วยงาน/องค์กรอื่นๆ มาพูดคุย/สนับสนุน(บูรณาการคน/งาน/โครงการฯลฯ)
9.ประชาพิจารณ์แผน..เอาแผนทั้งหมดมาเล่าให้ชาวบ้านฟัง..+ให้เสนอแนะเพิ่มเติมฯลฯ
                                
                                  ผู้บันทึกกระบวนการ อัญชลี ป่งแก้ว