วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ผู้แทนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีด้านการจัดทำแผนพัฒนาสตรีและฝึกทักษะการเขียนโครงการ



ทีมงานศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง  ได้รับการประสานงานจากพัฒนาการอำเภอทุ่งหัวช้าง ให้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรสนับสนุนการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านการจัดทำแผนพัฒนาสตรีและฝึกทักษะเทคนิคการเขียนโครงการ ให้แก่กรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจาก 35 หมู่บ้านๆละ 2 คน รวม 70 คน  ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ในวันที่ 25 ตุลาคม 2555  ทำให้ได้ข้อคิดดีๆ จากการจัดกระบวนการเตรียมความพร้อมให้แก่กรรมการกองทุนฯ ในครั้งนี้

ท่านนายอำเภอสุภาพรรณ บุญถนอม ให้ข้อคิดในการทำงานแก่กรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ว่า “อย่าคิดว่าเราเป็นผู้หญิง..แต่ให้คิดว่าเราทำหน้าที่อะไร? เราจะต้องทำอะไรบ้าง..อย่าคิดว่าเพราะเป็นผู้หญิงจะทำงานแบบผู้ชายไม่ได้ ..ให้เชื่อมั่นว่าเราทำได้ ทำได้ดีด้วย เพราะผู้หญิงมีจิดใจที่ละเอียดอ่อนกว่า..ในการมองเรื่องราวต่างๆ..ไม่อย่างงั้นจะเป็นผู้นำในครอบครัวได้อย่างไรฯ ”


กระบวนการที่ใช้...

1.แนะนำตัว ละลายพฤติกรรม สร้างความสัมพันธ์  บอกวัตถุประสงค์ กระบวนการ และข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้กระบวนการบรรลุวัตถุประสงค์การฝึกอบรม
2.ชวนคุยเรื่องของผู้หญิงในหมู่บ้าน ในภาพรวมๆจากอดีตมาถึงปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงไป ชี้ให้เห็นความสำคัญของผู้หญิงในบทบาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทุกมิติ..ครอบครัว การศึกษา ศาสนา การเมืองการปกครอง สุขภาพสุขภาวะของชุมชน ประเพณีวัฒนธรรม สังคม..
3.ตั้งประเด็นคำถามเริ่มต้นง่ายๆ..พวกเราผู้หญิง..แม่บ้าน ทำอะไรกันบ้างในหมู่บ้านชุมชนของเรา ทีมวิทยากรเก็บทุกคำตอบขึ้นฟลิปชาร์ท จัดกลุ่มกิจกรรม/งานที่ทำเป็นกลุ่ม/ด้าน
4.วิทยากรชวนคุยในแต่ละกิจกรรมที่ทำนั้น(เลือกเฉพาะประเด็นหรือกิจกรรมที่สำคัญๆ) ว่าทำอย่างไรกันบ้าง จุดเน้นให้เห็นถึงวิธีการทำงาน เห็นความสำเร็จ หรือไม่สำเร็จอย่างไร ปัญหาอุปสรรคคืออะไร มีใครมาช่วยสนับสนุนมาเกี่ยวข้องบ้างฯลฯ
5.แจกกระดาษฟลิปชาร์ท ให้กรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีทุกหมู่บ้าน ได้วิเคราะห์ตัวเองตามประเด็นคือ พับครึ่งฟลิปชาร์ท ซีกซ้ายให้เขียนกิจกรรมหรืองานที่ทำได้ดี ภาคภูมิใจ ทำสำเร็จ ส่วนซีกขวาให้เขียนเรื่อง/งานหรือกิจกรรมที่ทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จ หรือทำได้ไม่ดี..


6.ทีมวิทยากรสอบถามภาพรวมของงาน/กิจกรรมที่ทำได้สำเร็จและไม่สำเร็จ เขียนบนฟลิปชาร์ทและให้กรรมการฯ เพิ่มเติม
7.วิทยากรเลือกกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จมา 1 กิจกรรม ตั้งคำถามว่าทำอย่างไรถึงทำกิจกรรมนี้ได้ดี เพราะอะไร มีปัจจัย/เงื่อนไขอะไรมาเกี่ยวข้อง หรือมาช่วยสนับสนุนให้ทำสำเร็จบ้าง เขียนลงบนฟลิปชาร์ท
8.วิทยากรตั้งคำถามต่อว่า แต่ละคำตอบหรือเหตุผล/ปัจจัยที่มาสนับสนุนให้ทำได้ดีหรือสำเร็จนั้น ให้ช่วยกันวิเคราะห์ดูว่าปัจจัย/เงื่อนไขอะไรบ้าง..เกิดขึ้นจากตัวเราเอง(กลุ่มสตรี) ใส่สัญลักษณ์ไว้ ( ) อะไรเกิดจากคนอื่น เหตุอื่นช่วยสนับสนุน ทำสัญลักษณ์ไว้หน้าคำตอบ ()  เช่น...

                           มีการประชุมปรึกษากันก่อนจะทำ...
                          กลุ่มมีความรักความสามัคคีกัน
                        ผู้ใหญ่บ้านให้ความสำคัญ
                        มีหน่วยงาน...มาให้คำแนะนำ
วิทยากรชี้ให้เห็นถึงข้อดีหรือจุดแข็ง และโอกาสดีๆ ที่มาเสริม/สนับสนุนกลุ่มสตรีในหมู่บ้านชุมชน
9.วิทยากรเลือกกิจกรรมที่ไม่ประสบความสำเร็จมา 1 กิจกรรม ตั้งคำถามว่าทำไมถึงทำกิจกรรมนี้ได้ไม่ดี เพราะอะไร มีปัจจัย/เงื่อนไขอะไรมาเป็นปัญหาอุปสรรค หรือทำให้ทำได้ไม่ดี ไม่สำเร็จ เขียนลงบนฟลิปชาร์ท
10.แต่ละคำตอบ หรือปัญหาอุปสรรคนั้น เกิดจากตัวเราเอง(กลุ่มสตรี) หรือเกิดจากเหตุอื่น/คนอื่น ให้ใส่สัญลักษณ์   เช่น
                            ต่างคนต่างทำ ไม่พูดคุยกัน (จุดอ่อน)
                          หมู่บ้านอยู่ห่างไกล (อุปสรรค)
วิทยากรชี้ให้เห็นถึงข้อเสียหรือจุดอ่อนของกลุ่มสตรี และอุปสรรค ข้อจำกัด ที่ส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมนั้นๆ


12.แจกกระดาษฟลิปชาร์ทแผ่นที่สองให้ทุกหมู่บ้าน เลือกกิจกรรมที่ทำได้ดีมาวิเคราะห์หาเหตุ/ปัจจัยว่าเพราะอะไรถึงทำได้ดีหรือทำสำเร็จ พร้อมใส่สัญลักษณ์ว่าเป็นเพราะตัวเราเอง หรือเกิดจากเหตุอื่น/คนอื่น
13.แจกกระดาษฟลิปชาร์ทแผ่นที่สามให้ทุกหมู่บ้าน เลือกกิจกรรมที่ทำได้ดีมาวิเคราะห์หาเหตุ/ปัจจัยว่าเพราะอะไรถึงทำได้ดีหรือทำสำเร็จ พร้อมใส่สัญลักษณ์ว่าเป็นเพราะตัวเราเอง หรือเกิดจากเหตุอื่น/คนอื่น

14.ทีมวิทยากรสอบถามจากแต่ละหมู่บ้าน เขียนสรุปเป็นภาพรวมบนฟลิปชาร์ททั้งจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค     
 
วิทยากรเชื่อมโยงให้เห็นว่า กระบวนการที่เราทำเป็นการ”มองตัวเอง” เป็นการวิเคราะห์ให้เห็นศักยภาพของตัวเรา เพื่อจะนำไปสู่การหาแนวทางการพัฒนากลุ่มสตรีของบ้านเราต่อไปว่า..
             -จุดอ่อนของเราเป็นเรื่องอะไรบ้าง เพราะอะไร จะต้องปรับปรุงแก้ไขพัฒนาอย่างไรบ้าง..
            -ที่เป็นปัญหาอุปสรรคจากคนอื่นมากระทบ จะต้องทำอย่างไร..
            -แล้วสิ่งดีๆที่มีอยู่เป็นอยู่..จะรักษาไว้หรือจะต้องทำให้ดีขึ้น ต่อยอดอย่างไร..
            -โอกาสดีๆ จะเอามาเสริมมาพัฒนาอย่างไรได้บ้าง..
15.แจกบัตรคำให้ทุกคน..วิทยากรให้ประเด็นว่า จากที่ได้วิเคราะห์ตัวเอง..เห็นศักยภาพของกลุ่มสตรีในหมู่บ้านชุมชนของตนเองแล้ว “ท่านอยากจะทำอะไรหรืออยากจะทำอย่างไรบ้าง?” (คำตอบอาจเขียนออกมาเป็นแนวทาง เป็นแผนงาน หรือออกมาเป็นกิจกรรม/โครงการ ก็ได้ )
16.วิทยากรให้แต่ละคนพูดตามบัตรคำที่เขียน ทีมงานจับประเด็นขึ้นฟลิปชาร์ท  จัดกลุ่มเป็นแผนงาน 3 ด้าน คือ   1.ด้านการส่งเสริมอาชีพ  2.การส่งเสริมสวัสดิการสมาชิก 3.การพัฒนาศักยภาพองค์กรสตรี
วิทยากรสอบถามเพิ่มเติมว่า แต่ละแนวทางหรือกิจกรรมที่อยากทำนั้น ถ้าจะทำเป็นโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จะทำโครงการอะไรได้บ้าง..สรุปเชื่อมโยงให้มองเห็นกิจกรรม/โครงการครอบคลุมทุกด้าน และเป็นโครงการที่มาจากการวิเคราะห์ข้อมูล/ศักยภาพองค์กรสตรีร่วมกันด้วย
17. แนะนำการเขียนโครงการด้วยวีซีดี และบรรยายเพิ่มเติมในแต่ละขั้นตอน แจกกระดาษเอ4 ให้แต่ละหมู่บ้านฝึกทักษะการเขียนโครงการ โดยทำแต่ละขั้นตอนไปพร้อมๆกันทุกหมู่บ้าน มีทีมวิทยากรเป็นพี่เลี้ยงโดยเริ่มตั้งแต่..ให้ตอบคำถามเหล่านี้มาเรียบเรียงเขียนเป็นโครงการ..
            1. ชื่อโครงการ (จะทำอะไร ที่ไหน..)
            2. ผู้รับผิดชอบโครงการ (ใครเป็นคนสำคัญที่ต้องดูแลเรื่องนี้...เช่น กรรมการพัฒนาบทบาทสตรี)
            3. หลักการและเหตุผล (ทำไมถึงต้องทำโครงการนี้...โดยให้วิเคราะห์สถานการณ์ความเป็นมาเป็นไป..เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องทำ หรือปัญหาที่ที่เกิดขึ้น และถ้าไม่ทำโครงการนี้ขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้น   4.วัตถุประสงค์ (ทำเพื่อให้ได้อะไร..)
            5.เป้าหมาย (ผลที่หวัง..เป็นใครกี่คน/กลุ่ม/แห่ง)
6.วิธีการ/ขั้นตอนดำเนินงาน..(ทำอย่างไร..ตั้งแต่เริ่มต้น จนเสร็จสิ้นโครงการ..และต้องตอบวัตถุประสงค์ได้ทุกข้อ)
7.สถานที่ดำเนินการ
8.งบประมาณ..(บอกค่าใช้จ่ายและแหล่งงบประมาณ)
9.ระยะเวลาดำเนินการ..(ทำเมื่อไร..ตั้งแต่เริ่มถึงเสร็จสิ้นโครงการ)
10.ผลที่คาดว่าจะได้รับ..(อะไรจะเกิดขึ้นบ้างเมื่อได้ทำโครงการนี้)

 18.ให้ตัวแทนกรรมการพัฒนาบทบาทสตรี 2-3 หมู่บ้าน นำเสนอรายละเอียดโครงการ..ให้ที่ประชุมแลกเปลี่ยนซักถาม วิทยากรแนะนำเพิ่มเติม..
19.สรุปทบทวนกระบวนการทั้งหมด เน้นให้ความสำคัญเรื่องการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลเพราะโครงการที่ทำ..ต้องมาจากการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ตัวเองของกลุ่มสตรี .เพราะผลจากการวิเคราะห์ตัวเอง วิเคราะห์ศักยภาพนั้น จะเป็นหลักการและเหตุผลในการเขียนโครงการนั่นเอง
          -ข้อคิดในการทำโครงการ..ควรเริ่มต้นคิด/ทำกิจกรรม/โครงการจากสิ่งที่เรามีหรือทำได้ดีทำได้สำเร็จ(คือมีทุนเดิมอยู่)..เพราะจะทำได้ง่ายสำเร็จ..ภาคภูมิใจ..แต่ถ้าคิดทำแต่กิจกรรม/โครงการใหม่ๆ จะยาก ทำให้เราท้อถอยหรือถอดใจได้..
20.วิทยากรชวนแลกเปลี่ยนในประเด็น อบรมเสร็จแล้วจะกลับไปทำในพื้นที่ได้หรือไม่...คิดว่าจะทำได้มากน้อยขนาดไหน ..หนักใจตรงไหนอย่างไร..จะเริ่มต้นอย่างไร..หรืออยากให้ใครช่วยในประเด็นไหน ฯลฯ..เพื่อให้เห็นว่า การอบรมในวันนี้เป็นเพียงการฝึกทักษะเตรียมความพร้อมให้กับกรรมการฯ ที่จะได้นำทักษะ/กระบวนการฯไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบทบาทสตรีของหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเองต่อไป.

                                                                                               ทีมวิทยากรศูนย์ฯลำปาง
                                                                               1.อัญชลี ป่งแก้ว     2.ดวงธิดา อำนาจผูก 
                                                                               3.ธาดา ธีระวาทิน   4.วิชัย ศรีสวัสดิ์
                                                                                                  25 ตุลาคม 2555