วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คิดวางแผนอย่างไร?จึงเป็นเชิงยุทธศาสตร์(บุญส่ง เวศยาสิรินทร์)

คิดวางแผนอย่างไรจึงเป็นเชิงยุทธศาสตร์: ตัวอย่างเล็กๆ สำหรับพัฒนาชุมชน
              การคิดหรือวางแผนที่เรียกว่า การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Planning) นั้น มิใช่เป็นเพียงวาทะกรรมการพัฒนาของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่ เป็นเรื่องของความพยายามของคนทุกคนที่จะทำให้คนทุกคนในองค์กร หันมาสนใจสถานการณ์ ปรากฏการณ์ ข้อเท็จจริงขององค์กรอย่างรอบด้าน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์หรือมองทะลุถึงเหตุและผลของปัญหาความต้องการ และขับเคลื่อนองค์กรให้ไปถึงเป้าหมายสุดท้าย ในห้วงเวลาหนึ่งที่คนในองค์กรต้องการ หรือวาดฝันไว้

             สิ่งที่ต้องการ หรือความวาดฝันนั้น แม้จะไปถึงบ้างไม่ถึงบ้าง ก็ไม่เป็นไร ขอเพียงให้ทุกคนได้มีพันธะสัญญา (Commitment) ร่วมกัน ได้มีการติดตามประเมินผลการกระทำ เพื่อให้ทราบสภาพอุปสรรคปัญหานั้นไว้เพื่อแก้ไขต่อไป สิ่งสำคัญขอให้กระบวนการของการร่วมแรงร่วมใจของคนในองค์กรเช่นนี้สามารถดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง เช่น หกเดือน หนึ่งปี สองปี ก็มีการทบทวนการทำงานร่วมกัน

               การคิดและทำงานเชิงยุทธศาสตร์ หรือเป็นเชิงรุก จึงมิใช่แค่การทำงานแบบรูทีน ที่อาศัยคำสั่งการ หรือชี้นำ หรืออาศัยพิมพ์เขียวจากหน่วยเหนือแต่ประการเดียว แต่ยังเป็นการคิดวางแผน ที่เน้นการพัฒนาที่มองเห็นองค์กรมีชีวิต เพราะประกอบด้วยผู้คนซึ่งมีชีวิตจิตใจ และมีความสามารถที่หลากหลาย และพร้อมที่จะถูกดึงมาใช้ประโยชน์ เพื่อองค์กรมากกว่า

                กระบวนการของการคิดและทำงานเชิงยุทธศาสตร์ที่กล่าวนี้ จึงมิใช่การทำงานเป็นแท่งๆหรือแท่งใครแท่งมัน โดยยึดติดกับโครงสร้าง เงื่อนไข ที่แข็ง ปราศจากความยืดหยุ่น ขาดการทำงานอย่างบูรณาการกัน

                 กรอบความคิดต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนได้พยายาม ทดลองแสดงให้เห็นว่า หากเราต้องการ ที่เดินทางให้ไปถึงเป้าหมายสูงสุดอย่างน้อยในระดับหนึ่ง และระยะเวลาหนึ่ง เราจะต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้างจากกรณีการวางแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนของจังหวัดเชียงราย ซึ่งขออนุญาตนำมาเป็นตัวอย่าง ณ ที่นี้ สิ่งที่นำเสนอ คงพอเป็นตัวอย่างเล็กๆ สำหรับผู้คนที่สนใจได้บ้างไม่มากก็น้อย ในอันที่จะแหวกออกจากวังวนของงานรูทีน หรือการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อให้กลายเป็นกระบวนงานที่มีความหมาย สนุกและการเรียนรู้ร่วมกัน...........

วิเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนโครงการสู่ “ เศรษฐกิจสร้างสรรค์

สวรรค์เมืองเชียงราย” เพื่อเตรียมเฉลิมฉลอง750 ปี เมืองเชียงราย สำหรับปีงบฯ ๒๕๕๔



บุญส่ง เวศยาสิรินทร์ : เขียน/วิเคราะห์
นงลักษณ์ หล้าคำแก้ว (นศ.ฝึกงานฯ) : จัดทำรูปแบบนำเสนอ
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย










































































วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ส่งเสริมการจัดการและใช้ประโยชน์ศูนย์เรียนรู้ชุมชน..เพื่อเพิ่มมูลค่าการเรียนรู้ตลอดชีวิต

            ศูนย์ฯลำปาง กำหนดดำเนินการ "การส่งเสริมการจัดการและใช้ประโยชน์ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าการเรียนรู้ตลอดชีวิต ระหว่างวันที่ 2 - 4 มีนาคม 2554 ณ ที่ตั้งศูนย์ฯลำปาง
            โครงการมีวัตถุประสงค์..เพื่อ..
               1.พัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้เป็นศูนย์ฯ ที่มีชีวิต
               2.สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ ตามความต้องการของประชาชน
               3.เพื่อให้ทีมนักจัดการความรู้ สามารถจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน
               4.เพื่อให้ศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นแหล่งที่ประชาชนเข้ามาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
กลุ่มเป้าหมายที่จะมาเข้าร่วมโครงการ  48 คน.. 
        1.ศรช. จังหวัดละ 1 แห่ง จาก 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน)
       *    เป็น ประธานและกรรมการ ศรช. จำนวน 3 คน
      **   นักจัดการความรู้ชุมชน จำนวน 2 คน
และ 2.  นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด  8 จังหวัดๆละ 1 คน

ประชุมเตรียมงานฯ ศรช. ครั้งที่ 1 (อังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554..)

          *ทำความเข้าใจโครงการและวัตถุประสงค์ร่วมกัน
          *ศึกษาหลักสูตรจากกรมฯ+ปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
          *มอบหมายเจ้าภาพรายวิชาจัดทำแผนการสอนนำเสนอในการนัดหมาย
            ทีมงานครั้งต่อไป

เตรียมหลักสูตร+ทีมวิทยากร ศรช. ครั้งที่ 2 ( 17 ก.พ.2554)

       +ทีมวิทยากร(เจ้าภาพรายวิชา) นำเสนอกระบวนการ ขั้นตอนรายละเอียดของแต่ละวิชา
       +แลกเปลี่ยน ซักถาม แนะนำเพิ่มเติม..เป็นการทำความเข้าใจร่วมกันทั้งหมด
       +เตรียมทีมงาน แบ่งงาน  เตรียมสื่อ/วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ และ
       +เจ้าภาพรายวิชาเตรียมเอกสารประกอบ(ความรู้ที่จำเป็นหรือที่เกี่ยวข้อง)
       +มีเจ้าภาพรวบรวม ออกแบบ จัดทำเอกสารประกอบ

นำเสนอรายละเอียด/กระบวนการรายวิชา (ครั้งที่ 3 25 ก.พ.2554)
*กระบวนทัศน์ ศรช.
*ความสำคัญของ ศรช.
*ถอดบทเรียนการทำงาน ศรช. 8 จังหวัด 14 ศูนย์เรียนรู้
*บทบาทนักจัดการความรู้ใน ศรช.
*ฝึกปฏิบัติการถอดองค์ความรู้ของนักจัดการความรู้
*แนวทางส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก ศรช.
*สร้างเครือข่ายและบูรณาการศูนย์เรียนรู้ชุมชน