วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

เวทีเครือข่ายนักพัฒนาชุมชนภาคเหนือตอนบน(2)

        ภาคบ่าย...
            ในบรรยากาศสบายๆ  แต่มีสาระอยู่ในวงการพูดคุย เราจำต้องทิ้งประเด็นในภาคเช้าไว้ ทั้งที่เสียดาย หากมีเวลามากกว่านี้ เราจะได้รับรู้เรื่องราวการทำงานของคนในพื้นที่มากขึ้น ภาคบ่ายจึงเป็นการหาข้อคิดเห็นร่วมกัน ที่จะขับเคลื่อนเครือข่าย ให้มีก้าวแรกและก้าวต่อไป โดยมีข้อสรุปและเรื่องดีดี มาฝากไว้ตามประเด็นต่อไปนี้ ครับ

การพูดคุยในประเด็น “อยากเห็นเครือข่ายนักพัฒนาชุมชนภาคเหนือตอนบน เป็นอย่างไร”

 สะท้อนปัญหาการทำงานของคนพัฒนาชุมชน
    ในพื้นที่
 เครือข่ายฯ ต้องทำงานต่อเนื่องและมีการ
    เคลื่อนไหว เติบโตช้าๆแต่ยั่งยืน
 เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ๘ จังหวัดภาคเหนือ
    ตอนบน ควรสมัครเป็นสมาชิกและอยากให้เป็น
    สมาชิกทุกคน
 ไม่ยึดปริมาณ ควรเน้นคุณภาพ
 เริ่มจากจิตวิญญาณ สร้างจิตสำนึก
 ไม่ยึดติดระบบราชการมากเกินไปนัก
 มีการเชื่อมโยง ประสานงานในแนวราบ
 เป็นชมรมของนักพัฒนา
 ควรให้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง เป็น
    แกนหลักในการประสานงาน
 ควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
 มีการเชื่อมโยงงาน ช่วยเหลือกัน แลกเปลี่ยน
    ศึกษาดูงานในพื้นที่ร่วมกัน
 มีงาน กิจกรรมของเครือข่ายอย่างชัดเจน
 ควรหลอมรวมงานพัฒนา สร้างเสน่ห์ในงาน
    พัฒนาชุมชนออกมาให้ได้
 ควรสร้างทายาทนักพัฒนารุ่นใหม่
 ควรใช้งานหรือกิจกรรมตามประเด็นงาน ขับ
    เคลื่อนเครือข่าย เช่น งานวิจัย งานสถาบันการ
    จัดการเงินทุนชุมชน
 มีตัวแทนเครือข่ายระดับจังหวัด คล้ายๆสหกรณ์
    กรมการพัฒนาชุมชน
 ต้องมีผลประโยชน์ให้สมาชิกที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม
 มีวัตถุประสงค์ชัดเจน แน่นอน
 สะท้อนปัญหา ข้อเสนอแนะการทำงาน ถึงกรม และผู้บริหาร อย่างต่อเนื่อง
 พัฒนาการจังหวัด พัฒนาการอำเภอ ผู้บริหารทุกระดับ ควรสนับสนุนเครือข่ายฯ

การพูดคุยในประเด็น “ก้าวแรกของการทำงานเครือข่ายฯ ควรเป็นอย่างไร”

 ***มีการจัดทำปฏิทินการทำงานของเครือข่าย
***กิจกรรมของเครือข่าย ควรจัดทำตามประเด็น
      งาน เช่น การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงาน
      พัฒนาชุมชน เป็นเรื่องๆไป
***มีการเชื่อมประสานการทำงานระหว่างแม่ข่าย ลูก
      ข่าย ที่ชัดเจน ต่อเนื่อง
***ค้นหาปัญหา ความต้องการของสมาชิก
***สนับสนุนเผยแพร่ผลงานในพื้นที่ของสมาชิก
***รวบรวมองค์ความรู้ของสมาชิก เป็นคลังความรู้ พช. เพื่อเผยแพร่
***ตัวแทนเครือข่ายระดับจังหวัด ควรขยายผลแก่สมาชิกในพื้นที่
***มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดตลาดวิชาการ
***ประชาสัมพันธ์ให้ต่อเนื่อง
***ขยายผลการรับสมัครสมาชิกเพิ่มเติม
***จัดกิจกรรมพบปะในมวลหมู่สมาชิก

การพูดคุยในประเด็น “การสร้างช่องทางติดต่อสื่อสารของเครือข่ายฯ”

 จัดทำเว็บไซต์/เว็บบอร์ดเครือข่าย
 ใช้ระบบ OA ติดต่อสื่อสาร
 ใช้ช่องทางติดต่อหลากหลายรูปแบบให้มาก
     ที่สุด เช่น e-mail,msn,sms,skype,mobile phone
 จัดทำจุลสาร สื่อสิ่งพิมพ์ของเครือข่าย
 มีกิจกรรมร่วม หรือ จัดเวทีเครือข่ายสัญจร

       ทั้งหมดของวันนี้(๒๑ ก.ค.๕๓) คือ จุดเริ่มต้นของการรวมเพื่อสร้างพลังนักพัฒนา เราไม่อยากให้เกิดปรากฏการณ์เกิด-ดับ ในวันเดียวกัน แต่เส้นทางข้างหน้า ย่อมต้องพบกับอะไรอีกหลายสิ่งหลายอย่างเกินจะคาดเดา แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดพลัง ที่จะเดินต่อ คือ ความมุ่งมั่น ตั้งใจของผู้แทนที่เข้าร่วมเวที และคิดว่า สมาชิกทุกท่านทุกคน จับตารออยู่ว่า เราจะทำอะไร อย่างไร ต่อไป.........

               ก่อนเวทีจะยุติ ก่อนจะเดินทางกลับ หัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ได้สร้างความมั่นใจว่าศูนย์ฯ ขอรับอาสาเป็นแกนกลางประสานงานเครือข่าย โดยมี ๘ จังหวัดร่วมขับเคลื่อน และจะพยายามทุกวิถีทางที่จะสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายฯ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ที่จะเป็นคำตอบแห่งความสำเร็จ คือ ความร่วมแรงร่วมใจจากสมาชิกทุกคน และเห็นร่วมกันว่า ...เครือข่ายแห่งนี้ สามารถสร้างพลังในการทำงานพัฒนาชุมชน ของคนพัฒนาชุมชน ได้อย่างสมเกียรติ สร้างภาคภูมิใจร่วมกัน ในฐานะ คนบ้านเดียวกัน.... “พัฒนาชุมชน”
               ขอขอบคุณผู้แทนเครือข่าย ๘ จังหวัด....ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมให้ข้อคิดดีดี ให้และสร้างกำลังใจ 
นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง/สรุปและถอดประเด็นทีมงาน ศพช.ลำปางทุกคน....ร่วมงาน ร่วมเดินเวที ร่วมสนับสนุน จับประเด็น ให้ข้อเสนอแนะ และกำลังใจ

                                                                                            สรุปครั้งที่ ๑ : วันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
                                                                                                     พิเชฎฐ์ อาจสามารถ/เขียน...บันทึก

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

เวทีเครือข่ายนักพัฒนาชุมชนภาคเหนือตอนบน(1)


              ภายหลังจากเริ่มดำเนินการ เครือข่ายนักพัฒนาชุมชนภาคเหนือตอนบน โดยเปิดรับสมัครสมาชิกจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจาก ๘ จังหวัด ทุกตำแหน่ง ทุกระดับ ปรากฏว่าได้รับความสนใจและการสนับสนุนจากทุกท่านด้วยดี ปัจจุบันเรามีนักพัฒนา ผู้ร่วมบุกเบิกเครือข่าย ๒๒๖ ชีวิต นับเป็นสิ่งดีดี ที่หวังว่าการก้าวเดินของเครือข่าย จะก้าวไปตามแนวทางที่สมาชิก คอยย้ำเตือนว่า “เน้นคุณภาพ ช้าช้า แต่ให้ยั่งยืน”

                   ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง ต้องการให้เครือข่ายแห่งนี้ “เป็นเครือข่ายของพวกเรา” หมายความถึงการเป็นครอบครัวพัฒนาชุมชนเดียวกัน จึงได้เชื้อเชิญเพื่อนพ้อง น้องพี่ ผู้แทนจาก ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบนมาพบปะ เพื่อพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน การหารือเรื่องจะทำงานเครือข่าย ไปข้างหน้าอย่างไร   ซึ่งเวทีที่พูดคุย เน้นถึงความเป็นพี่เป็นน้อง รับฟังอย่างตั้งใจ จากทุกความเห็น เพื่อหลอมรวมเป็นความเห็นร่วมกันและเดินไปข้างหน้าพร้อมกัน

                   ก้าวแรกของการจัดเวที ศูนย์ฯ เห็นถึงความตั้งใจจากทุกท่าน ในการพูดคุย ให้ความเห็น เป็นบรรยากาศที่ขาดหายไปนานพอสมควร ในมวลหมู่นักพัฒนา หลายคน บ่นเสียดาย ทั้งในด้านเวลาที่คุยกันน้อยไปหน่อยและคิดถึงทุกท่าน ที่น่าจะมาพบหน้าพบตากัน หากมีโอกาสหรือปัจจัยสนับสนุนมากกว่านี้ ในฐานะครอบครัวเดียวกัน จึงขอนำเรื่องราวที่คุยกัน มาแบ่งปันต่อทุกท่าน และหวังว่า เราคงมีโอกาสในการทำงานร่วมกัน ในนามของ “เครือข่ายนักพัฒนาชุมชนภาคเหนือตอนบน” ต่อไป

ภาคเช้า

เวลาราว ๐๙.๔๕ น. การพูดคุยของทุกคน ได้เริ่มต้นขึ้น เราชวนคุยกันในเรื่องที่ไม่เป็นทางการนัก
แต่ก็สร้างความรู้สึก ความนึกคิดร่วม ได้ดีทีเดียว ประเด็นแรกที่จั่วหัว เหมือนยั่วให้คิด คือ เรื่อง คนพัฒนาชุมชนและงานพัฒนาชุมชน หลังจากโยนประเด็นให้ไป มีเรื่องราวหลั่งไหลมาจากหลายจังหวัด ทั้งด้านที่น่าภูมิใจ    และด้านที่น่าอดห่วงไม่ได้ต่องานพัฒนาชุมชน แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้เห็นและรับรู้ คือ ทุกคนภูมิใจและยังต้องการพัฒนางานพัฒนาชุมชน ให้ดีกว่าเก่า เป็นสิ่งที่ประทับใจเสมอ ยามคนพัฒนาชุมชน ได้พูดคุยกัน หลังจากนั้นเราได้เปิดประเด็นใหม่ๆ เป็นต้นว่า สิ่งที่ดีดีในการทำงาน สิ่งที่คิดว่ายังไม่ดี น่าเป็นห่วง และปัญหาต่างๆ   ขอสรุปเป็นประเด็นตามที่ได้พูดคุยกัน ดังนี้

การพูดคุยในประเด็น “มุมมองของคนพัฒนาชุมชน ต่อการทำงานชุมชน”
-ขาดการอบรมเสริมสร้างอุดมการณ์นักพัฒนาของคนรุ่นใหม่
-คนรุ่นใหม่ไม่ยอมรับการทำงานของพัฒนากรรุ่นพี่
-ขาดการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำงาน
-ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน ในเรื่อง ความก้าวหน้า และการดูแลทุกข์สุข
-ขาดการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การทำงานจากรุ่นสู่รุ่น
-การทำงานไม่ชัดเจน ไม่ลงพื้นที่ ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากขึ้น
-พัฒนากรเลือกทำงานเฉพาะถนัด ทำงานเฉพาะตัว
-ผู้บริหาร(บางคน)ขาดความเป็นธรรม ไม่รับฟังความเห็นของผู้อื่น
-ขาดความเชื่อมั่นในการทำงาน ความมั่นใจในการทำงานเริ่มลดลง
-ขาดความรู้ ทักษะ เฉพาะทาง และความรู้ใหม่ๆ

การพูดคุยในประเด็น “มุมมองต่องานพัฒนาชุมชนในวันนี้”
 ภาพการทำงานไม่ชัดเจน ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลง
 งานของกรมฯ เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
 อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปลี่ยนบ่อย
 เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน มีการปรับตัวในการทำงานมากขึ้น
 งานพัฒนาชุมชนในอำเภอ ต้องทำตามหน่วยงานอื่น เช่น ปกครอง
 งานพัฒนาชุมชน ควรยึดงานเศรษฐกิจพอเพียง แผนชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ OTOP
 พัฒนากรเป็นที่ยอมรับในเรื่อง วิทยากรกระบวนการ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน แผนชุมชน
 งานพัฒนาชุมชน เป็นการสร้างคน สร้างจิตสำนึกแก่ชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ฯ
 งานพัฒนาชุมชน มีกลุ่ม องค์กร ผู้นำ ให้การสนับสนุนการทำงาน
 งานพัฒนาชุมชน คือ งานสร้างศรัทธาแก่ชุมชน
 ควรมีการจัดการความรู้ในงานพัฒนาชุมชน
    
                การพูดคุยในประเด็น “สิ่งที่ดีดีที่ภูมิใจในการทำงานพัฒนาชุมชน”
  • การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
  • การได้รับการยอมรับด้านการจัดทำแผนชุมชน
  • การบูรณาการการทำงานจากหน่วยงานต่างๆและเป็นที่ยอมรับ
  • ชาวบ้านศรัทธา ให้การยอมรับ เป็นที่ปรึกษาแก่ชุมชน
              การพูดคุยในประเด็น “สิ่งที่ยังคิดว่าไม่ดีในการทำงานพัฒนาชุมชน”

* การประสานงานกับพื้นที่โดยการใช้โทรศัพท์มากขึ้น
* งบประมาณสนับสนุนการทำงานมีจำกัด
* ขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้บริหาร
* รายงานมีจำนวนมาก(ปัญหาอมตะ)
* มีองค์กรทำงานคล้ายกับกรมฯ หลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน
* ขาดอัตลักษณ์ของงานพัฒนาชุมชน
* ขาดการสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

              การพูดคุยในประเด็น “ปัญหาการทำงานในพื้นที่”

 ขาดการติดตามสนับสนุนการทำงานกับกลุ่ม องค์กร อย่างต่อเนื่อง
 การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น
 ขาดการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม
กลุ่ม องค์กรในพื้นที่ มีหน่วยงานสนับสนุนที่มีความพร้อมด้านงบประมาณมากกว่า กรมฯ


                 ประเด็นทั้งหมดที่สรุปได้ อาจขาดตกบกพร่องไปบ้าง แต่ตลอดเวลาที่ได้ร่วมในบรรยากาศ
ของคน พช. เกิดความรู้สึกที่อยากทำงาน พช. ต่อไป บางครั้งก็ยังท้อ ต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป เวลาในการพูดคุย เดินไปเร็วมาก จนเลยมื้อกลางวันไปพอสมควร จึงต้องยุติหน้าที่การพูดคุย เปลี่ยนไปเป็นการสร้างพลัง..เพื่อเดินทางต่อไปภาคบ่าย..

พิเชฎฐ์ อาจสามารถ/เขียน...บันทึก

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

มุมที่น่ามองเรื่องการจัดการความรู้ ผ่านทางระบบโอเอ (บุญส่ง เวศยาสิรินทร์)

การจัดการความรู้ ถูกมองว่าเป็นทั้งเครื่องมือและเป้าหมายของการทำงาน เพื่อให้ถึงซึ่งเป้าหมายที่ใหญ่กว่า เช่นยุทธศาสตร์การพัฒนาของกรมการพัฒนาชุมชน ในการปฏิบัติงานพัฒาชุมชน..ในไตรมาสที่4 ผู้เขียนได้จัดทำกิจกรรมตามคำรับรองปฏิบัติราชการ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในจังหวัดเชียงราย ในฐานะผู้ทำงานในกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน โดยได้ทดลองจัดทำข้อเสนอผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น เป็นกิจกรรมการติดตามงานจัดการความรู้ ซึ่งมีผู้เขียนไว้ และนำเสนอเผยแพร่บนระบบโอเอ แล้วนำมาติดเผยแพร่บนบอร์ดวิชาการในสำนักงานพัฒาชุมชนจังหวัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนได้อ่านทั่วกัน  แต่เนื่องจาก การจัดบอร์ดเผยแพร่ดังกล่าว ไม่สามารถทำได้อย่างเป็นผล เนื่องจากมีการเตรียมเคลื่อนย้ายสถานที่ปฏิบัติงานของพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงรายไปยังศาลากลางหลังใหม่ รวมทั้งผู้เขียนเอง ก็ไม่สามารถติดตามงานจัดการความรู้ ที่มีผู้ส่งเผยแพร่ทางระบบโอเอ ได้สม่ำเสมอหรือทั้งหมด ดังนั้นผู้เขียนจึงได้หาทางเลือกใหม่ในการเผยแพร่ โดยนำเอกสารการจัดการความรู้ที่รวบรวมไว้แล้วหรือเคยเผยแพร่บนบอร์ด มาจัดการความรู้ใหม่โดยสรุปวิเคราะห์เพื่อเป็นองค์ความรู้อีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อมุ่งเอาไปใช้ประโยชน์มากขึ้น แล้วทำการเผยแพร่ทางระบบโอเอ แทนที่จะนำเสนอเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงรายโดยวิธีจัดประชุมอย่างเดียว เหมือนที่เคยตั้งใจไว้

               อย่างไรก็ตาม การนำเสนอข้อเขียนทางระบบโอเอครั้งนี้ แม้จะมีงานเขียนของเพื่อนๆนักพัฒนนาเพียงจำนวนหนึ่ง แต่ผู้เขียนก็ได้วิเคราะห์ให้เห็นว่า หากจะเอาความรู้ที่ได้จากเรื่องเล่า หรือความรู้ที่มิใช่เรื่องเล่าก็ตาม ประเด็นความรู้ที่เป็นมาตรการ (Solutions)ของการแก้ปัญหาคืออะไร โดย การตั้งเป็นประโยคเงื่อนไขที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของเป้าหมาย (knowledge Vision) ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า สุดท้ายจะทำให้นักพัฒนาซึ่งเป็นชุมชนนักปฏิบัติ สามารถนำไปกำหนดเป็นกลวิธีแก้ปัญหาในเรื่องนั้นๆ ได้
                นอกจากนี้ ได้พยายามแยกให้เห็นว่า เรื่องที่เล่าหรือมิใช่ประเภทเรื่องเล่าก็ตาม เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใดของการจัดการความรู้ ซึ่งจะพบว่า ในการจัดการความรู้สมัยใหม่นั้น มิได้เป็นไปเพื่อค้นหา วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) หรือ เพื่อสิ่งที่เป็นบทเรียน (Lesson Learned) หรือ เพื่อค้นหาปราชญ์ผู้รู้ (Expertise) เท่านั้น แต่เรายัง จัดการความรู้ เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่ชัดแจ้ง (Evident Database) และเพื่อการสร้างระบบเตือนภัย (Alert System) ในการทำงาน อีกด้วย โดยผ่านกลไกที่เรียกว่า ชุมชนนักปฎิบัติ (Community of Practice) ในองค์กร
                 ขอขอบคุณเจ้าขององค์ความรู้ทั้งหมด  ที่ได้กรุณาให้ผู้เขียนได้ใช้ผลงานของท่าน เป็นกรณีตัวอย่างในการนำเสนอการจัดการความรู้ ผ่านทางระบบโอเอครั้งนี้ หากมีข้อทักท้วง หรือข้อผิดพลาดประการใด โปรดแจ้งผู้เขียนทราบด้วย ประโยชน์หรือความดีของการนำเสนอครั้งนี้ หากมีบ้าง ขอมอบแด่เจ้าของความรู้ทุกคน


ที่            เรื่องตัวอย่าง                 เจ้าขององค์ความรู้             Solutions เพื่อการแก้ไขปัญหา
                                                                                                        และแยกประเภทของ KM
1.    การสร้างทีมงานที่มี         นายวุฒิสุธี วรเจริญ                 -การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะเกิด
       ประสิทธิภาพ                   ศพช.สระบุรึ                              จะเกิดขึ้นได้ ถ้าหากว่านักส่งเสริมรู้ขั้นตอน
                                                                                                การสร้างทีมงาน และทราบถึงข้อพึงระวัง
                                                                                              - Best Practice
2.   41 ปีการสร้างสรรค์          นางกนกพร โพธิ์สิงห์               -ถ้าหากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนส่งเสริม
                                              ศพช.อุบลราชธานี                     อาสาสมัคร ที่อยู่ในชุมชนอย่างเป็นขั้นเป็น
                                                                                                ตอน และทำงานด้วยความใกล้ชิด จะทำ
                                                                                               ให้มีอาสาสมัครที่ดีสำหรับการพัฒนาชุมชน
                                                                                              -Best Practice
3. การจัดตั้งสถาบันการ         นางวนิดา ด้วงอิน                   -ถ้าหากจะส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันการ
    จัดการเงินทุนชุมชน          สพจ.เชียงใหม่                         จัดการเงินทุนชุมชนให้ได้ผล ผู้มีส่วนได้เสีย
    จังหวัดเชียงใหม่                                                                 จะต้องตระหนัก สนใจและลองทำ
                                                                                               และมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว
                                                                                               นี้ดี แม้จะมีระดับความรู้ที่ไม่เท่ากันอยู่บ้าง
                                                                                            - Evident Data base
4. ความรู้ในการฝึกอบรม...    นายประสงค์ ลีลา                    ถ้าหากว่า วัดความรู้ผู้เข้าฝึกอบรมโดยวิธี
    วัดได้อย่างไร                     ศพช.เพชรบุรี                          ต่อไปนี้ (ซึ่งมี 5ข้อ) จะทำให้เราประเมินผล
                                                                                              การฝึกอบรมได้ดีขึ้น
                                                                                             -Best Practice

5. การส่งเสริมหมู่บ้าน          นางชะอ้อน จูเมฆา                  -ถ้าหากว่า เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
    เศรษฐกิจพอเพียง           ศพช.นครศรีธรรมราช                รู้เทคนิคของการทำงานพัฒนาชุมชนต่อไป
                                                                                              นี้ (5 ข้อ) จะทำให้การส่งเสริมหมู่บ้าน
                                                                                              เศรษฐกิจพอเพียงประสบผล
6. เทคนิคการเก็บงานใน    นางทุงสะกรานต์ สุดธัญญรัตน์ -ถ้าหาก มีเทคนิคการจัดเก็บงานที่เป็นระบบ
    เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเป็นระบบ สพจ.สุโขทัย             จะทำให้ค้นหางานในคอมพิวเตอร์หา
                                                                                             ง่ายขึ้น
                                                                                            -เป็น Best Practice
7. เก็บตกการตรวจประเมิน  นายกู้เกียรติ ญาติเสมอ          -ถ้าหากทำให้กระบวนการจัดการ
    การจัดการความรู้            สพจ.สมุทรปราการ                  ความรู้ (KMP) สอดคล้องกับกระบวนการ
                                                                                            บริหารการเปลี่ยนแปลง(CMP) จะทำให้
                                                                                            ทริสยอมรับงานกรมฯ
                                                                                          -Alert System?
8. เทคนิคการถอดบทเรียน  นางศิรินุช สูงสุด                   -ถ้าหากผู้ถอดบทเรียน ใช้เทคนิคต่อไปนี้

   ที่มีประสิทธิภาพ               ศพช.อุบลราชธานี                 (7 ข้อ) จะทำให้การถอดบทเรียน มี
                                                                                          ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
                                                                                          -Best Practice
9. ขั้นตอนจัดทำแผนชุมชน นางสาววิลาวัณย์ ทองเอี่ยม-ถ้าหากมีการจัดทำแผนชุมชนตามขั้นตอน

    ให้มีคุณภาพ                    สพอ.บางระกำ จ.พิษณุโลก   ที่ระบุ จะทำให้มีแผนชุมชนที่มีคุณภาพ
                                                                                         -Best Practice
10. ข้าพเจ้าได้อะไรจากการ นายบุญส่ง เวศยาสิรินทร์    -ถ้าหากเจ้าหน้าที่พัฒาชุมชนรู้จักแหล่งทุน
      ไปประชุมกับแหล่งทุน     สพจ.เชียงราย                     สหภาพยุโรป  ภายนอกและมีการติดต่อร่วมมือ
                                                                                          จะทำให้กรมการพัฒนาชุมชนมีโอกาสได้รับ
                                                                                          งบประมาณเพื่อการทำงาน
                                                                                         -Lessons Learned
                การนำเสนองานชิ้นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน ตามข้อเสนองานส่วนบุคคล ประกอบคำรับรองปฏิบัติราชการประจำไตรมาสที่ 4/ 2553 ของ นายบุญส่ง เวศยาสิรินทร์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย โทร.086-728-3761
                 ขอขอบคุณเจ้าขององค์ความรู้ทั้งหมดข้างต้น  ที่ได้กรุณาให้ผู้เขียนได้ใช้ผลงานของท่าน เป็นกรณีตัวอย่างในการนำเสนอการจัดการความรู้ ผ่านทางระบบโอเอครั้งนี้ หากมีข้อทักท้วง หรือข้อผิดพลาดประการใด โปรดแจ้งผู้เขียนทราบด้วย ประโยชน์หรือความดีของการนำเสอนครั้งนี้ หากมีบ้าง ขอมอบแด่เจ้าของความรู้ข้างต้นทุกคน

นำเสนอ ณ 17/09/2553

                                                                                       

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

วันนี้..ไม่ว่าจะทำอะไรสิ่งที่ควรคำนึงคือ การจัดการความรู้(นพพร นิลณรงค์)

วันนี้ผมไปประชุม..ที่ปรึกษาเครือข่ายงดเหล้าภาคเหนือ..ที่ประชุมหารือกันว่า "กลไกงดเหล้าภาค"ควรจะทำอะไรต่อ? พวกเราก็ได้พูดคุยกันมาเยอะ ถึงยุทธศาสตร์ แนวทาง กิจกรรมต่างๆ......ผมก็เลยตั้งข้อสังเกตไปว่า  "กลไกทำมา..เนิ่นนาน...มีความรู้จากการทำงานอะไรบ้าง? (กลุ่มเป้าหมาย-วิธีการ-เครื่องมือ-แรงจูงใจ..นักดื่มหน้าใหม่-วิธีการบำบัดรักษา-แหล่งจำหน่าย-วิธีการโฆษณา-สิ่งค้นพบใหม่ๆ-เงื่อนไขทางกฏหมาย-วัฒนธรรม ฯ-ลฯ)  ถ้ามีก็มีข้อสังเกตต่อว่า ความรู้ที่มี เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาหรือไม่ แก้อย่างไร? แก้โดยใคร?
              สรุปผมมองว่า วันนี้ไม่ว่าจะทำอะไร..สิ่งที่ควรคำนึงคือ การจัดการความรู้ ว่าจะจัดการมันอย่างใร สร้างทางเลือกได้อย่างใร คนกินเหล้า เพราะมันไม่มีสิ่งตอบสนอง สิ่งที่ท้าทายทางจิตวิทยาวัยรุ่นได้ดีเท่าเหล้าเลย กินเหล้าแล้วมันกล้า มันใหญ่ มันเก่ง มันหลัวก(ฉลาด) มันอะไรอีกหลายอย่าง แต่เราไม่รู้เลยว่าวัยรุ่นเขาคิดอย่างไร? ถ้าเขาไม่กินเหล้าจะให้เขาทำอะไรที่เราสร้างทางเลือกได้หรือไม่?..
               อันนี้เป็นน้ำจิ้มที่คิดไว้ว่าความรู้เราจะรอให้มันเป็นหนังสือเป็นเล่ม ไม่ได้ ขนาดผมเขียนขนาดนี้ยังยาก..ใช้เวลาหลายนาที ถ้าเป็นเล่มจะใช้เวลาขนาดไหน? ทำอย่างไร? เราจะมีเวทีสังเคราะห์ง่ายๆ นำเสนอง่ายๆถึงความสำเร็จ ความภูมิใจ  เสนอข้อค้นพบ อยากอวด คนเห็นด้วยก็หยิบไปใช้เลย...
ปรากฏว่าที่ประชุมเห็นด้วยว่าน่าจะจัดเวทีเสรี อิสระ เรีบยง่ายต่อการเสนอ และการบริโภคอย่างนี้บ้าง...เขาก็จะเอาไปทำ ..โดยไม่ต้องวิจงวิจัย..ก็น่าจะเป็นทางออกได้บ้าง..งและเท่ห์ด้วย...คนเล็กคนน้อยก็จะได้ภูมิใจ ได้อวด ท่าจะม่วนขนาด(คงจะสนุก)......แค่นี้ผมใช้เวลาเกือบ ซาว(20)นาที..ก็ลองนำเสนอมาแค่นี้ก่อน...สวัสดีครับ..
                                                                                              15 กันยายน 2553
ความรู้มันมีหลายมิติ หลายแง่มุม..เหมือนผมถามเรื่องเหล้าในงานศพ..มันมองได้เรื่องการวิเคราะห์พิธีกรรม.มองบทบาทอาจารย์วัด การใส่ปัจจัยเงินทองเชิงเศรษฐกิจ..มองเรื่องคำสวด ...สืบค้นเรื่องเมนูอาหาร..หรือแม้แต่มิติผีสาง ตายแล้วเกิด..กลับไปผ่อ(มอง)งานวิจัยป่าเหมี้ยงสำคัญนัก..เราได้นงคราญมาได้อย่างไร?(เป็นงง..ว่าได้มาอย่างไร?..ดึงผู้หญิงเล็กๆจนกลายเป็นกลุ่มนิ้วก้อย..ขึ้นมาได้อย่างไร? EMPOWER อย่างใด..วันนั้นไม่รู้..แต่วันนี้รู้แล้ว..ก็เอาออกมาเล่า..ใส่ทฤษฎีเข้าไปสักหน้อยมันเกิดจากแรงจูงใจ Motivation อย่างไร..(แอ่นและ เดาะภาษาฝรั่งเหียน้อยก้ได้)..(..ลุงเล็ก..หนานประสิทธิ์..หรือแม้แต่นักดนตรีหนุ่มเจ้าของเพลง...ผีบ้าสวนปรุง..หรือแม้แต่เด็กๆที่วาดรูปนกที่เคยเห็นในป่า..แลกรางวัล 5 บาท...อ.วรเชษฐ์แม่เมาะที่ไปสอนดนตรีพื้นเมือง ) เหล่านี้มันมองได้หลายแบบ..แบบเป็นคนดู เป็นคนประสาน..เป็นคนสนับสนุน..เป็นคนจัดการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโดยใส่ความรู้ สกัดความรู้ การตื่นรู้ การตื่นตัว...คิดว่าทุกคนมีประสบการณ์กับเหตุการเหล่านี้..
                     เมื่อเจอสถานก่ารณ์ใหม่ ก็ประยุกต์ ปรับใช้..งัดของเก่ามาปัดฝุ่นใส่สี แต่งเติมจะเห็นว่า..อืมห์..!!!! เราก็เป็นนักจัดการความรู้เหมือนกัน(เฮาเฮ้ย)..และเราก็ได้เรียน..ได้บัทึก...ได้สะสม...เราอำนวย...เราได้ประสาน..บอกมาเลย..ว่าคุณเคยเยียะหยังพ่อง(ทำอะไรบ้าง) ทั้งอดีตและปัจจุบัน..แล้วยังภูมิใจกับมัน.....บ่ฮู้ลืม..(ไม่รู้ลืม..)
                                                                                                         16 กันยายน 2553

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

บททดลองวิเคราะห์ประสบการณ์ ในการร่วมกันทำงานเป็นทีม

ชื่อเรื่อง:บททดลองวิเคราะห์ประสบการณ์ ในการร่วมกันทำงานเป็นทีม ที่ผ่านมา....
(โดยอาศัยแนวทางการเล่าเรื่อง/เขียนเรื่อง (Capturing Stories) โดยอาศัย 7 องค์ประกอบในงาน KM.)
ชื่อผู้เล่าเรื่อง: ....................................................................
1. ฉาก พื้นที่เกิดเรื่องนี้ ได้แก่ที่จังหวัดลำปาง เมื่อราวๆ 5 ปี มาแล้ว
2. สถานที่ที่เรื่องนี้เกิดขึ้น ; ในศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ ……
3. ตัวละครที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการด้านพัฒนาชุมชนและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน มากกว่า 40 ซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อน อีกกลุ่มหนึ่ง ที่มักมีกิจกรรมการใช้ชีวิตร่วมกันแบบเพื่อน
4. การกระทำของพวกเรา ตอนพวกเราทำงานอยู่เขตฯ ด้วยกัน พวกเรามักร่วมกันคิดในกลุ่มเพื่อนจำนวนหนึ่ง อย่างสม่ำเสมอ ว่าทำอย่างไร จึงจะทำให้เขตฯ ซึ่งเป็นที่ทำงานของพวกเรา น่าอยู่/น่าทำงาน มีสิ่งดีๆเกิดขึ้น เพื่อให้พวกเราทำงานแบบมีความสุข ปรกติพวกเรามักพูดคุยกันเสมอ หรือทานอาหารเที่ยงด้วยกัน จนกลายเป็นเรื่องปรกติ
5. สิ่งท้าทาย หรือปัญหาที่นำไปสู่การกระทำ พวกเรามักพบว่า ผู้บังคับบัญชาในยุคนั้น มักบริหาร หรือกระทำการต่างๆ ตามใจตนเองเสมอๆ และยังเป็นบรรยากาศการทำงาน ที่ดูเหมือนมีความเครียด และความกดดันในการทำงานอยู่มาก อีกทั้งทรัพยากร ในการทำงาน ก็ยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด ส่งผลให้การทำงานในแต่ละเรื่อง แต่ละครั้ง เต็มไปด้วยความยากลำบาก

              จุดพลิกผัน เรื่องนี้ก็คือ เมื่อเพื่อนๆ หลายคนมีโอกาสพบกันคุยกัน โดยเฉพาะการพูดคุย หรือมีความรู้สึกต่อเหตุการณ์ หรือเรื่องที่ทุกคนประสบในสถานการณ์การทำงานแบบเดียวกัน ทำให้เพื่อนๆหลายคนเกิดความรู้สึกกว่าการพบปะเป็นสิ่งดี ไม่เพียงแต่จะนั่ง หรือออกไปทานอาหารร่วมกันเป็นหมู่ แต่ยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ แม้ดูจะเป็นการระบายออกทางอารมณ์อย่างหนึ่ง แต่ในที่สุดเพื่อนหลายคนก็เห็นว่า การประชุม พบปะกันโดยเฉพาะในหมู่เพื่อนที่มีความสนิทชิดเชื้อกัน เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เพราะทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกเห็นใจกันและกัน และยังอาสาที่จะช่วยเหลือกันทำงานที่ต้องรับผิดชอบในสำนักงาน


                                                                             


                                                                               6.                        บทสรุป... แม้ว่าพฤติกรรม การอยู่ หรือทำงานของเพื่อนในเขตยุคสมัยนั้น ยังไม่มีใครสรุปเป็นหลักการ หรือทฤษฎี แต่เพื่อนๆหลายคน ก็เริ่มรู้สึกว่าการอยู่ เห็นหน้ากัน หรือทำงานร่วมกันเป็นสิ่งดี มีประโยชน์ เนื่องจากทำให้งานที่ยากๆ หรืองานที่ถูกมองว่าหนัก กลับกลายเป็นสิ่งไม่ลำบากไปทันที เพราะความเก่ง และความรับผิดชอบอย่างเต็มใจ ได้ถูกแสดงออกมาอย่างเต็มที่โดยไม่มีใครมาคอยสั่งการ เพียงแต่จะมีใครสักคน บอกให้เพื่อนๆ ทราบปัญหา/ความต้องการของตน เท่านั้นเอง โดยไม่ต้องยุ่งยาก ไม่ต้องมีหนังสือ เป็นลายลักษณ์อักษร แต่อย่างใด แต่ทุกคนอาสามาช่วยงานชิ้นนั้นๆ ทันที ทันใด นั่นคือ เพื่อนหลายคน ได้เรียนรู้โดยอัตโนมัติในเวลาต่อมาว่า การอยู่และทำงานแบบเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ Peer group ในบรรยากาศของการทำงานที่มีความกดดันนั้น ช่วยแก้ปัญหาได้มาก บางที อาจนำไปสู่การสร้างวิธีการทำงานในเรื่องอื่นๆ ต่อไปได้ด้วย ประจักษ์พยานในเรื่องนี้ แม้ข้าพเจ้า รวมถึงเพื่อนๆ อีกหลายคนจะออกจากที่แห่งนั่นไปนานแล้ว แต่ยังมีเพื่อนอีกจำนวนมาก ที่ยังมีความทรงจำ พูดอากัปกริยาของเพื่อนอีกคนหนึ่งที่สร้างความตลกขบขัน และเป็นการทำงาน ที่ดูออกประหลาดๆ แต่ช่วยแก้ปัญหา และทำให้กลุ่มเพื่อนได้เรียนรู้ ด้วยความสุข สนุกสนาน....
                                                                                                      บุญส่ง เวศยาสิรินทร์